ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยฮัน ชเตราส์ (ผู้พ่อ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
→‎top: บอต: นำแม่แบบออก, removed: {{รอการตรวจสอบ}}
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:40, 28 เมษายน 2564

โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง

โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ที่หนึ่ง (เยอรมัน: Johann Strauß - หรือที่รู้จักกันในนามของ โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ซีเนียร์ เกิดเมื่อวันที่14 มีนาคม พ.ศ. 2347 เสียชีวิตเมื่อวันที่25 กันยายน พ.ศ. 2392) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักได้แก่เพลงวอลซ์ และเพื่อทำให้เพลงประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น โยเซฟ แลนเนอร์ จึงได้ (โดยไม่ตั้งใจ) จัดตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อให้บุตรชายของเขาสืบสานอาณาจักรดนตรีต่อไป อย่างไรก็ดี บทเพลงของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ราเด็ตสกี้มาร์ช (ตั้งชื่อตามโยเซฟ ราเด็ตสกี้ ฟอน ราเด็ตส์) ในขณะที่เพลงวอลซ์ที่เลื่องชื่อที่สุดของเขาได้แก่ Lorelei Rhine Klänge โอปุส 154

ชีวิตและงาน

โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ที่หนึ่ง เป็นบิดาของโยฮันน์ สเตร๊าสส์ ที่สอง โยเซฟ สเตร๊าสส์ และ เอด๊วด สเตร๊าสส์ เขายังมีบุตรสาวอีกสองคน ได้แก่ อันนา ที่เกิดในปีพ.ศ. 2372 (ค.ศ. 1829) และเทเรเซ ที่เกิดในปีพ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) รวมถึงบุตรชายคนที่สาม เฟอร์ดินาน ที่เกิดในปีพ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) และมีชีวิตอยู่ดูโลกได้เพียงแค่สิบเดือน

บิดามารดาของสเตร๊าสส์เป็นผู้ดูแลกระท่อม และแม้ว่าเหตุร้ายจะมาเยือนครอบครัวของเขา เมื่อมารดาเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดเมื่อเขาอายุได้เพียงเจ็ดขวบ เมื่อเขามีอายุได้สิบสองปี บิดาของเขาชื่อฟร้านซ์ บอร์เกียส ก็ได้เสียชีวิตอีกคนจากการจมน้ำในแม่น้ำดานูบ แม่บุญธรรมของเขาได้จัดการให้เขาได้ไปฝึกหัดงานเย็บเล่มหนังสือกับโยฮันน์ ลิชต์ไชเดิ้ล แต่เขากลับหาเวลาว่างไปหัดไวโอลินกับวิโอล่า และสามารถหางานในวงดนตรีท้องถิ่นของนายวงชื่อมิคาเอ็ล พาร์เมอร์ จากนั้นเขาก็ออกจากวงเพื่อไปร่วมวงสตริงควอร์เต็ตที่เป็นที่นิยม ชื่อว่าวง แลนเนอร์ ควอร์เต็ต ตั้งขึ้นโดยโยเซฟ แลนเนอร์คู่แข่งในอนาคตของเขา และสองพี่น้องตระกูลดราเก้นเฮก ชื่อคาร์ลกับโยฮันน์ วงสตริงควอร์เต็ตนี้เล่นเพลงวอลซ์แบบเวียนนา และเพลงคันทรี่แดนซ์ (Kontretanz)แบบเยอรมัน และได้ขยายไปเป็นวงเครื่องสายในปี พ.ศ. 2367 ในขณะที่มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมวง เขาไม่เคยทิ้งงานฝึกหัดเป็นช่างเย็บเล่มหนังสือ เขายังได้เรียนดนตรีกับโยฮันน์ โปลิชานสกี้ (Johann Polischansky) ในช่วงฝีกหัดงานอีกด้วย

ต่อมาเขาได้เลื่อนขั้นเป็นผู้แทนวาทยากรในวงดุริยางค์ที่เขาเล่นอยู่ และในปี พ.ศ. 2368 ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีของตนเองขึ้น และเริ่มประพันธ์เพลงสำหรับเล่นเองในวง เขาได้กลายเป็นนักประพันธ์เพลงเต้นรำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและเป็นที่รักของผู้ฟังมากที่สุดคนหนึ่งในเวียนนา และได้นำวงของเขาออกเดินสายเปิดการแสดงในเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อังกฤษ และ สก็อตแลนด์ ในขณะเดินทางต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส เขาได้ยินเพลงควอดริลและเริ่มแต่งขึ้นมาเองบ้าง และเป็นผู้ที่ทำให้เพลงประเภทนี้เป็นที่รู้จักในออสเตรีย

