ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอนดี วอร์ฮอล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2ndoct (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2ndoct (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ชีวิตในพิตส์เบิร์ก (1928-1949): แก้ไขเนื้อความตามแหล่งอ้างอิง
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 25: บรรทัด 25:


[[ไฟล์:Andy Warhol's childhood home in Pittsburgh, Pennsylvania.jpg|thumb|left|“บ้านของครอบครัววาร์โฮลาในพิตส์เบิร์ก”]]
[[ไฟล์:Andy Warhol's childhood home in Pittsburgh, Pennsylvania.jpg|thumb|left|“บ้านของครอบครัววาร์โฮลาในพิตส์เบิร์ก”]]
แอนดี วอร์ฮอล หรือ แอนดรูว์ วาร์โฮลา จูเนียร์ (Andrew Varchola, Jr.) เกิดในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1928 ในเมืองพิตส์เบิร์ก (Pittsburgh) รัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ประเทศสหรัฐอเมริกา<ref>{{cite web|url=http://warholfoundation.org/legacy/biography.html |title=Andy Warhol: Biography |publisher=Andy Warhol Foundation for the Visual Arts |year=2002}}</ref> เขามีเชื้อสายชาว[[สโลวัก]] หรือ สโวเกีย มีบิดาคือ นายอันเดรจ์ วาร์โฮลา (Ondrej Varchola) เป็นชาวสโลวักที่เกิดในรูธเนีย (Ruthenia) เมืองเล็กๆตรงแถบเชิงเขาคาร์ปาเธียน (Carpathian) ตรงชายแดนรอยต่อระหว่างสโลวักและ[[ยูเครน]] พ่อของแอนดีอพยพเข้ามาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1912 เนื่องจากความขัดสน เขามีความฝันเช่นเดียวกับชาวยุโรปคนอื่นๆที่ต้องการอพยพเข้าสู่แผ่นดินแดนแห่งโลกใหม่ (New World) หรือ สหรัฐอเมริกา ก็เพื่อแสวงหาโชคลาภและโอกาส ส่วนมารดาคือ จูเลีย (Júlia) เธออพยพติดตามเข้ามาหลังจากที่อันเดรจ์เดินทางมาแล้วจากนั้นอีก 9 ปี ทั้งสองแต่งงานกันก่อนที่จะเดินทางอพยพกันมาที่สหรัฐอเมริกา พวกเขามีลูกชายด้วยกัน 3 คน แอนดีเป็นลูกคนกลาง เขามีพี่ชายคนหนึ่งชื่อว่า พอล (Paul) และน้องชายอีกคนคือ จอห์น (John) พ่อของแอนดีทำงานหลายอย่างตั้งแต่ช่างก่อสร้าง คนงานเหมืองถ่านหิน คนงานโรงงานผลิตรถยนต์ แม้กระทั่งเป็นคนงานในโรงถลุงเหล็ก เขาตระเวนย้ายงานไปหลายเมืองตามแต่ที่จะหางานได้ เพื่อให้ได้รายได้เพิ่มพูนมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากนัก ส่วนแม่ของเขานั้นมีฝีมือทางด้านประดิษฐ์งานหัตถศิลป์ เป็นช่างประดิษฐ์งานฝีมือทำของชนพื้นเมืองท้องถิ่นทางสโลวักขายเป็นรายได้เสริมอีกทาง แม่ของเขาจึงรับหน้าที่ดูแลลูกอยู่เพียงลำพังเสมอๆ จนดูคล้ายกับว่าครอบครัววาร์โฮลานั้นมีกันเพียง 4 คนแม่ลูกเท่านั้น
แอนดี วอร์ฮอล หรือ แอนดรูว์ วาร์โฮลา จูเนียร์ (Andrew Varchola, Jr.) เกิดในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1928 ในเมืองพิตส์เบิร์ก (Pittsburgh) รัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ประเทศสหรัฐอเมริกา<ref>{{cite web|url=http://warholfoundation.org/legacy/biography.html |title=Andy Warhol: Biography |publisher=Andy Warhol Foundation for the Visual Arts |year=2002}}</ref> เขามีเชื้อสายชาว[[สโลวัก]] หรือ สโวเกีย มีบิดาคือ นายอันเดรจ์ วาร์โฮลา (Ondrej Varchola) เป็นชาวสโลวักที่เกิดในรูธเนีย (Ruthenia) เมืองเล็กๆตรงแถบเชิงเขาคาร์ปาเธียน (Carpathian) ตรงชายแดนรอยต่อระหว่างสโลวักและ[[ยูเครน]] พ่อของแอนดีอพยพเข้ามาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1912 เนื่องจากความขัดสน เขามีความฝันเช่นเดียวกับชาวยุโรปคนอื่นๆที่ต้องการอพยพเข้าสู่แผ่นดินแดนแห่งโลกใหม่ (New World) หรือ สหรัฐอเมริกา ก็เพื่อแสวงหาโชคลาภและโอกาส ส่วนมารดาคือ จูเลีย (Júlia) เธออพยพติดตามเข้ามาหลังจากที่อันเดรจ์เดินทางมาแล้วจากนั้นอีก 9 ปี ทั้งสองแต่งงานกันก่อนที่จะเดินทางอพยพกันมาที่สหรัฐอเมริกา พวกเขามีลูกชายด้วยกัน 3 คน แอนดีเป็นลูกคนสุดท้อง เขามีพี่ชายชื่อว่า พอล (Paul) และจอห์น (John)<ref>[http://www.dailymail.co.uk/news/article-1342249/John-Warhola-dies-aged-85.html "Elder brother of Andy Warhol, who raised young artist, dies aged 85"], ''Daily Mail'', December 29, 2010.</ref><ref>{{cite web|url=http://www.warhola.com/biography.html |title=Biography |publisher=Warhola.com |accessdate=August 14, 2010}}</ref><ref>V. Bockris, ''Warhol: The Biography'', Da Capo Press, 2009, p. 15.</ref> พ่อของแอนดีทำงานหลายอย่างตั้งแต่ช่างก่อสร้าง คนงานเหมืองถ่านหิน คนงานโรงงานผลิตรถยนต์ แม้กระทั่งเป็นคนงานในโรงถลุงเหล็ก เขาตระเวนย้ายงานไปหลายเมืองตามแต่ที่จะหางานได้ เพื่อให้ได้รายได้เพิ่มพูนมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากนัก ส่วนแม่ของเขานั้นมีฝีมือทางด้านประดิษฐ์งานหัตถศิลป์ เป็นช่างประดิษฐ์งานฝีมือทำของชนพื้นเมืองท้องถิ่นทางสโลวักขายเป็นรายได้เสริมอีกทาง แม่ของเขาจึงรับหน้าที่ดูแลลูกอยู่เพียงลำพังเสมอๆ จนดูคล้ายกับว่าครอบครัววาร์โฮลานั้นมีกันเพียง 4 คนแม่ลูกเท่านั้น


