ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สม็อก (ตัวละคร)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Alifshinobi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
}}
}}


'''สม็อก''' (Smaug) เป็นชื่อ[[มังกรในมิดเดิลเอิร์ธ|มังกร]] ในปกรณัมชุด[[มิดเดิลเอิร์ธ]] ของ [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] ปรากฏในเรื่อง ''[[เดอะฮอบบิท]]'' ได้ชื่อว่าเป็นมังกรตัวสุดท้ายของมิดเดิลเอิร์ธ มีสมญาอื่นว่า ''สม็อกมังกรทอง'' หรือ ''สม็อกผู้เรืองรอง'' มันสามารถพ่นไฟได้ จึงเชื่อว่าเป็นมังกรในตระกูลมังกรไฟ และสามารถบินได้
'''สม็อก''' (Smaug) หรือ '''สเมาก์''' ({{IPAc-en|s|m|aʊ|g}}<ref>{{harvnb|Tolkien|1996|loc="The Appendix on Languages"}}</ref>) เป็นชื่อ[[มังกรในมิดเดิลเอิร์ธ|มังกร]] ในปกรณัมชุด[[มิดเดิลเอิร์ธ]] ของ [[เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน]] ปรากฏในเรื่อง ''[[เดอะฮอบบิท]]'' ได้ชื่อว่าเป็นมังกรตัวสุดท้ายของมิดเดิลเอิร์ธ มีสมญาอื่นว่า ''สม็อกมังกรทอง'' หรือ ''สม็อกผู้เรืองรอง'' มันสามารถพ่นไฟได้ จึงเชื่อว่าเป็นมังกรในตระกูลมังกรไฟ และสามารถบินได้


สม็อกบุกโจมตีอาณาจักร[[เอเรบอร์]]ในปี 2770 ของ[[ยุคที่สาม]] ทำให้[[คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)|คนแคระ]]แห่งอาณาจักรเอเรบอร์ต้องหลบลี้หนีภัยไปอาศัยอยู่ในที่ต่างๆ มันครอบครองทรัพย์สมบัติในอาณาจักรแห่งนั้นอยู่นานกว่าสองร้อยปี และมักออกอาละวาดที่เมืองเอสการ็อธ เมือง[[เดล]] ซึ่งเป็นอาณาจักร[[มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)|มนุษย์]]ในแถบใกล้เคียงอยู่เสมอ
สม็อกบุกโจมตีอาณาจักร[[เอเรบอร์]]ในปี 2770 ของ[[ยุคที่สาม]] ทำให้[[คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)|คนแคระ]]แห่งอาณาจักรเอเรบอร์ต้องหลบลี้หนีภัยไปอาศัยอยู่ในที่ต่างๆ มันครอบครองทรัพย์สมบัติในอาณาจักรแห่งนั้นอยู่นานกว่าสองร้อยปี และมักออกอาละวาดที่เมืองเอสการ็อธ เมือง[[เดล]] ซึ่งเป็นอาณาจักร[[มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)|มนุษย์]]ในแถบใกล้เคียงอยู่เสมอ

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 08:38, 12 มกราคม 2564

สม็อก (smog) ที่หมายถึงมลพิษทางอากาศชนิดหนึ่ง ดูที่ หมอกควัน
ตัวละครใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
สม็อก

มังกรสม็อก จากภาพยนตร์เดอะฮอบบิท
ชื่อ สม็อก
ฉายา สม็อกมังกรทอง
สม็อกผู้เรืองรอง
ตำแหน่ง -
เผ่า มังกร ไวเวิร์น
วัฒนธรรม มังกร
เพศ ชาย
ดินแดน เขาโลนลี่
ช่วงชีวิต ยุคที่สาม
อาวุธ -
จากภาพยนตร์ของปีเตอร์ แจ็กสัน
นักแสดง -
เสียงพากย์ -

สม็อก (Smaug) หรือ สเมาก์ (/smɡ/[1]) เป็นชื่อมังกร ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง เดอะฮอบบิท ได้ชื่อว่าเป็นมังกรตัวสุดท้ายของมิดเดิลเอิร์ธ มีสมญาอื่นว่า สม็อกมังกรทอง หรือ สม็อกผู้เรืองรอง มันสามารถพ่นไฟได้ จึงเชื่อว่าเป็นมังกรในตระกูลมังกรไฟ และสามารถบินได้

สม็อกบุกโจมตีอาณาจักรเอเรบอร์ในปี 2770 ของยุคที่สาม ทำให้คนแคระแห่งอาณาจักรเอเรบอร์ต้องหลบลี้หนีภัยไปอาศัยอยู่ในที่ต่างๆ มันครอบครองทรัพย์สมบัติในอาณาจักรแห่งนั้นอยู่นานกว่าสองร้อยปี และมักออกอาละวาดที่เมืองเอสการ็อธ เมืองเดล ซึ่งเป็นอาณาจักรมนุษย์ในแถบใกล้เคียงอยู่เสมอ

สม็อกอาศัยอยู่ในถ้ำซึ่งมันขนเอาทรัพย์สมบัติของเอเรบอร์มากองรวมกันแล้วนอนทับเอาไว้ ใต้ท้องของสม็อกจึงมีแต่เพชรนิลจินดาที่ฝังแน่นอยู่กับพุงของมัน แต่บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ที่ลอบเข้าไปในรังของมันเพื่อหาอาร์เคนสโตนและได้ค้นพบจุดอ่อนที่หน้าอกซ้าย ว่าไม่มีสิ่งใดปกคลุม เขานำเรื่องออกมาบอกคนแคระ แต่นกทรัชสอดแนมนำความกลับไปแจ้งแก่บาร์ด นักธนูแห่งเดล ทำให้เขาสามารถยิงธนูใส่จุดอ่อนนั้นเมื่อสม็อกบินมาอาละวาดทำลายเมืองเดลอีก ด้วยคิดว่าเมืองเดลให้ความช่วยเหลือแก่ศัตรูที่ลอบเข้าไปสอดแนมในรังของมัน สม็อกจึงเสียชีวิตด้วยน้ำมือของบาร์ด

ที่มา[แก้]

แนวคิดในการประพันธ์ มังกร ของโทลคีน สอดคล้องกับตำนานปรัมปราหลายแห่งที่กล่าวถึงมังกรว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบสมบัติ และมักนอนอยู่บนกองสมบัติของตัว งานประพันธ์เก่าแก่ที่แสดงความข้อนี้คือ บทกวีแองโกล-แซกซอน เรื่อง "เบวูล์ฟ" ซึ่งโทลคีนเป็นศาสตราจารย์ทางด้านภาษาแองโกล-แซกซอน ในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1925-1945 มังกรในเรื่องเบวูล์ฟยังออกอาละวาดเนื่องจาก ถ้วยทองคำ ถูกขโมยไป เช่นเดียวกับอาร์เคนสโตนที่บิลโบขโมยออกมาในเรื่อง เดอะฮอบบิท[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tolkien 1996, "The Appendix on Languages"
  2. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน, เบวูล์ฟ : บทวิเคราะห์มุมมองของปีศาจ (Beowulf: The Monsters and the Critics and Other Essays) เรียบเรียงโดย คริสโตเฟอร์ โทลคีน, สำนักพิมพ์ จอร์จ อัลเลนแอนด์อันวิน, 1983