สเตร๊าสส์สมรสกับมาเรีย อันนา สไตรม์ ในปีพ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) ที่โบสต์แห่งหนึ่งในเมืองไลช์เทนธัล ชานกรุงเวียนนา ชีวิตสมรสของเขาไม่ค่อยจะราบรื่น และการออกตระเวนเปิดการแสดงในต่างประเทศบ่อยทำให้เขาห่างเหินจากครอบครัวขึ้นทุกที และทำให้เขารู้สึกเป็นคนแปลกหน้าขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาเขามีภรรยาน้อยชื่อ เอมิล แทรมบุช ในปีพ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) ที่เขามีบุตรด้วยถึงแปดคนด้วยกัน เหตุผลส่วนตัวของสเตร๊าสส์อาจเป็นสาเหตุให้โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ที่สอง ได้พัฒนาเป็นนักประพันธ์เนื่องจากโยฮันน์ บิดาได้ห้ามมิให้บุตรชายเรียนดนตรี ด้วยการประกาศยอมรับบุตรสาวที่เกิดจากเอมิลอย่างเปิดเผย มาเรีย อันนาได้ฟ้องหย่าในปีพ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) และได้อนุญาตให้โยฮันน์ จูเนียร์ ได้เรียนดนตรีอย่างจริงจัง โยฮันน์ บิดา เป็นผู้ที่ยึดกฎระเบียบเคร่งครัด และบังคับให้บุตรประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี ความคิดส่วนตัวของสเตร๊าสส์ไม่ค่อยชัดเจนนัก เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับคนในครอบครัว แต่เขาก็เข้าใจความลำบากที่นักดนตรีที่กำลังก่อร่างสร้างตัวต้องเผชิญเป็นอย่างดี

นอกเหนือจากปัญหาครอบครัวแล้ว เขายังได้ไปเปิดการแสดงในเกาะอังกฤษบ่อยครั้ง และเตรียมที่จะเขียนบทเพลงให้กับองค์กรการกุศลที่นั่น เพลงวอลซ์ของเขาพัฒนาจากระบำชาวนาในจังหวะสาม/สี่ เป็นสี่/สี่ และมีท่อนนำ และไม่ค่อยมีการอ้างถึงโครงสร้างเพลงวอลซ์แบบห้า/สองที่ตามมา และมักจะมีท่อนสร้อยสั้น ๆ อีกทั้งท่อนจบที่เร่งเร้า ในขณะที่โยฮันน์ สเตร๊าสส์ จูเนียร์ ผู้เป็นบุตร ได้ขยายโครงสร้างเพลงวอลซ์และใช้เครื่องดนตรีมากกว่าบิดา และแม้ว่าสเตร๊าสส์ ผู้เป็นบิดามีความสามารถทางดนตรีไม่เก่งกาจเท่าบุตรชายของเขา หรือไม่มีหัวการค้าเท่าไหร่นัก เขาก็เป็นหนึ่งในนักประพันธ์เพลงเพียงไม่กี่คน (รวมทั้งโยเซฟ แลนเนอร์ที่แต่งเพลงพร้อมกับตั้งชื่อเพลง ทำให้ผู้คนจดจำได้ง่าย อีกทั้งยังเพิ่มยอดขายของโน้ตอีกด้วย

โยฮันน์ สเตร๊าสส์ บุตร มักจะเล่นเพลงที่บิดาเป็นคนแต่ง และยังเปิดเผยว่าชอบบทเพลงเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันในสังคมชาวเวียนนาว่าบิดาเขามีคู่แข่งมากแค่ไหน อีกทั้งยังมีสื่อมวลชนช่วยโหมกระพือกระแส โดยส่วนตัวแล้ว โยฮันน์ สเตร๊าสส์ ที่หนึ่ง ปฏิเสธที่จะเปิดการแสดงอีกที่คาสิโนของนายดอมมาเยอร์ ที่เสนอให้บุตรชายของเขาเริ่มอาชีพวาทยกรและคอยช่วยเหลือให้ก้าวหน้าในอาชีพการงานตลอดชีวิต และในภายหลัง ชื่อเสียงของบุตรชายก็บดบังผู้เป็นบิดา ในแง่ของความนิยมในส่วนของดนตรีคลาสสิก

สเตร๊าสส์เสียชีวิตที่กรุงเวียนนา ในปี พ.ศ. 2392 จากโรคไข้แดง (scalett fever) ศพของเขาถูกฝังที่สุสานเมืองโดบลิง (Döbling) ข้างกับแลนเนอร์ เพื่อนของเขา และก่อนปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ศพของทั้งสองได้ถูกย้ายไปที่หลุมฝังศพแห่งเกียรติยศที่เมืองเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ สุสานเมืองโดบลิงได้กลายเป็นสวน สเตร๊าสส์-แลนเนอร์ในปัจจุบัน เอกเตอร์ แบร์ลิออซ ได้ยกย่อง'บิดาของเพลงวอลซ์เวียนนา' ด้วยคำกล่าวที่ว่า 'กรุงเวียนนาที่ปราศจากสเตร๊าสส์ ก็เหมือนออสเตรียที่ปราศจากแม่น้ำดานูบ'