ข้ามไปเนื้อหา

มาเตนาดารัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเตนาดารัน
อาคารหลังหลักของมาเตนาดารัน เห็นรูปปั้นของกษัตริย์เมซโรป มาฌโดช และโกร์ยูน
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1959
ที่ตั้ง53 ถนนมาฌโดช เขตเกนโตรน เยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย
พิกัดภูมิศาสตร์40°11′31″N 44°31′16″E / 40.19207°N 44.52113°E / 40.19207; 44.52113
ประเภทพิพิธภัณฑ์ศิลปะ, หอจดหมายเหตุ, สถาบันการค้นคว้าวิจัย
ขนาดผลงาน~23,000
จำนวนผู้เยี่ยมชม132,600 (2019)[1]
ผู้อำนวยการArayik Khzmalyan
สถาปนิกมาร์ก กรีโกรียัน, อาร์เทอร์ เมซชีอัน
เจ้าของรัฐบาลอาร์มีเนีย, กระทรวงการศึกษาและวิทยาการ[2]
เว็บไซต์matenadaran.am

มาเตนาดารัน (อาร์มีเนีย: Մատենադարան; Matenadaran) หรือชื่อทางการ สถาบันต้นฉบับตัวเขียนโบราณเมซโรป มาฌโดช (อาร์มีเนีย: Մեսրոպ Մաշտոցի անվան հին ձեռագրերի ինստիտուտ) เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่เก็บรักษาต้นฉบับตัวเขียน และสถาบันเพื่อการค้นคว้าวิจัย ตั้งอยู่ในเยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย และเป็นสถานที่เก็บรักษาต้นฉบับตัวเขียนภาษาอาร์มีเนียที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3]

มาเตนาดารันตั้งขึ้นในปี 1959 เพื่อดูแลรักษาต้นฉบับตัวเขียนของคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียที่เดิมทีเก็บรักษาที่เอจมียัตซินและต่อมาถูกส่งต่อให้เป็นของรัฐ นับจากนั้นมีการเพิ่มเติมของสะสมเข้ามาโดยเฉพาะจากของที่บริจาคโดยบุคคลต่าง ๆ ชื่อทางการของสถาบันตั้งขื่อตามเมซโรป มาฌโดช ผู้ประดิษฐ์อักษรอาร์มีเนีย รูปปั้นของเขาปรากฏตั้งอยู่ที่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ ของสะสมต้นฉบับตัวเขียนของสถาบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของยูเนสโก

มาเตนาดารันตั้งอยู่ที่เชิงเขาเล็ก ๆ ในทางขอบตอนเหนือของถนนมาฌโดช ซึ่งเป็นถนนที่กว้างที่สุดในเยเรวานกลาง อาคารหลังเดิมของพิพิธภัณฑ์ หรือที่เรียกว่าอาคารหลัก ได้รับการบรรยายไว้ว่าเป็นอาคารมหึมา[4] และโดดเดี่ยว[5] นักเขียนและนักเดินทางชาวรัสเซียบระะยายว่าอาคารนี้เป็นพระราชวังเมื่อมองด้วยมุมของมิติและสถาปัตยกรรม[6] อาคารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์แห่งชาติโดยรัฐบาลอาร์มีเนีย[7]

อาคารหลังเก่านี้สร้างขึ้นระหว่างปี 1945 ถึง 1958 โดยมีช่วงพักก่อสร้างในระหว่างปี 1947 ถึง 1953 เนื่องจากขาดแคลนแรงงานฝีมือ[8] อาคารเป็นผลงานออกแบบโดยสถาปนิก มาร์ก กรีกอรียัน โดยได้อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมอาร์มีเนียยุคกลาง มูรัด ฮัสรัตยัน ระบุว่าฟาซาดของอาคารนี้ได้อิทธิพลมาจากโบสถ์อัครทูตที่อานี ซึ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 อานีเป็นราชธานีของอาร์มีเนียยุคบากราตีด[9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nazaretyan, Hovhannes (10 February 2022). "Զբոսաշրջությունը հաղթահարում է կորոնավիրուսային շոկը [Tourism overcoming coronavirus shock]". civilnet.am. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2022.
  2. "Հայաստանի Հանրապետության Կառավարության առընթեր Մեսրոպ Մաշտոցի անվան հին ձեռագրերի գիտահետազոտական ինստիտուտի (Մատենադարան) վերակազմավորման մասին". arlis.am (ภาษาอาร์เมเนีย). Armenian Legal Information System. 6 March 2002. Հայաստանի Հանրապետության կրթության և գիտության նախարարության ենթակայության «Մատենադարան» Մեսրոպ Մաշտոցի անվան հին ձեռագրերի գիտահետազոտական ինստիտուտ»
  3. Abgarian, G.(1960) "Unfamiliar Libraries VI: The Matenadaran at Erevan." The Book Collector 9 no.2 (summer):146-150.
  4. Baliozian, Ara (1979). Armenia Observed. New York: Ararat Press. p. 166. ISBN 9780933706101. At the end of Lenin Prospekt, where once there rose a bare rock, there now stands the monumental building of Matenadaran — a depository of rare manuscripts and miniatures.
    • Egorov, B. (2 January 1967). "A Storage of Ancient Wisdom". The Daily Review. Sovinformburo. 12: 15. This is the Matenadaran, one of the most monumental structures in Armenia's capital.
    • Insight Guides (1991). USSR: the new Soviet Union. APA Productions. p. 312. ISBN 9780134708997. First of all there is the city's monumental building, the Matenadaran, the world famous library...
  5. Brook, Stephen (1993). Claws of the Crab: Georgia and Armenia in crisis. London: Trafalgar Square Publishing. p. 172. ISBN 978-1856191616. Lower down the hill, but still on a prominent slope, stands the Matenadaran, a stern building of grey stone, completed in 1957 in the monumental round-arched style.
  6. Mikhailov, Nikolai (1988). A Book About Russia - In the Union Of Equals - Descriptions, Impressions, The Memorable. Moscow: Progress Publishers. p. 111. ISBN 978-5010017941.
  7. "Ինստիտուտի շենք. Մեսրոպ Մաշտոցի անվան հին ձեռագրերի գիտահետազոտական ինստիտուտը (Մատենադարան)". armmonuments.am (ภาษาอาร์เมเนีย). Armenian Ministry of Culture.[ลิงก์เสีย]
  8. Grigorian 1960, p. 12.
  9. Hasratyan, Murad (2011). "Անիի ճարտարապետությունը [Architecture of Ani]". Patma-Banasirakan Handes (ภาษาอาร์เมเนีย). № 3 (3): 11. Գլխավոր՝ արևելյան ճակատի կենտրոնում սլաքաձև կամարով, շթաքարային մշակումով շքամուտքն է` երկու կողմերում զույգ խորշերով (այս հորինվածքը XX դ. նախօրինակ ծառայեց Երևանի Մատենադարանի գլխավոր ճակատի ճարտարապետության համար):
  10. Hasratyan, Murad. "Անիի Ս. Առաքելոց եկեղեցի [Holy Apostles church of Ani]". armin.am (ภาษาอาร์เมเนีย). Yerevan State University Institute for Armenian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2020. Արլ. ճակատի կենտրոնում շքամուտքի խորշն է, երկու կողմերում՝ զույգ խորշերով (այս հորինվածքը նախօրինակ է ծառայել Երևանի Մատենադարանի գլխավոր ճակատի ճարտարապետության համար):

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Yerevan landmarks