ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การลูกเสือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎ประวัติกิจการ: แก้ไขส่วนที่ไม่มีอ้างอิง
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
คำอธิบาย
บรรทัด 2: บรรทัด 2:


[[ไฟล์:WikiProject Scouting fleur-de-lis dark.svg|thumb|upright|right|225px|ตราของการลูกเสือ]]
[[ไฟล์:WikiProject Scouting fleur-de-lis dark.svg|thumb|upright|right|225px|ตราของการลูกเสือ]]
'''กิจการการลูกเสือ''' ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดย sex matter คนแรกของโลกมีความเป็นมาที่ยาวนาน
'''กิจการการลูกเสือ''' ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดย[[ลอร์ดเบเดน โพเอลล์]] ({{lang-en|Lord Baden Powell}}) เรียกย่อว่า "บี พี" ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่[[เกาะบราวน์ซี]] ({{lang-en|Browmsea Islands}}) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ


== ประวัติกิจการ ==
== ประวัติกิจการ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:07, 17 มิถุนายน 2562

ตราของการลูกเสือ

กิจการการลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดย sex matter คนแรกของโลกมีความเป็นมาที่ยาวนาน

ประวัติกิจการ

ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ ( บี.พี. ) ชาวอังกฤษ ( เกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 ) ในวัยเด็กโพเอลล์ ชอบท่องเที่ยวพักแรม จึงรักธรรมชาติ ชอบร้องเพลง และมีความรู้ในการใช้แผนที่เป็นอย่างดี เมื่ออายุ 19 ปี ได้รับราชการทหารเป็นร้อยตรี ไปประจำการ ณ ประเทศอินเดียและแอฟริกา โพเอลล์เป็นทหาร มีเงินเดือนน้อยจึงรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เข้มแข็งและอดทน หลังจากปลดประจำการแล้ว ได้นำประสบการณ์ตอนเป็นทหาร เช่น การฝึกสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าว และเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ มาพัฒนาแนวคิดเป็นขบวนการลูกเสือ โดยในปี พ.ศ. 2450 โพเอลล์ได้รวบรวมเด็ก 20 คน ให้ไปอยู่กับเขาที่เกาะบราวน์ซี ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการพักแรมครั้งแรกของลูกเสือ และต่อมาได้มีการก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นอย่างจริงจัง โพเอลล์ ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่เคนยา แอฟริกา ในช่วงอายุ 80 ปี และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่ประเทศเคนยา

การลูกเสือในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ”

กิจการลูกเสือในประเทศไทยยังคงได้รับการสืบสานให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับนับจนปัจจุบัน โดยมี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็นประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ

ลูกเสือ คือ เยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle) วิธีการ (Method) และวัตถุประสงค์ (Purpose) ของการลูกเสือ (Scouting) อย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 และข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า ลูกเสือมี 4 ประเภท คือ สำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ และอาจจัดให้มีลูกเสือเหล่าสมุทร และลูกเสือเหล่าอากาศได้ สำหรับลูกเสือที่เป็นหญิง อาจใช้ชื่อเรียกว่า เนตรนารี หรือชื่ออื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้หมายถึง ลูกเสือที่เป็นหญิงด้วย

1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) อายุ 8 – 11 ปี คติพจน์: ทำดีที่สุด (Do Our Best)

2. ลูกเสือสามัญ (Scout) อายุ 11 – 16 ปี คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be Prepared)

3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ 13 – 18 ปี คติพจน์: มองไกล (Look Wide)

4. ลูกเสือวิสามัญ (Rover) อายุ 16 - 25 ปี คติพจน์: บริการ (Service)

แหล่งข้อมูลอื่น


.