เมื่อแอนดีอายุได้ 6 ขวบ ในปี 1936 นั้น แอนดี ก็ป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่ไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการทางระบบประสาทที่คนไทยเรียกว่า "สันนิบาตลูกนก" ซึ่งมีอาการทำให้ร่างกายบิดเบี้ยวผิดรูปร่างและผิวหนังซีดเผือดเนื่องจากความผิดปรกติของการผลิตเลือด ทำให้แอนดีต้องนอนพักรักษาตัวอยู่แต่บนเตียงนอนเป็นเวลากว่า 10 สัปดาห์และทานอะไรไม่ได้เลยนอกจากข้าวเหลวๆและช็อกโกแลตทำให้ร่างกายของเขาผ่ายผอมมาตั้งแต่เด็ก ตลอดช่วงเวลาที่นอนป่วยอยู่แต่บนเตียงนี้ แอนดีต้องฆ่าเวลาด้วยการอ่านหนังสือ ในช่วงนี้เองที่แอนดีเริ่มอ่านการ์ตูนซึ่งมากขึ้นๆเรื่อยๆจนกลายเป็นการสะสมซึ่งเขาก็เริ่มชอบมาตั้งแต่นั้น ภายหลังจากหายป่วย เมื่อกลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนในปี 1937 ครูของแอนดีก็ได้แนะนำให้เขาบำบัดสุขภาพด้วยการทำงานศิลปะ ต่อมาครูของแอนดีก็ได้แนะนำให้เขาสมัครเข้าเรียนพิเศษในวิชาศิลปะที่คาร์เนกีมิวเซียม (Carnegie Museum) ในวันหยุดสุดสัปดาห์ แอนดีเรียนในระดับไฮสคูลที่เชนลี ไฮ (Schenley High) ในพิตส์เบิร์ก และเมื่ออายุได้ 14 ปี พ่อของเขาก็เสียชีวิตลงในปี 1942 พ่อของแอนดีป่วยด้วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเนื่องจากการดื่มเหล้าจัดซึ่งป่วยติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ก่อนที่จะเสียชีวิตพ่อของแอนดีทำงานหนักและสุขภาพไม่ค่อยดี อันเป็นผลสืบเนื่องมาถึงลูกๆเป็นกรรมพันธุ์ด้วย โดยเฉพาะกับแอนดีที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงมาตั้งแต่เด็ก
เมื่อแอนดีอายุได้ 6 ขวบ ในปี 1936 นั้น แอนดี ก็ป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่ไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการทางระบบประสาทที่คนไทยเรียกว่า "สันนิบาตลูกนก" ซึ่งมีอาการทำให้ร่างกายบิดเบี้ยวผิดรูปร่างและผิวหนังซีดเผือดเนื่องจากความผิดปรกติของการผลิตเลือด ทำให้แอนดีต้องนอนพักรักษาตัวอยู่แต่บนเตียงนอนเป็นเวลากว่า 10 สัปดาห์และทานอะไรไม่ได้เลยนอกจากข้าวเหลวๆและช็อกโกแลตทำให้ร่างกายของเขาผ่ายผอมมาตั้งแต่เด็ก ตลอดช่วงเวลาที่นอนป่วยอยู่แต่บนเตียงนี้ แอนดีต้องฆ่าเวลาด้วยการอ่านหนังสือ ในช่วงนี้เองที่แอนดีเริ่มอ่านการ์ตูนซึ่งมากขึ้นๆเรื่อยๆจนกลายเป็นการสะสมซึ่งเขาก็เริ่มชอบมาตั้งแต่นั้น ภายหลังจากหายป่วย เมื่อกลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนในปี 1937 ครูของแอนดีก็ได้แนะนำให้เขาบำบัดสุขภาพด้วยการทำงานศิลปะ ต่อมาครูของแอนดีก็ได้แนะนำให้เขาสมัครเข้าเรียนพิเศษในวิชาศิลปะที่คาร์เนกีมิวเซียม (Carnegie Museum) ในวันหยุดสุดสัปดาห์ แอนดีเรียนในระดับไฮสคูลที่เชนลี ไฮ (Schenley High) ในพิตส์เบิร์ก และเมื่ออายุได้ 14 ปี พ่อของเขาก็เสียชีวิตลงในปี 1942 พ่อของแอนดีป่วยด้วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเนื่องจากการดื่มเหล้าจัดซึ่งป่วยติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ก่อนที่จะเสียชีวิตพ่อของแอนดีทำงานหนักและสุขภาพไม่ค่อยดี อันเป็นผลสืบเนื่องมาถึงลูกๆเป็นกรรมพันธุ์ด้วย โดยเฉพาะกับแอนดีที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงมาตั้งแต่เด็ก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:41, 10 มีนาคม 2562

