ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาคัลมึค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาคาลมึกซ์)
ภาษาคัลมึค
Хальмг келн
ประเทศที่มีการพูดรัสเซีย จีน และมองโกเลีย
ภูมิภาคสาธารณรัฐคัลมืยคียา
จำนวนผู้พูด518,500 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
อัลไต?
รหัสภาษา
ISO 639-2xal
ISO 639-3xal

ภาษาคัลมึค (Kalmyk language; Хальмг келн) จัดอยู่ในกลุ่มย่อยโอยรัต-คัลมึค-ดาร์คัต ของภาษากลุ่มมองโกล มีลักษณะบางส่วนคล้ายกับภาษากลุ่มยูราลิกและภาษาอุยกูร์ จนอาจจัดให้อยู่ในตระกูลตระกูลภาษาอัลไตอิกหรือยูราล-ตระกูลภาษาอัลไตอิกได้ มีผู้พูด 500,000 คนในสาธารณรัฐคัลมืยคียา (ระหว่างวอลกาและแม่น้ำดอน) ของรัสเซีย ในภาคตะวันตกของจีน และภาคตะวันตกของมองโกเลีย

วรรณคดีพื้นบ้านของภาษาคัลมึคย้อนหลังไปได้ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 ภาษาคัลมึคเขียนด้วยอักษรอุยกูร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ต่อมาใน พ.ศ. 2191 พระภิกษุชาวคัลมึคชื่อ ซายา ปัณฑิต โอกตอร์กูอิน ทะไล ประดิษฐ์อักษรคัลมึคขึ้นใช้ เรียกว่า โตโด บิชิก (การเขียนชัดเจน) โดยพัฒนามาจากอักษรมองโกเลียอักษรนี้ยังใช้อยู่ในประเทศจีน ส่วนชาวคัลมึคในรัสเซียใช้อักษรนี้อักษรซิริลลิกเมื่อ พ.ศ. 2467 ต่อมาเปลี่ยนเป็นอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2473 กลับมาใช้อักษรซีริลลิกอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2481 ส่วนในมองโกเลียภาษาคัลมึคไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาราชการและไม่มีการใช้เป็นภาษาเขียน

ชาวคัลมึคถูกกดขี่อย่างมากในยุคสหภาพโซเวียต ผู้พูดภาษาคัลมึคราวครึ่งหนึ่งตายในสงครามประชาชนรัสเซีย ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดจำนวนชาวคัลมึคลงในยุคของสตาลิน ทำให้ชาวคัลมึคจำนวนมากไม่พูดภาษาของตนเอง มีการใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐคัลมืยคียา การเรียนภาษาคัลมึคในโรงเรียนแห่งสุดท้ายถูกสั่งปิดเมื่อ พ.ศ. 2506 และกลับมาฟื้นฟูการเรียนภาษาคัลมึคอีกครั้งใน พ.ศ. 2536

อ้างอิง

[แก้]