ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระศรีวรานุรักษ์ (ศรี บุญเฉลียว)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''พระศรีวรานุรักษ์''' (ศรี บุญเฉลียว) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนร...
 
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่]]
[[หมวดหมู่:นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่]]
[[หมวดหมู่:นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:51, 28 มิถุนายน 2563

พระศรีวรานุรักษ์ (ศรี บุญเฉลียว) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 1 สมัย ในปี พ.ศ. 2480

ประวัติ

พระศรีวรานุรักษ์ เป็นบุตรของนายวัง กับนางบัวจันทร์ บุญเฉลียว เกิดที่บ้านศาลา ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2440 เข้าเรียนที่โรงเรียนกลางเวียง ต่อมาเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรม และส่งเรียนต่อโรงเรียนปกครอง กระทรวงมหาดไทย จนกลับมารับราชการประจำแผนกเลขาฯ มณฑลพายัพ ต่อมาย้ายไปประจำที่กรุงเทพ และเรียนวิชากฎหมายเพิ่มเติม

พระศรีวรานุรักษ์ ขอกลับมารับราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ และเคยดำรงตำแหน่งเสมียนตรามณฑลพายัพ นายอำเภอสารภี และ[1] นายอำเภอแม่ริม[2] รับราชการในยุคเดียวกับเจ้าบุรีรัตน์ (แก้วมุงเมือง ณเชียงใหม่)[3]

ศรี บุญเฉลียว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศรีวรานุรักษ์ ในปี พ.ศ. 2471[4] และเป็นพระศรีวรานุรักษ์ ในเวลาต่อมา

พระศรีวรานุรักษ์ ถูกมองว่าเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ และเป็นฝ่ายเดียวกับเชื้อพระวงศ์จึงตรงข้ามกัฝ่ายคณะราษฎร จึงถูกย้ายไปมณฑลนครราชสีมา ทำให้พระศรีวรานุรักษ์ ตัดสินใจลาออกจากราชการ และกลับมาทำธุรกิจส่วนตัวที่เชียงใหม่

พระศรีวรานุรักษ์ ลงเล่นการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2480 และเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการต้อนรับรัฐธรรมนูญเมื่อมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2476[5] พระศรีวรานุรักษ์ มีบทบาทในฝ่ายนิติบัญญัติ อาทิ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดสหกรณ์นิคมในเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่[6]

พระศรีวรานุรักษ์ ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2486

อ้างอิง