แอนดี วอร์ฮอล
แอนดี วอร์ฮอลและอาร์ชี่ โดย เจค มิทเชล ปี 1973
เกิดแอนดรูว์ วาร์โฮลา จูเนียร์
6 สิงหาคม ค.ศ. 1928(1928-08-06).
พิตส์เบิร์ก, เพนซิลเวเนีย, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิตกุมภาพันธ์ 22, 1987(1987-02-22) (58 ปี)
เมืองนิวยอร์ก, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน.
การศึกษาสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี (มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน)
มีชื่อเสียงจากภาพพิมพ์, จิตรกรรม, ภาพยนตร์, ภาพถ่าย
ขบวนการป็อปอาร์ต.

แอนดี วอร์ฮอล (อังกฤษ: Andy Warhol) เป็นศิลปินชาวอเมริกัน เขาเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มศิลปะแนวป็อปอาร์ต (pop art) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจนได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานแนวนี้ งานของเขาสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในเรื่อง คนดัง วงการบันเทิง และการโฆษณาซึ่งกำลังเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาในช่วงยุค 60 หลังจากการประสบความสำเร็จในงานวาดภาพประกอบ แอนดีก็กลายเป็นบุคคลมีชื่อเสียงตามที่เขาหวังเอาไว้ งานของแอนดีมีหลายประเภทตั้งแต่งานมีเดียไปจนถึง ภาพเขียน ภาพจิตรกรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ภาพพิมพ์สกรีน ประติมากรรม ภาพยนตร์ และดนตรี นอกจากนี้เขายังเป็นศิลปินรุ่นแรกๆที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานศิลปะด้วย

นอกจากงานเหล่านี้แล้วแอนดียังเป็นผู้ก่อตั้งนิตยสารและเขียนหนังสืออีกหลายเล่ม อาทิ เช่น The Philosophy of Andy Warhol และ Popism: The Warhol Sixties แม้ในช่วงระยะหลังของชีวิตแอนดีจะไม่ค่อยทำงานศิลปะออกมามากเท่าไหร่ แต่เขาก็ยังคงมีงานในด้านอื่นๆ ออกมาให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น งานโฆษณา หรือ งานแสดงที่เขาได้รับเชิญจากภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง เรือรักเรือสำราญ (Love Boat) และนั้นยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความสำเร็จของเขา หลังจากการแสดงงานครั้งสุดท้ายในยุโรป เมื่อกลับมานิวยอร์กได้ระยะหนึ่ง แอนดีก็เสียชีวิตลงในปี 1987

ชีวิตในพิตส์เบิร์ก (1928-1949)

“บ้านของครอบครัววาร์โฮลาในพิตส์เบิร์ก”

แอนดี วอร์ฮอล หรือ แอนดรูว์ วาร์โฮลา จูเนียร์ (Andrew Varchola, Jr.) เกิดในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1928 ในเมืองพิตส์เบิร์ก (Pittsburgh) รัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ประเทศสหรัฐอเมริกา[1] เขามีเชื้อสายชาวสโลวัก หรือ สโวเกีย มีบิดาคือ นายอันเดรจ์ วาร์โฮลา (Ondrej Varchola) เป็นชาวสโลวักที่เกิดในรูธเนีย (Ruthenia) เมืองเล็กๆตรงแถบเชิงเขาคาร์ปาเธียน (Carpathian) ตรงชายแดนรอยต่อระหว่างสโลวักและยูเครน พ่อของแอนดีอพยพเข้ามาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1912 เนื่องจากความขัดสน เขามีความฝันเช่นเดียวกับชาวยุโรปคนอื่นๆที่ต้องการอพยพเข้าสู่แผ่นดินแดนแห่งโลกใหม่ (New World) หรือ สหรัฐอเมริกา ก็เพื่อแสวงหาโชคลาภและโอกาส ส่วนมารดาคือ จูเลีย (Júlia) เธออพยพติดตามเข้ามาหลังจากที่อันเดรจ์เดินทางมาแล้วจากนั้นอีก 9 ปี ทั้งสองแต่งงานกันก่อนที่จะเดินทางอพยพกันมาที่สหรัฐอเมริกา พวกเขามีลูกชายด้วยกัน 3 คน แอนดีเป็นลูกคนสุดท้อง เขามีพี่ชายชื่อว่า พอล (Paul) และจอห์น (John)[2][3][4] พ่อของแอนดีทำงานหลายอย่างตั้งแต่ช่างก่อสร้าง คนงานเหมืองถ่านหิน คนงานโรงงานผลิตรถยนต์ แม้กระทั่งเป็นคนงานในโรงถลุงเหล็ก เขาตระเวนย้ายงานไปหลายเมืองตามแต่ที่จะหางานได้ เพื่อให้ได้รายได้เพิ่มพูนมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากนัก ส่วนแม่ของเขานั้นมีฝีมือทางด้านประดิษฐ์งานหัตถศิลป์ เป็นช่างประดิษฐ์งานฝีมือทำของชนพื้นเมืองท้องถิ่นทางสโลวักขายเป็นรายได้เสริมอีกทาง แม่ของเขาจึงรับหน้าที่ดูแลลูกอยู่เพียงลำพังเสมอๆ จนดูคล้ายกับว่าครอบครัววาร์โฮลานั้นมีกันเพียง 4 คนแม่ลูกเท่านั้น

