ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ (ช้าง)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
และภายหลังเสด็จกลับจากการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานปืนเมาเซอร์ให้กับนายช้างตามสัญญาและโปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงมหาดไทยทำประทวนแต่งตั้งให้ นายช้าง เป็น กรมการพิเศษเมืองกรุงเก่า พร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ ศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2447
และภายหลังเสด็จกลับจากการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานปืนเมาเซอร์ให้กับนายช้างตามสัญญาและโปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงมหาดไทยทำประทวนแต่งตั้งให้ นายช้าง เป็น กรมการพิเศษเมืองกรุงเก่า พร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ ศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2447


ต่อมาระหว่างการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเรือนของ หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ อีกครั้งในคราวนี้หมื่นปฏิพัทธหรือนายช้างได้รับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองกรุงเก่าจึงทราบข่าวล่วงหน้าและเตรียการรับเสด็จเป็นอย่างดีก่อนเสด็จประพาสต่อไปพระองค์ได้ถ่ายรูปครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธ รวมถึงพระราชทานสิ่งของแก่ครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธ ได้แก่ กระดุมลงยาเม็ดใหญ่ พระราชทานแก่หมื่นปฏิพัทธ หีบหมากเงินสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. แก่ อำแดงพลับ ผ้าและหนังสือแก่บุตรสาวทั้งสองของหมื่นปฏิพัทธ รวมถึงซองบุหรี่เงินแก่ เจ๊กขัน บุตรเขยและได้พระราชทานนามให้กับบุตรชายของเจ๊กขันด้วย
ต่อมาระหว่างการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเรือนของ หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ อีกครั้งในคราวนี้หมื่นปฏิพัทธหรือนายช้างได้รับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองกรุงเก่าจึงทราบข่าวล่วงหน้าและเตรียมการรับเสด็จเป็นอย่างดีก่อนเสด็จประพาสต่อไปพระองค์ได้ถ่ายรูปครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธ รวมถึงพระราชทานสิ่งของแก่ครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธ ได้แก่ กระดุมลงยาเม็ดใหญ่ พระราชทานแก่หมื่นปฏิพัทธ หีบหมากเงินสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. แก่ อำแดงพลับ ผ้าและหนังสือแก่บุตรสาวทั้งสองของหมื่นปฏิพัทธ รวมถึงซองบุหรี่เงินแก่ เจ๊กขัน บุตรเขยและได้พระราชทานนามให้กับบุตรชายของเจ๊กขันด้วย


เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พระองค์ได้พระราชทานไม้เท้าและกระเป๋าหนังจระเข้แก่ หมื่นปฏิพัทธภูวนารถและอำแดงพลับ ต่อมาใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน เดือน 11 จุลศักราช 1270 ลงวันที่ 23 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ได้บันทึกเกี่ยวกับการไปช่วยงานทอดกฐินของหมื่นปฏิพัทธภูวนารถของพระองค์ดังนี้
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พระองค์ได้พระราชทานไม้เท้าและกระเป๋าหนังจระเข้แก่ หมื่นปฏิพัทธภูวนารถและอำแดงพลับ ต่อมาใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน เดือน 11 จุลศักราช 1270 ลงวันที่ 23 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ได้บันทึกเกี่ยวกับการไปช่วยงานทอดกฐินของหมื่นปฏิพัทธภูวนารถของพระองค์ดังนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:53, 25 กุมภาพันธ์ 2563

หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ
เกิดช้าง
พ.ศ. 2389
เสียชีวิตพ.ศ. 2460
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากเพื่อนต้นใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คู่สมรสอำแดงพลับ
บุตร11 คน
บิดามารดานายคง
อำแดงบุญ

หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ (2389-2460) ขุนนางชาวไทย กรมการพิเศษเมืองกรุงเก่า และเป็นหนึ่งในเพื่อนต้นหรือพระสหายสนิทคนสำคัญของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

