ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาสวาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาสวาน
ლუშნუ ნინ Lušnu nin
ออกเสียง[luʃnu nin]
ประเทศที่มีการพูดประเทศจอร์เจีย
ภูมิภาคสวาเนตี
อับคาเซีย (Kodori Gorge)
จำนวนผู้พูด14,000 คน  (2015)[1]
ตระกูลภาษา
คอเคซัสใต้
  • ภาษาสวาน
ระบบการเขียนอักษรจอร์เจีย
รหัสภาษา
ISO 639-3sva
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาสวาน (ლუშნუ ნინ lušnu nin; จอร์เจีย: სვანური ენა, อักษรโรมัน: svanuri ena) เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือของจอร์เจียที่พูดโดยชาวสวาน[2][3] ซึ่งมีผู้พูดประมาณระหว่าง 30,000 ถึง 80,000 คน ทางยูเนสโกจัดให้ภาษาสวาน "เป็นภาษาใกล้สูญแน่นอน"[4]

การกระจายตัว

[แก้]

ภาษาสวานเป็นภาษาแม่ของชาวสวานราว 30,000 คน มีบางส่วนอยู่ในอับฮาเซีย ไม่มีระบบการเขียน ผู้พูดส่วนใหญ่พูดภาษาจอร์เจียเป็นภาษาที่สอง จำนวนผู้พูดภาษานี้เริ่มลดลง จัดเป็นภาษาที่ใกล้ตาย

ประวัติ

[แก้]

ภาษาสวานเป็นภาษาในกลุ่มคอเคซัสใต้ที่ต่างจากอีกสามภาษาในกลุ่มเดียวกันคือภาษาจอร์เจีย ภาษาลาซและภาษาเมเกรเลีย และไม่อาจเข้าใจกับภาษาใดได้เลย เชื่อกันว่าภาษาสวานแยกออกจากภาษาอื่นเมื่อราว 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ก่อนการแยกตัวของภาษาจอร์เจียราวหนึ่งพันปี

ลักษณะ

[แก้]

ภาษาสวานมีพยัญชนะมากเช่นเดียวกับภาษากลุ่มคอเคซัสใต้อื่น ๆ เป็นภาษากึ่งสัมพันธการก ภาษาสวานมีเสียง /q/ (ไม่ก้อง มีลม เสียงกัก) และเสียงเลื่อนไหลของ /w/ และ /y/ มีสระมากกว่าภาษาจอร์เจีย โดยสำเนียงบาลเหนือของภาษาสวานมีสระมากสุดคือมีทั้งหมด 18 เสียง โดยมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวของ /a e i o u ä ö ü ə/ ในขณะที่ภาษาจอร์เจียมีเพียงห้าเสียง ลักษณะทางสัทวิทยาใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มเดียวกันที่ต่างไปคือระบบการผันคำกริยา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษาสวาน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Levinson, David. Ethnic Groups Worldwide: A Ready Reference Handbook. Phoenix: Oryx Press, 1998. p 34
  3. Tuite, Kevin (1991–1996). "Svans". ใน Friedrich, Paul; Diamond, Norma (บ.ก.). Encyclopedia of World Cultures. Vol. VI. Boston, Mass.: G.K. Hall. p. 343. ISBN 0-8168-8840-X. OCLC 22492614.
  4. UNESCO Interactive Atlas of the World’s Languages in Danger

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]
  • Palmaitis, Mykolas Letas; Gudjedjiani, Chato (1986). Upper Svan: Grammar and texts. Vilnius: Mokslas.
  • Oniani, Aleksandre (2005). Die swanische Sprache (Teil I: Phonologie, Morphonologie, Morphologie des Nomens; Teil II: Morphologie des Verbs, Verbal-nomen, Udeteroi). แปลโดย Fähnrich, Heinz. Jena: Friedrich-Schiller-Universität.
  • Tuite, Kevin (1997). Svan (PDF). Languages of the World, Materials, vol. 139. Munich: LINCOM-Europa. ISBN 978-3895861543.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]