เมื่อแอนดีอายุได้ 6 ขวบ ในปี 1936 นั้น แอนดี ก็ป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่ไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการทางระบบประสาทที่คนไทยเรียกว่า "สันนิบาตลูกนก" ซึ่งมีอาการทำให้ร่างกายบิดเบี้ยวผิดรูปร่างและผิวหนังซีดเผือดเนื่องจากความผิดปรกติของการผลิตเลือด ทำให้แอนดีต้องนอนพักรักษาตัวอยู่แต่บนเตียงนอนเป็นเวลากว่า 10 สัปดาห์และทานอะไรไม่ได้เลยนอกจากข้าวเหลวๆและช็อกโกแลตทำให้ร่างกายของเขาผ่ายผอมมาตั้งแต่เด็ก ตลอดช่วงเวลาที่นอนป่วยอยู่แต่บนเตียงนี้ แอนดีต้องฆ่าเวลาด้วยการอ่านหนังสือ ในช่วงนี้เองที่แอนดีเริ่มอ่านการ์ตูนซึ่งมากขึ้นๆเรื่อยๆจนกลายเป็นการสะสมซึ่งเขาก็เริ่มชอบมาตั้งแต่นั้น ภายหลังจากหายป่วย เมื่อกลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนในปี 1937 ครูของแอนดีก็ได้แนะนำให้เขาบำบัดสุขภาพด้วยการทำงานศิลปะ ต่อมาครูของแอนดีก็ได้แนะนำให้เขาสมัครเข้าเรียนพิเศษในวิชาศิลปะที่คาร์เนกีมิวเซียม (Carnegie Museum) ในวันหยุดสุดสัปดาห์ แอนดีเรียนในระดับไฮสคูลที่เชนลี ไฮ (Schenley High) ในพิตส์เบิร์ก และเมื่ออายุได้ 14 ปี พ่อของเขาก็เสียชีวิตลงในปี 1942 พ่อของแอนดีป่วยด้วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเนื่องจากการดื่มเหล้าจัดซึ่งป่วยติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ก่อนที่จะเสียชีวิตพ่อของแอนดีทำงานหนักและสุขภาพไม่ค่อยดี อันเป็นผลสืบเนื่องมาถึงลูกๆเป็นกรรมพันธุ์ด้วย โดยเฉพาะกับแอนดีที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงมาตั้งแต่เด็ก

ในช่วงที่แอนดีศึกษาอยู่ไฮสคูลนั้น เขาก็คอยช่วยครอบครัวด้วยการทำงานพิเศษ แอนดีเคยรับจ้างทำงานให้กับร้านขายของและยังช่วยจัดตกแต่งการวางสินค้าและหน้าร้านซึ่งบางทีเขาก็ช่วยแม่นำงานประดิษฐ์ออกไปขายที่ร้านด้วยเช่นกัน และในปี 1945 นั้น แอนดีก็จบการศึกษาในระดับไฮสคูล แอนดีเข้าเรียนต่อที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี (Carnegie Institute of Technology) ในพิตส์เบิร์กซึ่งในปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ไปแล้ว แอนดีเลือกเรียนสาขาวิชาจิตรกรรมและการออกแบบที่สถาบันแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถาบันเดียวกับศิลปินที่มีชื่อของสหรัฐอเมริกาอีกหลายคน เช่น บัลคอมบ์ กรีน (Balcomb Greene), โรเบิร์ต เลปเปอร์ (Rorbert Lepper), ซามูเอล โรเซนเบิร์ก(Samule Rosenberg) และโฮเวิร์ด วอร์เนอร์ (Howard Worner)

ในช่วงระหว่างการศึกษานี้อีกเช่นกันที่แอนดีก็ยังคงช่วยหารายได้เข้าครอบครัว ด้วยการออกไปทำงานที่ร้านขายสินค้าชำของ โจเซฟ ฮอร์น(Joseph Horne) ในเมืองและช่วงนี้เองที่แอนดีเริ่มมีฝีมือในการวาดภาพบ้างแล้ว เขาได้ลองออกแบบการ์ดอวยพรออกวางขายที่ร้านและยังได้วาดภาพแบบพอร์เทรต (Portrait) หรือภาพเหมือนบุคคลต่างๆ โดยเริ่มต้นจากบุคคลใกล้ตัวก่อนโดยเฉพาะเพื่อนสนิทของเขา โดยเขามักจะวาดภาพของเพื่อนมอบให้ไปติดที่บ้านเสมอๆ และในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาในมหาวิทยาลัย เขาก็ได้รับหน้าที่ให้เป็นบรรณาธิการฝ่ายภาพของนิตยสารประจำมหาวิทยาลัยชื่อ “คาโร (Caro)” ซึ่งนับเป็นการทำงานอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเป็นครั้งแรกของเขานั้นเอง