นายช้างเกิดเมื่อราว พ.ศ. 2389 ในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อนายคง มารดาชื่อ อำแดงบุญ ในครอบครัวคหบดี ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ ฐานะมั่นคง ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ อำแดงพลับ มีบุตร-ธิดา ทั้งสิ้น 11 คนเป็นชาย 5 คนและหญิง 6 คน

ในช่วงปลายของการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะผู้ตามเสด็จได้ล่องเรือเลี้ยวเข้าคลองบางหลวงอ้ายเอียงก่อนจะเสด็จต่อไปยัง พระราชวังบางปะอิน และประทับรถไฟจาก สถานีรถไฟบางปะอิน เสด็จกลับ กรุงเทพมหานคร โดยพระองค์และผู้ตามเสด็จได้แวะพักทำอาหารที่เรือนของกำนันประจำตำบลแต่กำนันไม่อยู่อยู่แต่ นายช้าง และ อำแดงพลับ พ่อตาและแม่ยายของกำนันซึ่งนายช้างและอำแดงพลับได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีและนายช้างได้กราบทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วยเป็นธุระซื้อปืน เมาเซอร์ ให้สักกระบอกซึ่งพระองค์ก็ตอบตกลงและเมื่อเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังพระราชวังบางปะอินพระองค์ได้พระราชทานเงินจำนวน 400 บาทให้แก่ นายช้าง และ อำแดงพลับ

และภายหลังเสด็จกลับจากการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานปืนเมาเซอร์ให้กับนายช้างตามสัญญาและโปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงมหาดไทยทำประทวนแต่งตั้งให้ นายช้าง เป็น กรมการพิเศษเมืองกรุงเก่า พร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ ศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2447

ต่อมาระหว่างการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเรือนของ หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ อีกครั้งในคราวนี้หมื่นปฏิพัทธหรือนายช้างได้รับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองกรุงเก่าจึงทราบข่าวล่วงหน้าและเตรียมการรับเสด็จเป็นอย่างดีก่อนเสด็จประพาสต่อไปพระองค์ได้ถ่ายรูปครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธ รวมถึงพระราชทานสิ่งของแก่ครอบครัวของหมื่นปฏิพัทธ ได้แก่ กระดุมลงยาเม็ดใหญ่ พระราชทานแก่หมื่นปฏิพัทธ หีบหมากเงินสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. แก่ อำแดงพลับ ผ้าและหนังสือแก่บุตรสาวทั้งสองของหมื่นปฏิพัทธ รวมถึงซองบุหรี่เงินแก่ เจ๊กขัน บุตรเขยและได้พระราชทานนามให้กับบุตรชายของเจ๊กขันด้วย

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พระองค์ได้พระราชทานไม้เท้าและกระเป๋าหนังจระเข้แก่ หมื่นปฏิพัทธภูวนารถและอำแดงพลับ ต่อมาใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน เดือน 11 จุลศักราช 1270 ลงวันที่ 23 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ได้บันทึกเกี่ยวกับการไปช่วยงานทอดกฐินของหมื่นปฏิพัทธภูวนารถของพระองค์ดังนี้

เวลาเช้าทรงเรือพระที่นั่งครุธเหิรเห็จล่องน้ำไปเข้าแยกตำบลหัวเวียง เสด็จไปทรงช่วยนายช้างซึ่งเปนที่หมื่นปฏิพัทธภูวนารถแลอำแดงพลับในการ​ทอดกฐิน พระราชทานเสมาแก่เด็กด้วย แล้วเลยไปประทับเสวยที่บ้านหมื่นปฏิพัทธภูวนารถ พระราชทานเงินแก่หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ ๒๐๐ บาท

ตำแหน่ง

  • 18 ตุลาคม พ.ศ. 2447 - กรมการพิเศษเมืองกรุงเก่า[1]

บรรดาศักดิ์

  • 18 ตุลาคม พ.ศ. 2447 - หมื่นปฏิพัทธภูวนารถ ศักดินา ๓๐๐[2]

อ้างอิง

บรรณานุกรม