ภาษีธุรกิจเฉพาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ภาษีธุรกิจเฉพาะ (อังกฤษ: specific business tax) เป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศไทย โดยจะจัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง และเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ. 2535 พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม แทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิกไป


{{ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ 1. การธนาคาร 2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ 3. การรับประกันชีวิต 4. การรับจำนำ 5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ 6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร 7. การขายหลักทรัพย์ 8. การประกอบกิจการอื่น

การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ 1. กิจการที่ประกอบธุรกิจที่เหมือนกับธุรกิจเฉพาะบางประเภท ซึ่งได้รับการ ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีดังต่อไปนี้

1) กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

2) กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 3) กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น 4) กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5) กิจการของการเคหะแห่งชาติ 6) กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น 7) กิจการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 และ (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2540 2. รายรับที่ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มี 2 กรณีดังต่อไปนี้ 1) กรณีการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ได้รับการ ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะส่วนรายรับสำหรับกิจการธนาคาร พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 259) พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ 2) กรณีประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ กรมสรรพากรวางแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 26/2534 กำหนดให้รายรับกรณีดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ รายรับกรณีดังนี้ (1) กรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีนี้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คำว่า “บริษัทในเครือเดียวกัน” หมายความว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม (2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินที่อื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่นโดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติ ดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม ตามข้อ (1) และ (2) ไม่รวมถึงการประกอบกิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นรวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ฐานภาษีและอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ กิจการ ฐานภาษี

อัตราภาษีร้อยละ

1. กิจการธนาคาร ธุรกิจเงินทุน

   ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจ
   เครดิตฟองซิเอร์ และการ
   ประกอบกิจการเยี่ยง
   ธนาคารพาณิชย์
-  ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม 
  ค่าบริการ หรือ กำไรก่อนหัก 
  รายจ่ายใดๆ  จากการซื้อหรือขาย
  ตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้
  ใดๆ

- กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ

  แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา 
  การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไป
  ต่างประเทศ
3.0

3.0

2. กิจการรับประกันชีวิต

-  ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือ 
  ค่าบริการ
2.5

3. กิจการโรงรับจำนำ

-  ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม

- เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ

  ประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ
  หรือพึงได้รับจากการขายของที่
  จำนำหลุดเป็น
  สิทธิ
2.5

2.5

4. การค้าอสังหาริมทรัพย์

-  รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
3.0

กิจการ ฐานภาษี

อัตราภาษีร้อยละ

5. การขายหลักทรัพย์ในตลาด

   หลักทรัพย์
-  รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
                  0.1 (ยกเว้น)

6. การซื้อและขายคืน

   หลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต
   จากคณะกรรมการกำกับ
   หลักทรัพย์และตลาด
   หลักทรัพย์
-  กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ
  ขายคืนหลักทรัพย์แต่ไม่รวมถึง
  ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือ
  ผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้จาก
  หลักทรัพย์


7. ธุรกิจแฟ็กเตอริง

-  ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม 
  หรือค่าบริการ

การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ

1. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียธุรกิจเฉพาะ กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ที่ ผู้ขายมีไว้ในการประกิจการ 2. กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 3. การให้กู้ยืมเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจดังกล่าว ซึ่งให้กู้ยืมเงินเป็นครั้งคราวมิใช่การประกอบกิจการเป็นปกติธุระ ในการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ (สพท.) ในต่างจังหวัดให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัดในกรณีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองแล้วแต่กรณี การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.ธ. 40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป การยื่นแบบ ภ.ธ. 40 และชำระภาษี ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตท้องที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่

เอกสารหลักฐานและบัญชีที่ต้องจัดทำ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนอกจากต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วยังมีหน้าที่ต้องทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่าย ทั้งที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและที่ไม่ต้องเสียรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยต้องจัดทำ รายงานแสดงเป็นรายวัน และรวมยอดเมื่อถึงสิ้นเดือนทุกเดือน รายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายต้องจัดตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเป็นรายสถานประกอบ กิจการ และการลงรายการต้องจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน ทำการนับแต่วันที่มี รายรับ รายงานที่ต้องจัดทำและหลักฐานประกอบกิจการจัดทำรายงานต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี โดยเก็บไว้ ณ สถาน-ประกอบการที่ได้จัดทำรายงาน หากผู้ประกอบกิจการจะเก็บรักษารายงานและ หลักฐานประกอบกิจการจัดทำรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดี กรมสรรพากรก่อน


การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ กิจการที่มีรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะบันทึกรายการปรับปรุงภาษีธุรกิจเฉพาะค้างจ่ายของเดือนภาษีนั้นทุกเดือน หรือปรับปรุงรายการเฉพาะเดือนสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ เพื่อให้การรับรู้รายการภาษีธุรกิจเฉพาะของรอบระยะเวลาบัญชีที่จะแสดงในงบกำไรขาดทุนครบถ้วน ส่วนกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ที่จ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดินจะต้องบันทึกรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในวันที่โอนกรรมสิทธิ์}}