มุ่งสู่มหานครนิวยอร์ก

1949-1957

ในปี 1949 หลังจบการศึกษาที่คาร์เนกีเทคโนโลยี แอนดีและฟิลลิป เพิร์ลสไตน์ (Phillip Pearlstein) เพื่อนสนิทของเขาก็ชักชวนกันออกไปหาประสบการณ์ในนิวยอร์ก ทั้งสองเช่าอพาร์ตเมนต์เล็กตั้งอยู่ที่เซนต์ มาร์ค (Saint Mark) ในเขตแมนฮัตตัน (Manhattan) โดยแอนดีได้เริ่มต้นหางานในนิวยอร์กด้วยการวาดภาพประกอบ (Illustration) ส่งให้กับนิตยสารต่างๆในนิวยอร์ก เขาต้องเทียวเข้าเทียวออกไปทั่วเมืองกับปึกตัวอย่างผลงานปึกใหญ่ของเขา ซึ่งสุดท้ายก็มักจะพบคำตอบว่าให้รอติดต่อกลับเสมอๆ งานชิ้นแรกของแอนดีเป็นงานวาดภาพประกอบให้กับนิตยสารแกลเมอร์ (Glamour) และหลังจากนั้นเขาก็เป็นนักวาดภาพประจำให้กับนิตยสารตั้งแต่นั้น และในภายหลังแอนดีก็ยังมีโอกาสได้งานวาดภาพให้กับนิตยสารเล่มอื่นๆอีกด้วย เช่น โว็ก (Vogue), เซเวนทีน (Seventeen) และ ฮาร์เปอร์ส บาซาร์ (Harper’s Bazaar) และในระหว่างนี้เองที่แอนดีก็ได้เริ่มเปลี่ยนจากชื่อเต็มของเขามาเป็น “แอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol)” ลงเป็นลายเซ็นในภาพเขียนต่างๆของเขาแทนชื่อเดิมของเขา

เมื่อผลงานของแอนดีเป็นที่รู้จักกันในวงการนักวาดภาพประกอบอย่างแพร่หลายแล้ว ในที่สุดเขาก็ได้รับรางวัลเหรียญตราจากชมรมผู้กำกับศิลป์อเมริกัน (American Art Directors Club) และการประกาศเกียรติคุณจากสถาบันกราฟิก อาร์ต อเมริกัน (American Institute of Graphic Arts) ในช่วงระหว่างปี 1956 – 57 นอกจากงานวาดภาพประกอบแล้ว แอนดีก็ทำงานในด้านพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Art) แทบทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ทั้ง งานออกแบบการ์ดอวยพร ออกแบบปกหนังสือและปกแผ่นเสียง ออกแบบโฆษณาสินค้าไปจนถึงตกแต่งวินโดว์ (Window) หน้าร้านขายสินค้าให้กับห้าง บอนวิต เทลเลอร์ (Bonwit Teller) งานที่ทำรายได้เป็นชิ้นเป็นอันครั้งแรกของเขาก็คืองานออกแบบทำโฆษณารองเท้าให้กับบริษัท ไอ มิลเลอร์ (I” Miller) ที่สามารถสร้างรายได้มากกว่าครึ่งของรายได้ทั้งหมดให้กับเขา เมื่อรายได้เริ่มดีขึ้นจนแอนดีสามารถหารายได้กว่าปีละ 1 หมื่นดอลลาร์ แอนดี และฟิลลิป เพิร์ลสไตน์ ก็ย้ายไปอยู่ที่ห้องเช่าแห่งใหม่บนถนน เวสต์ 23 (West 23 Street) ในแมนฮัตตัน

“ที่พักและสตูดิโอของแอนดีที่ถนนเลกซิงตัน”

และในปี 1952 นั้นเอง แอนดีก็ได้จัดงานแสดงภาพเขียนของเขาขึ้นเป็นครั้งแรกที่ ฮิวโก้ แกลลอรี่ (Hugo Gallery) บนถนน 55 (Fifty-fifth Street) ในนิวยอร์ก การแสดงภาพครั้งนี้ แอนดีใช้ชื่อว่า “ภาพวาด 15 ภาพจากงานเขียนของทรูแมน คาโปต (Fifteen Drawings Based on the Writings of Truman Capote)” เป็นงานภาพประกอบเรื่องจากหนังสือของทรูแมน คาโปต (Truman Capote) นักเขียนนิยายมีชื่อชาวอเมริกัน การจัดแสดงภาพเขียนเดี่ยวของแอนดีครั้งนี้เป็นเหมือนกับเครื่องหมายยืนยันถึงความเป็นศิลปินมืออาชีพที่สามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างสมบูรณ์เต็มตัวแล้วนั่นเอง

