ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นางกุสาวดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ 49.228.136.57 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Mda
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
| รัชกาลถัดมา =
| รัชกาลถัดมา =
}}
}}
'''นางกุสาวดี''' เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่ ได้เป็นสนมใน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] แต่หลังจากนางตั้งครรภ์กับ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]พระองค์ก็ได้ทรงยกให้เป็นภรรยาของ[[สมเด็จพระเพทราชา]]เพราะว่ากษัตริย์ไม่สามารถมีลูกกับผู้หญิงเมืองอื่นได้เพื่อเป็นการรักษาเชื้อสายวงศ์ตระกูลไม่ให้ปะปนกับผู้อื่น ส่วนพระราชโอรสนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชเป็น[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8|พระเจ้าสุริเยนทราธิบดี]] (พระเจ้าเสือ)ตาประวัติศาสตร์ได้บอกว่า[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่8]]เป็นพระราชโอรสของพระเภทราชาแต่จริงๆนั้นเป็นเพียงบุตรบุญธรรมเพราะบิดาที่แท้จริงคือ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] จากปต
'''นางกุสาวดี''' เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่ ได้เป็นสนมใน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] แต่หลังจากนางตั้งครรภ์ได้ทรงยกให้เป็นภรรยาของ[[สมเด็จพระเพทราชา]] ส่วนพระราชโอรสนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชเป็น[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8|พระเจ้าสุริเยนทราธิบดี]] (พระเจ้าเสือ)


== พระประวัติ ==
== พระประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:28, 5 กันยายน 2563

นางกุสาวดี
พระราชสวามีสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระเพทราชา
พระราชบุตรสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8
ราชวงศ์ราชวงศ์ปราสาททอง
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระบิดาพระแสนเมือง

นางกุสาวดี เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่ ได้เป็นสนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หลังจากนางตั้งครรภ์ได้ทรงยกให้เป็นภรรยาของสมเด็จพระเพทราชา ส่วนพระราชโอรสนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ)

พระประวัติ

นางกุสาวดีเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่[1] คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่านางได้เป็นสนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาทรงพระสุบินว่าเทวดามาบอกว่านางกุสาวดีกำลังตั้งครรภ์พระราชโอรสที่มีบุญมาก แต่พระองค์ได้ปฏิญาณไว้แล้วว่าจะไม่เลี้ยงลูกสนมเนื่องจากเกรงจะก่อกบฏเหมือนพระศรีสิงห์ ทรงนิมนต์พระอาจารย์พรหมมาปรึกษาในพระราชวัง พระอาจารย์พรหมแนะนำว่าควรชุบเลี้ยงไว้เผื่อภายหน้าจะได้สืบราชตระกูล จึงรับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์เอานางกุสาวดีไปเลี้ยงเป็นภรรยา ถ้าได้ลูกชายให้ถือเป็นลูกของตน ถ้าได้ลูกสาวให้ถวายพระองค์ เจ้าพระยาสุรสีห์ปฏิบัติตามรับสั่ง จนทราบว่านางกุสาวดีคลอดลูกชายก็พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมากแก่กุมารนั้น ภายหลังยังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีสรศักดิ์[2]

หลังจากสมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคต เจ้าพระยาสุรสีห์ได้สืบราชสมบัติ ส่วนนางกุสาวดีไม่ปรากฏว่าได้รับสถาปนาพระยศแต่อย่างใด[3]

รายการอ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 162
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 528
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 540
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9