มาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะ (อังกฤษ: Enhanced Fujita scale, หรือ EF-Scale) เป็นมาตราฉบับปรับปรุงของมาตราฟูจิตะ โดยได้รับการแก้ไขเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการสำรวจและการตรวจสอบความเสียหายของพายุทอร์นาโด เพื่อปรับความเร็วลมให้เหมาะสมกับความเสียหายจากพายุที่อยู่ในระดับนั้นมากขึ้น มีการสร้างมาตรฐานในการอธิบายสิ่งที่คลุมเครือในก่อนหน้านี้ได้ดียิ่งขึ้น และการเพิ่มระดับของความเสียหายให้มากขึ้นและอธิบายตัวแปรต่าง ๆ เช่นคุณภาพสิ่งก่อสร้างให้ดียิ่งขึ้น

มาตรานี้ได้ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะโดยบริการสภาพอากาศแห่งชาติ (National Weather Service) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐ ในการประชุม American Meteorological Society ในแอตแลนตาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 มันถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 2543 ถึง 2547 โดยเป็นโครงการปรับปรุงมาตราฟูจิตะของ National Wind Institute ที่ Texas Tech University โดยทางมหาวิทยาลัยได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาและวิศวกรโยธาจำนวนมากมาช่วยเหลือในการพัฒนาโครงการนี้[1]

มาตราส่วนนี้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาหนึ่งปีหลังจากการประกาศสู่สาธารณะ เมื่อบางส่วนของรัฐฟลอริด้าตอนกลางถูกพายุทอร์นาโดหลายลูกเข้าปะทะ ซึ่งเป็นพายุที่รุนแรงเป็นอย่างมากโดยได้ระดับ EF3 ในระดับใหม่ มาตราเอนแฮนซ์ฟูจิตะถูกใช้เป็นครั้งแรกในแคนาดาเมื่อพายุทอร์นาโดเกิดขึ้นใกล้เมืองเชลเบิร์น รัฐออนแทรีโอ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 โดยเป็นพายุระดับ EF1[2]

พารามิเตอร์[แก้]

มาตรา ประมาณการความเร็วลม[3] ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างความเสียหาย
mph km/h
EF0 65–85 105–137 ความเสียหายเล็กน้อย

หลังคาเสียหาย; ความเสียหายต่อรางน้ำ; กิ่งก้านต้นไม้หัก พายุทอร์นาโดที่ยืนยันแล้วแต่ไม่มีรายงานความเสียหาย (เช่นที่อยู่ในทุ่งโล่ง) จะได้รับการจัดอันดับ EF0 ตามนโยบาย อย่างไรก็ตามสำนักงานท้องถิ่นของ NWS บางแห่งได้ใช้คะแนน "EFU" (สำหรับ "ไม่ทราบ") สำหรับพายุทอร์นาโดดังกล่าว

EF0 damage example--Shingles are torn from roof
EF1 86–110 138–177 ความเสียหายปานกลาง

หลังคาถูกพัง บ้านขนาดเล็กถูกถอนรากฐาน ประตูและหน้าต่างเสียหาย

EF1 damage example -- Sections of roofing are removed from the home, leaving the internal decking exposed.
EF2 111–135 178–217 ความเสียหายอย่างมาก

หลังคาได้รับความเสียหายอย่างมากสำหรับบ้านที่สร้างอย่างดี รากฐานของบ้านแบบเฟรมขยับ บ้านขนาดเล็กเคลื่อนที่ถูกทำลายอย่างสมบูรณ์ ต้นไม้ใหญ่หักหรือถูกถอนรากถอนโคน รถหนักลอยขึ้นจากพื้น

EF2 damage example -- Roof is completely removed from the house
EF3 136–165 218–266 ความเสียหายรุนแรง

บ้านหลายชั้นที่สร้างอย่างดีถูกทำลาย ความเสียหายร้ายแรงต่ออาคารขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า รถไฟคว่ำ

EF3 damage example -- House is destroyed, with only interior rooms remaining
EF4 166–200 267–322 ความเสียหายร้ายแรง

บ้านแบบเฟรมที่สร้างขึ้นอย่างดีพังทลาย บ้านแบบเฟรมบางแห่งอาจลอยหายไป รถยนต์และวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่ลอยขึ้น

EF4 damage example -- House is completely leveled, with only rubble remaining on the foundation
EF5 >200 >322 ความเสียหายอย่างเหลือเชื่อ

บ้านแบบเฟรมที่สร้างขึ้นอย่างดีถูกทำลาย โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเหล็กได้รับความเสียหายอย่างมาก อาคารสูงพังทลายหรือมีโครงสร้างที่เสียหายอย่างรุนแรง รถยนต์ รถบรรทุกและรถไฟสามารถลายห่างจากจุดเริ่มได้ถึงประมาณ 1 ไมล์ (1.6 กม.)

EF5 damage example -- Well-built house is swept completely away, leaving only the slab foundation

อ้างอิง[แก้]

  1. Facts Just for Kids. Enhanced Fujita Scale (EF-Scale). (factsjustforkids.com)
  2. The Washington Post. (2007). Tornado to Be 1st Assessed by New Scale. (washingtonpost.com)
  3. Storm Prediction Center. (2006). Enhanced F Scale for Tornado Damage. (spc.noaa.gov)