ในปี 1956 แอนดีได้เข้าร่วมกับศิลปินในกลุ่มพาณิชย์ศิลป์ซึ่งร่วมจัดแสดงภาพที่ ลอฟต์ แกลลอรี่ (Loft Gallery) และยังได้รับงานเป็นผู้จัดการที่ห้องภาพแห่งนี้ อีกด้วย ในช่วงระหว่างนั้นแอนดีก็กลายเป็นศิลปินพาณิชย์ศิลป์ที่ประสบความสำเร็จอย่างที่สุดและมีงานชุกมากคนหนึ่งในนิวยอร์กขณะนั้น นอกจากงานทั่วไปแล้ว แอนดีก็ยังรับงานออกแบบฉากให้กับละครเวทีในกลุ่มบรอดเวย์ (Broadway) อีกหลายแห่ง และในช่วงนั้นเขาก็ได้ย้ายจากที่พักเดิมอีกไปอยู่ที่พักและสตูดิโอแห่งใหม่ของเขาที่ถนนเลกซิงตัน (Lexington Avenue) ซึ่งเป็นย่านที่โออ่ากว่าที่เดิม และที่นี้แอนดีได้ก่อตั้งบริษัทที่ประกอบการทางด้านศิลปะขึ้น ในชื่อ “แอนดี วอร์ฮอล เอนเตอร์ไพรส์ อิงค์ (Andy Warhol Enterprises Inc.)” ซึ่งต่อมาเขาก็ได้ย้ายไปที่สถานีดับเพลิงเก่า ถนนอีสต์ 87 (East 87 Street) ก่อนจะย้ายไปที่เลขที่ 231 ถนนอีสต์ 47 (231 East 47 Street) ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “เดอะ แฟคตอรี่ (The Factory)” อันเป็นบริษัทส่วนตัวอันโด่งดังของเขาสำหรับดำเนินการค้าขายทางด้านงานศิลปกรรมต่างๆและผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งงานทางด้านการแสดง คารา และภาพยนตร์ ภายใต้การควบคุมของแอนดีที่เติบโตมาจนกระทั่งเขาเสียชีวิต โดยมีพนักงานในบริษัททั้งสิ้นเกือบ 20 คน นอกจากนี้แอนดียังได้พาแม่ของเขาย้ายเข้ามาอยู่กับเขาในนิวยอร์กด้วย


1960-1965

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 50 แอนดีก็ได้รู้จักกับศิลปินในกลุ่มป็อปอาร์ต เช่น จัสเปอร์ จอห์นส์ (Jasper Johns) และ รอย ลิคเตนสไตน์ (Roy Richtenstein) หลังจากนั้นแอนดีเริ่มได้แนวคิดที่จะทำงานศิลปะของเขาออกมาในแนวป็อปอาร์ตบ้าง และในปี 1960 งานชิ้นแรกของแอนดีในแบบป็อปอาร์ตก็ออกมาเป็นงานจิตรกรรมภาพการ์ตูนยอดนิยมในสมัยนั้น อย่าง “ป็อปอาย (Popeye), ซูเปอร์แมน (Superman) และ ดิค เทรซี่ (Dick Tracy)” เมื่อแอนดีเริ่มงานแบบป็อปอาร์ตแล้วนั้น เขาก็เริ้มเข้าสังคมกับกลุ่มศิลปินป็อปอาร์ตที่มาร่วมประชุมจัดวางแนวทางๆศิลปะของกลุ่มกันอยู่หลายครั้งในนิวยอร์ก นอกจากนี้แอนดีก็ได้เริ่มถูกเชิญให้ไปเป็นอาจารย์ในสอนวิชาเลกเชอร์ตามมหาวิทยาลัยและสถาบันศิลปะต่างๆอยู่เรื่อยๆ

หลังจากที่แอนดีเปิดตัวในฐานะศิลปินป็อปอาร์ตอย่างเต็มตัวแล้ว ชื่อเสียงของเขาก็เริ่มโด่งดังขึ้นเป็นอย่างมากในฐานะศิลปินป็อปอาร์ตที่มีเอกลักษณ์งานเป็นของตัวเอง และเมื่อเขาได้เริ่มทำงานในแบบซีรีส์ (Series) คือภาพชุดจำนวนมากเรียงต่อๆกันนั้น ความเป็นคนทำงานหัวสมัยใหม่ของเขาก็ยิ่งชัดเจนขึ้นจนโดดเด่นกว่าศิลปินคนอื่นในกลุ่ม ภาพชุดที่สร้างชุดเสียงให้กับแอนดีเป็นอย่างมากชุดแรกคือภาพกระป๋องซุปยี่ห้อ “แคมป์เบลส์ (Campbell’s)” จำนวน 32 ภาพ และตั้งแต่นั้นแอนดีก็ตัดสินใจที่จะทำงานในแนวป็อปอาร์ตและเลิกทำงานแบบพาณิชย์ศิลป์

