ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐสวัสดิการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 5531860 โดย Horus: ย้อนก่อกวน (ทำบทความพัง)ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:


[[หมวดหมู่:อุดมการณ์ทางการเมือง]]
[[หมวดหมู่:อุดมการณ์ทางการเมือง]]
[[หมวดหมู่:ทุนนิยม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:06, 11 เมษายน 2563

รัฐสวัสดิการ (อังกฤษ: welfare state) คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณะแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและฟินแลนด์ รวมอยู่ในรัฐสวัสดิการสมัยใหม่[1]

รัฐสวัสดิการเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนเงินทุนจากรัฐสู่บริการที่จัดให้ (เช่น สาธารณสุข การศึกษา) ตลอดจนสู่ปัจเจกบุคคลโดยตรง ("ผลประโยชน์") รัฐสวัสดิการจัดหาเงินทุนจากการเก็บภาษีแบบแบ่งความมั่งคั่ง (redistributionist taxation) และมักเรียกว่าเป็น "เศรษฐกิจแบบผสม" ประเภทหนึ่ง[2] การเก็บภาษีดังกล่าวปกติรวมการเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้สูงมากกว่าผู้มีรายได้ต่ำ เรียก ภาษีอัตราก้าวหน้า ซึ่งช่วยลดช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน[3][4][5]

อ้างอิง

  1. Paul K. Edwards and Tony Elger, The global economy, national states and the regulation of labour (1999) p, 111
  2. "Welfare state." Encyclopedia of Political Economy. Ed. Phillip Anthony O'Hara. Routledge, 1999. p. 1245
  3. Pickett and Wilkinson, The Spirit Level: Why More Equal Societies Almost Always Do Better, 2011
  4. The Economics of Welfare| Arthur Cecil Pigou
  5. Andrew Berg and Jonathan D. Ostry, 2011, "Inequality and Unsustainable Growth: Two Sides of the Same Coin?" IMF Staff Discussion Note SDN/11/08, International Monetary Fund

แหล่งข้อมูลอื่น