พุดดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พุดดง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Apocynaceae
สกุล: Kopsia
สปีชีส์: K. arborea
ชื่อทวินาม
Kopsia arborea
Blume
ชื่อพ้อง[2]
ชื่อพ้อง

พุดดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Kopsia arborea) หรือ เข็มบุษบา เป็นพืชในสกุลพุดชมพู (Kopsia) กระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงออสเตรเลีย[3] ลักษณะเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 15 เมตร ใบรูปรี รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ปลายแหลมยาว โคนรูปลิ่มหรือแหลม ก้านใบยาว 0.3–1 เซนติเมตร ช่อดอกยาว 4–15 เซนติเมตร เกลี้ยงหรือมีขนละเอียด ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาว 2–6 มิลลิเมตร ดอกมีสีขาว ปากหลอดกลีบสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ หลอดกลีบยาว 2–3.5 เซนติเมตร กลีบดอกรูปรี รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 0.7–2 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ติดเหนือกึ่งกลางหลอดกลีบดอก อับเรณูยาว 1.2–1.7 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมียยาว 2–2.5 เซนติเมตร รวมยอดเกสร ผลออกเป็นคู่แต่มักเจริญเพียงผลเดียว รูปรีเบี้ยว ยาว 1.5–4 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดแข็ง เมื่อสุกมีสีดำอมน้ำเงิน[4][5] พุดดงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เปลือกต้นใช้เป็นยาสวนทวารหนัก ใบและผลใช้รักษาอาการเจ็บคอและทอนซิลอักเสบ[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Yu, S.; Qin, H.; Botanic Gardens Conservation International (BGCI); IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2019). "Kopsia arborea". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T147643327A147643329. สืบค้นเมื่อ 24 August 2020.
  2. "Kopsia arborea Blume". The Plant List. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
  3. "Kopsia arborea Blume". PIER species info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-23. สืบค้นเมื่อ April 21, 2017.
  4. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 306, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  5. "พุดดง - Kopsia arborea Blume". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ April 21, 2017.
  6. "Kopsia arborea Blume". Flora Fauna Web. สืบค้นเมื่อ April 21, 2017.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]