แอนดีนั้นมักจะเลือกเนื้อหาในการทำงานจากสิ่งที่เป็นที่นิยมและเห็นกันดาษดื่น ซึ่งนั้นก็เป็นทางลัดทางหนึ่งที่ทำให้งานศิลปะของเขาเป็นที่ติดตาต้องใจผู้คนได้อย่างรวดเร็ว งานจัดแสดงภาพเขียนแบบป็อปอาร์ตครั้งแรกของเขา จัดที่ร้านแกลลอรี่ของ เออร์วิง บลัม (Irving Blum) ที่เวสต์ ฮอลลีวูด (West Hollywood) ในแอลเอ หลังจากภาพกระป๋องซุปแคมป์เบลส์แล้ว แอนดีก็เริ่มต้นงานชุด ป็อป สตาร์ (Pop Star) ของเขา ซึ่งใช้เทคนิคใหม่ที่เขาได้มาจากงานกราฟิกของเขาคือการใช้ “ซิลค์ สกรีน (Silck Screen)” เทคนิคนี้ในช่วงแรกๆแอนดีใช้วิธีแบบเก่าๆก่อนที่เขาจะพัฒนาเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการพิมพ์ซิลค์ สกรีนที่มีความละเอียดมากขึ้นในช่วงหลังที่เหมือนกับเทคนิคการล้างอัดภาพในปัจจุบัน ภาพแบบซิลค์ สกรีนนี้แอนดีนิยมเอามาใช้กับงานในยุคหลังๆของเขาเป็นอย่างมาก เรียกว่าแทบจะทุกชิ้น อาทิ เช่น เอลวิส เพรสลี (Elvis Presley) และโดยเฉพาะภาพชุด มาริลีน มอนโร (Marilyn Monroe) เป็นชุดภาพที่สร้างชื่อเสียงอย่างมากให้กับเขาอีกชุดหนึ่ง

ในปี 1963 แอนดีก็เริ่มงานสายใหม่ โดยมุ่งความสนใจไปสู่ธุรกิจภาพยนตร์ และเมื่อเขาได้ เจอราร์ด มาลังกา (Gerard Malanga) ซึ่งอยู่ในสายงานภาพยนตร์เข้ามาร่วมทีมในแฟคตอรี่ แอนดีก็ได้สร้างภาพยนตร์ขึ้นในปีเดียวกันนั้นเป็นซีรีส์ 3 เรื่อง คือ “ดื่ม (Drink), กิน (Eat) และนอน (Sleep)” รูปแบบการทำภาพยนตร์ของแอนดีออกไปในแนวศิลปะที่ให้ความรู้สึกมากกว่าเรื่องราว นับเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างภาพยนตร์แนวศิลป์ของเขาอีกหลายเรื่อง และแนวการสร้างภาพยนตร์ของแอนดีก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับนักสร้างหนังอิสระรุ่นหลังๆมากมายในการผลิตภาพยนตร์แนวศิลป์และแนวอันเดอร์กราวนด์ (Underground) ในภายหลังผลงานของแอนดียังได้รับการชมเชยจากนิตยสารแนวบันเทิงภาพยนตร์ “ฟิล์ม คัลเจอร์ (Film Culture)” และได้รับรางวัลภาพยนตร์อิสระหรือ “อินดี้ (Indies)” ยอดเยี่ยมจากเรื่อง “อาณาจักร (Empire)” ในปี 1964 ภาพยนตร์ที่แอนดีสร้างนั้นยังมีต่อเนื่องออกมากอีกมากมาย แต่เรื่องที่ประสบความสำเร็จสูงสุด และทำให้แอนดีขึ้นทำเนียบคนทำหนังระดับสูงได้คือเรื่อง “เชลซี เกิร์ล (Chelsea Girls)”

ในปี 1964 ชื่อเสียงของแอนดีก็โด่งดังไปถึงยุโรป เมื่อเขาส่งงานส่วนหนึ่งของเขาไปจัดแสดงที่แกลลอรี อีเลียนา ซันนาเบนด์ (Ileana Sonnabend) สาขาที่ตั้งในปารีส ภาพของเขาเป็นที่ตื่นตาต่อชาวปารีสและชาวยุโรปที่ได้เข้าชมเป็นอย่างมาก หลังจากโชว์ที่ปารีสแล้ว แอนดีก็ยังนำผลงานไปจัดแสดงอีกในหลายประเทศ อาทิ เช่น มิลาน (Milan), ตูริน (Turin), สต็อกโฮล์ม (Stockholm), บัวโนส ไอเรส (Buenos Aires), โตรอนโต (Toronto) และเอสเซน (Essen)

1966-1969

ความสนใจในด้านศิลปะของแอนดีนั้นมีอย่างหลากหลาย เขาให้ความสนใจในศิลปะแทบจะทุกแขนง นอกจากงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์และพาณิชย์ศิลป์ กับงานด้านภาพยนตร์แล้ว แอนดียังให้ความสนใจต่อศิลปะทางด้านดนตรีอีกด้วย แอนดีเข้ามามีบทบาทในวงการดนตรีอย่างแท้จริงในราวปี 1965 หลังจากที่แอนดีเปิดแฟคตอรี่ที่แห่งนี้ก็กลายเป็นสถานที่ที่คนดังแวะเวียนไปเยี่ยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก ทั้งดาราและนักร้องยอมนิยมตลอดจนนักการเมืองและบุคคลชั้นสูงในสังคมต่างแวะเวียนไปซื้อข้าวของที่ออกแบบโดยแอนดีและทีมงานของเขาที่แฟคตอรี่ ด้วยเหตุนี้เองที่ให้แอนดีเริ่มความคิดที่จัดงานปาร์ตี้ขึ้นที่แฟคตอรี่บ้าง เขาเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงมากมายทั้งในวงการบันเทิง และในวงสังคมนิวยอร์กมาร่วมงานอยู่เสมอ ทำให้คอลัมน์ซุบซิบของนิตยสารและหนังสือพิมพ์ต่างจดจ้องว่าจะมีคนดังคนไหนบ้างที่จะไปปาร์ตี้ และเพราะเหตุนี้เอง แฟคตอรี่จึงกลายเป็นศูนย์รวมของแมวมองต่างๆ รวมทั้งหนุ่มสาวที่อยากเป็นดารา

