ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไฮแจ็ค (วงดนตรีไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
| แหล่งกำเนิด =
| แหล่งกำเนิด =
| เครื่องดนตรี =
| เครื่องดนตรี =
| แนวเพลง = [[ป๊อปแดนซ์]] [[แร็ปร็อค]]
| แนวเพลง = [[ป๊อปแดนซ์]] [[แร็ปร็อก]]
| อาชีพ =
| อาชีพ =
| ช่วงปี = พ.ศ. 2535-2537, ปัจจุบัน
| ช่วงปี = พ.ศ. 2535-2537, ปัจจุบัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:16, 30 พฤษภาคม 2562

ไฮแจ็ค
อัลบั้ม เล่นเจ็บเจ็บ
ข้อมูลพื้นฐาน
แนวเพลงป๊อปแดนซ์ แร็ปร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2535-2537, ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์.เอส.โปรโมชั่น
สมาชิกเอ๊กซ์
ผี
ต๋อย
เจมส์

ไฮแจ็ค เป็นศิลปินกลุ่มบอยแบนด์ค่ายอาร์เอส โดยออกผลงานตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2535[1] - พ.ศ. 2537, ปัจจุบัน

ประวัติ

ไฮแจ็ค เป็นกลุ่มบอยแบนด์ในสังกัด อาร์.เอส. โปรโมชั่น ในยุคทศวรรษที่ 90 มีชื่อเสียงทางด้านการเต้น เพราะสมาชิกทั้ง 4 คนเคยเป็นแดนเซอร์มาก่อน และถือว่าเป็นบอยแบนด์กลุ่มแรกด้วยของทางสังกัด[1]

ไฮแจ็คได้ออกสตูดิโออัลบั้มมาทั้งสิ้น 2 อัลบั้มและอัลบั้มพิเศษอีก 1 อัลบั้ม ระหว่างทำอัลบั้มชุดที่ 3 ผี พีรพันธุ์หนึ่งในสมาชิก ได้ประสบอุบัติเหตุทำให้ถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสกลายเป็นอาการเรื้อรังทำให้ทางวงต้องยุติการทำเพลงชุดนี้และแยกวงไปในที่สุด[2]

ในช่วงที่โด่งดังอยู่นั้น ไฮแจ็คได้รับการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนต่างประเทศ คือ เอ็นเอชเค ของญี่ปุ่น และเอ็มทีวี ของสิงคโปร์ โดยถูกหยิบยกไปเทียบกับโชเนนไต บอยแบนด์ร่วมสมัยของญี่ปุ่น [3]

ปัจจุบัน เอ็กซ์ ยังคงมีผลงานบันเทิงอยู่บ้าง โดยมีผลงานคือ รับบทตัวร้ายและตัวประกอบในละครโทรทัศน์เรื่องต่าง ๆ ผี ผันตัวเป็นโปรดิวเซอร์และเปิดโรงเรียนสอนร้องเพลงและเต้น[2] ส่วน เจมส์ เป็นแอคติ้งโค้ช ต๋อย ทำธุรกิจร้านอาหาร [4][5] ล่าสุด ปี 2017 ไฮแจ็คได้กลับมารวมอีกครั้ง ในรอบ 8 ปี หลังจากรายการคืนนี้วันนั้น โดยออกรายการ A-Pop ช่วง ปล.ด้วยรักและคิดถึง ทางช่อง อมรินทร์ทีวี[6]

สมาชิก

ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น เชื้อชาติ วันเกิด
จตุรงค์ โกลิมาศ เอ็กซ์ ไทย
ไทย
28 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (54 ปี)
พีรพันธุ์ กุมารสิทธิ์ ผี ไทย
ไทย
22 เมษายน พ.ศ. 2513 (54 ปี)
ณฐวัฒน์ ไข่มุกด์

(แต่เดิมชื่อ อภิชาติ)

ต๋อย ไทย
ไทย
4 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
พิชัย อูนากุล เจมส์ ไทย-อเมริกัน
ไทย-สหรัฐ
5 มีนาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)

