มาตราฟูจิตะ
มาตราฟูจิตะ (อังกฤษ: Fujita scale, หรือ F-scale) หรือ มาตราฟูจิตะ–เพียร์สัน (อังกฤษ: Fujita–Pearson scale, หรือ FPP scale) เป็นมาตราสำหรับจำแนกระดับความรุนแรงของพายุทอร์นาโด ระดับจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพายุนั้น ๆ แบ่งเป็นทั้งหมด 6 ระดับ คือ F0 F1 F2 F3 F4 และ F5 โดยเรียงจากรุนแรงน้อยไปมากที่สุด[1] การที่จะกำหนดระดับพายุได้นั้น ต้องมีนักอุตุนิยมวิทยาและวิศวกรมาสำรวจความเสียหายทางบก ทางอากาศหรือทั้งสองอย่าง รวมถึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์, รูปแบบการหมุนภาคพื้นดิน (เครื่องหมายไซคลอยด์), ข้อมูลเรดาร์ตรวจสภาพอากาศ, คำบอกเล่าจากพยาน, รายงานของสื่อและภาพความเสียหาย, รวมถึงการรังวัดด้วยภาพหรือการรังวัดด้วยวิดีโอหากมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวไว้ ต่อมา มาตราฟูจิตะถูกแทนที่ด้วยมาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะ (Enhanced Fujita Scale, EF-Scale) ในสหรัฐอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 แคนาดาได้นำระดับ EF มาใช้แทนมาตราฟูจิตะพร้อมกับเครื่องวัดความเสียหาย 31 ตัว โดยให้กรมสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งประเทศแคนาดา (ECCC) ในการจัดอันดับพายุ[2]
เบื้องหลัง
[แก้]มาตราส่วนนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2514 โดย เท็ด ฟูจิตะ จาก มหาวิทยาลัยชิคาโก โดยความร่วมมือกับ อัลเลน เพียร์สัน หัวหน้าศูนย์พยากรณ์พายุรุนแรงแห่งชาติ ( NSSFC; ปัจจุบันคือ ศูนย์พยากรณ์พายุ หรือ SPC) มาตรานี้ได้รับการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2516 โดยคำนึงถึงความยาวและความกว้างระหว่างระดับ ในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีใช้มาตรานี้ในปี พ.ศ. 2516 หลังจากนั้นไม่นานพายุทอร์นาโดก็ได้รับการจัดอันดับ มาตราฟูจิตะถูกนำไปใช้ย้อนหลังกับพายุทอร์นาโดที่ถูกรายงานในระหว่าง พ.ศ. 2493 ถึง 2515 ด้วย ในองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ มีการเก็บเป็นฐานข้อมูลทอร์นาโดแห่งชาติ โดยใช้มาตราฟูจิตะในจัดระดับพายุทอร์นาโดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 ถึง 2535 และ โทมัส พี. กราซูลิส แห่ง The Tornado Project ได้จัดอันดับย้อนหลังให้ทุกคนรู้จักพายุทอร์นาโดที่สำคัญ (F2-F5 หรือก่อให้เกิดการเสียชีวิต) ในสหรัฐอเมริกาย้อนกลับไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423 ส่วนมากแล้วมาตราฟูจิตะจะถูกใช้ในพื้นที่นอกบริเตนใหญ่
พารามิเตอร์
[แก้]- การจัดอันดับนั้น จัดตามความเสียหายที่พายุทอร์นาโดสร้างให้กับสิ่งก่อสร้างที่สร้างมาอย่างสมบูรณ์หรือในระดับที่เทียบเคียงจากการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมของความเสียหายอื่น ๆ
- เนื่องจากมาตราฟูจิตะนั้นขึ้นอยู่กับขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดจากลมแรง พายุทอร์นาโดระดับ F6 หรือ F7 เป็นเพียงระดับทางทฤษฎี ความเสียหายทางโครงสร้างหรือการถูกทำลายโดยสิ้นเชิงถือเป็นความเสียหายในระดับ F5 พายุทอร์นาโดที่มีความเร็วลมสูงกว่า 319 ไมล์ต่อชั่วโมง (513 km/h) นั้นเป็นไปได้ในทางทฤษฎี
มาตรา | ประมาณการความเร็วลม[2] | ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น[2] | ||
mph | km/h | |||
F0 | 40-72 | 64-116 | ความเสียหายเล็กน้อย
|
|
F1 | 73–112 | 117–180 | ความเสียหายปานกลาง
|
|
F2 | 113–157 | 181–253 | ความเสียหายที่โดยมีนัยสำคัญ
|
|
F3 | 158–206 | 254–332 | ความเสียหายรุนแรง
|
|
F4 | 207–260 | 333–418 | ความเสียหายร้ายแรง
|
|
F5 | 261–318 | 419–512 | ความเสียหายอย่างไม่น่าเชื่อ
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Enhanced Fujita Scale (EF-Scale)". factsjustforkids.com.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Fujita Tornado Damage Scale". spc.noaa.gov. องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ.