ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากุเราสี่หนวด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gta2123 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
เป็นปลาที่หากินอยู่ตามหน้าดินที่เป็นดิน[[โคลน]] บางครั้งเข้ามาหากินอยู่ในบริเวณ[[น้ำกร่อย]]หรือ[[น้ำจืด]] พบทั่วไปใน[[อ่าวเปอร์เซีย]], [[อินเดีย]], [[อ่าวไทย]], [[ปาปัวนิวกินี]] จนถึง[[ออสเตรเลีย]]
เป็นปลาที่หากินอยู่ตามหน้าดินที่เป็นดิน[[โคลน]] บางครั้งเข้ามาหากินอยู่ในบริเวณ[[น้ำกร่อย]]หรือ[[น้ำจืด]] พบทั่วไปใน[[อ่าวเปอร์เซีย]], [[อินเดีย]], [[อ่าวไทย]], [[ปาปัวนิวกินี]] จนถึง[[ออสเตรเลีย]]


เป็น[[ปลาเศรษฐกิจ]]ที่สำคัญ รับประทานได้ทั้งสดและแปรรูปทำเป็น[[ปลาเค็ม]]<ref>[http://sirikhun.com/Knowledge/Fish-Ship/65-135-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B2 ปลากุเลา]</ref>
เป็น[[ปลาเศรษฐกิจ]]ที่สำคัญ รับประทานได้ทั้งสดและแปรรูปทำเป็น[[ปลาเค็ม]]<ref>[http://sirikhun.com/Knowledge/Fish-Ship/65-135-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B2 ปลากุเลา]</ref>เปลียนทางไปที่คน


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:50, 2 กรกฎาคม 2562

ปลากุเราสี่หนวด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Polynemidae
สกุล: Eleutheronema
สปีชีส์: E.  tetradactylum
ชื่อทวินาม
Eleutheronema tetradactylum
(Shaw, 1804)
ชื่อพ้อง[1]
  • Eleutheonema tetradactylum (Shaw, 1804)
  • Polydactylus rhadinus Jordan & Evermann, 1902

ปลากุเราสี่หนวด (อังกฤษ: Fourfinger threadfin, Indian salmon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleutheronema tetradactylum) เป็นปลาทะเลและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae)

มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวค่อนข้างหนา แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น ตามีเยื่อไขมันปกคลุมและอยู่ใกล้ปลายจะงอย ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย และมีฟันแหลมคม ลักษณะเด่นคือ ก้านครีบส่วนล่างของครีบหูแยกออกเป็นเส้นรยางค์ 4 เส้น ซึ่งภาษาพูดเรียกกันว่าหนวด มีครีบหลังแยกห่างกัน 2 อัน ครีบหางเป็นแฉกลึก ส่วนของลำตัวที่อยู่แนวสันหลังสีเทาปนเขียว ส่วนที่อยู่ถัดลงมาสีเนื้อและสีขาวเงิน ครีบหลังและครีบหางมีรอยแต้มสีเทาที่ปลาย ครีบอื่น ๆ สีเหลือง มีขนาดโดยเฉลี่ย 40-60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบ 2 เมตร

เป็นปลาที่หากินอยู่ตามหน้าดินที่เป็นดินโคลน บางครั้งเข้ามาหากินอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด พบทั่วไปในอ่าวเปอร์เซีย, อินเดีย, อ่าวไทย, ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลีย

เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ รับประทานได้ทั้งสดและแปรรูปทำเป็นปลาเค็ม[2]เปลียนทางไปที่คน

อ้างอิง

  1. "Eleuyheronema tetradactylum". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. ปลากุเลา

แหล่งข้อมูลอื่น