อัลบั้ม

สตูดิโออัลบั้ม

รายละเอียดอัลบั้ม รายชื่อเพลง
อัลบั้ม
  • ชื่อ: ฟอร์มหล่นไม่ต้องเก็บ
  • ประเภท: เทป/ซีดี/แผ่นเสียง
  • ปี: 1 มกราคม พ.ศ. 2535
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. ไม่เก็ท
  2. ขอเต้น (บางครั้งก็เขียน อยากจะเต้นอย่างเดียว)
  3. อยู่ในมือเธอ
  4. ไฟตกน้ำ
  5. แย็บ แย็บ
  6. ถูกใจโก๋
  7. ถอนตัว
  8. แล้วจะรู้สึก
  9. อ่อนหัด
  10. หัวใจเป็นต่อ
อัลบั้ม
  • ชื่อ: เล่นเจ็บเจ็บ
  • ประเภท: เทป/ซีดี/แผ่นเสียง
  • ปี: 31 ธันวาคม พ.ศ. 2536
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. ขอชนอีกที
  2. ขอบอกเอง
  3. คิดถึงรึเปล่า
  4. เดี๋ยวจะโดน
  5. แทงใจ
  6. เป็นโจ๊กเลยงานเนี้ย
  7. เพราะเธอ
  8. ยังไม่ตาย
  9. เล่น เจ็บ เจ็บ
  10. สะอึก

อัลบั้มพิเศษ

คอนเสิร์ตเดี่ยว

  • คอนเสิร์ตสลัดอากาศขอเต้น เมษายน 2536 เอ็มบีเค ฮอลล์
  • Magic Dance คอนเสิร์ต ไฮแจ็คเต้นลวงตา เมษายน 2537 เอ็มบีเค ฮอลล์ (โชคชัย เจริญสุข เป็นแขกรับเชิญ)

คอนเสิร์ตรวมศิลปิน

  • คอนเสิร์ตประสานใจสู้ภัยเอดส์ ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี (2537) สนามกีฬากองทัพบก
  • Raptor Concert ตอน จอนนี่แอนด์หลุยส์ตะลุยไฮแจ็ค 24 กันยายน 2537 เอ็มบีเค ฮอลล์
  • คอนเสิร์ตนอกเวลา RS Unplugged (28 พ.ค. 2537) อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก

ผลงานการแสดง

งานภาพยนตร์

ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง

  • ไฟตกน้ำ
  • ขอบอกเอง
  • อยู่ในมือเธอ
  • ขอเต้น
  • ถูกใจโก๋
  • เล่นเจ็บเจ็บ
  • แล้วจะรู้สึก
  • ไม่เก็ท
  • อย่าคิดว่าเธอไม่มีใคร (ร้องคู่กับ แร็พเตอร์)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 BigChild (Jun 9, 2015). "แฟนพันธุ์แท้ - บอยแบนด์ & เกิร์ลแก๊ง 07ก.ค. 2006". แฟนพันธุ์แท้ 2006.
  2. 2.0 2.1 กุหลาบสีเงิน (May 3, 2015). "star Retro : 'ผี ไฮแจ็ค' ผู้อยู่เบื้องหลังงานเต้น ของ 'ทัช'และ 'เจ' 2 ค่ายในเวลาเดียวกัน". แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ September 3, 2016.
  3. "คืนนี้วันนั้น - ไฮแจ็ค+ทีสเกิร์ต (2/2)". ช่อง 5. 4 May 2012. สืบค้นเมื่อ 21 March 2015.
  4. นัยนะ (November 3, 2006). "Hi-Jack". พันทิปดอตคอม. สืบค้นเมื่อ September 3, 2016.
  5. นัยนะ (March 21, 2010). "วงเต้นของเกาหลีหลายๆวงเนี่ยะ สู้ไฮแจค ได้ป่าวคับ". พันทิปดอตคอม. สืบค้นเมื่อ September 3, 2016.
  6. "Hi-Jack อดีตบอยแบนด์ยุค 90 สเต็ปเทพที่ไม่อาจลืม". ช่องอมรินทร์ทีวี. 7 June 2017. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.