ป้ายโฆษณางานแสดงสื่อผสมร่วมกันของแอนดี, เดอะเวลเว็ตอันเดอร์กราวนด์และนิโค

และจากงานปาร์ตี้นี้เองที่ทำให้แอนดีได้รู้จักกับ ไบรอัน โจนส์ (Brian Jones) สมาชิกวง เดอะ โรลลิ่ง สโตนส์ (The Rolling Stone) และไบรอัน โจนส์ นั้นเองที่เป็นคนแนะนำแอนดีให้รู้จักกับดาราและนางแบบสาวเชื้อสายเยอรมัน “นิโค (Nico)” ต่อมาแอนดีก็มีความคิดที่จะปั้นนิโคให้โด่งดังทางด้านวงการเพลงในนิวยอร์ก ในระหว่างนั้นเขาก็มีโอกาสได้ชมการแสดงของวง เดอะ เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ (The Velvet Underground) ที่คาเฟ่ บิซารร์ (Bizarre Café) ในกรีนิช วิลเลจ (Greenwich Village) ย่านคนดนตรีในนิวยอร์ก แล้วประทับใจพวกเขาอย่างมากจึงได้เข้าไปพูดคุยและแนะนำเรื่องโทนดนตรี สุดท้ายแอนดีก็เสนอตัวเป็นผู้สนับสนุนวง ในขณะนั้น เดอะ เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ ยังคงเล่นดนตรีในแนว “บีท (Beat)” อยู่ แต่ดนตรีกลับแปลกแตกต่างไปจากบีทในแบบเดิมๆจึงมักทำให้มีปัญหากับคาเฟ่อยู่เสมอ จนถูกเลิกจ้างในเวลาต่อมา แอนดีก็ยื่นมือเข้ามาช่วยพวกเขาให้ได้เล่นในคลับที่แอนดีมีหุ้นส่วนอยู่ด้วย ในเวลาต่อจากนั้นพวกเขาก็มีโอกาสได้เล่นดนตรีประกอบและร่วมแสดงในภาพยนตร์ของแอนดีอีกหลายเรื่อง ต่อมาแอนดีก็ได้แนะนำนิโคให้รู้จักกับ ลู รีด (Lou Reed) หนึ่งในนักดนตรีของวง เดอะ เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ และฝากฝังให้ร่วมวงด้วย หลังจากนั้นเองที่วง เดอะ เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ จะมีชื่อต่อท้ายชื่อวงว่า “และ นิโค” เพิ่มเข้ามา

เมื่อแอนดีได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับธุรกิจการแสดงและดนตรีแล้ว เขาก็เริ่มไม่มีเวลาให้กับการวาดภาพของเขา ในที่สุดเขาก็ออกมาประกาศเลิกวาดภาพในปี 1965 ที่ทำเอาเซอร์ไพรส์กันไปทั้งวงการศิลปะ แต่เหตุการณ์ชี้เป็นการเลิกวาดชั่วคราวเท่านั้น ต่อมาวง เดอะ เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ และ นิโค ก็ได้ออกทัวร์ร่วมกับแอนดีเมื่อเขาเปิดรายการโชว์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “มัลติมีเดีย (Multimedia)” ขึ้นจากความคิดของเขาที่ต้องการทำงานศิลปะรูปแบบ 3 มิติขึ้นโดยอาศัยสื่อผสมที่มีทั้งดนตรีและการแสดงประกอบฉากภาพศิลป์ของเขา ต่อมาวงการดนตรีในช่วงกลางทศวรรษที่ 60 ก็ได้เปลี่ยนไปเช่นเดียวกับศิลปะ ภาพยนตร์ และดนตรี ในช่วงนั้นกระแสดนตรีที่เรียกว่า “ไซเคดีลิก (Schychederic)” ของวง เดอะ บีเทิลส์ (The Beatles) เริ่มเป็นที่นิยม วง เดอะ เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ ก็ตอบสนองต่อกระแสนี้เช่นกัน การตื่นตัวต่อกระแสนี้ทำให้แนวเพลงของพวกเขาเปลี่ยนไป ประกอบกับการนำเทคนิคทางศิลปะมาใช้กับส่วนประกอบบนเวทีการแสดงดนตรี ทำให้พวกเขาโด่งดังขึ้นอย่างมาก ชื่อของแอนดี วอร์ฮอล จึงยิ่งถูกกล่าวถึงจากคนในวงการดนตรีกันอย่างแพร่หลาย และตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 60 แอนดีก็กลายเป็นเจ้าพ่อแห่งวงการศิลปะยุคใหม่ของวงการดนตรีไปในที่สุด แม้แต่ เดอะ บีทเทิลส์ทั้ง 4 ก็ยังยอมรับในอัจฉริยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ของเขา

แอนดีกลับมาทำงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์ของเขาอีกในช่วงปี 1966 – 67 งานศิลปะของแอนดีในช่วงหลังนี้ค่อนข้างออกไปในแนวรุนแรงและแสดงออกถึงสันดานดิบของมนุษย์ ตั้งแต่โลกได้ก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่นั้น แนวความคิดเรื่อง ความรุนแรง ความวิบัติ และมุมมืดของเซ็กซ์ (Sex) ก็ถูกตีแผ่ออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด ไม่สนต่อจารีตและจริยธรรมอีกต่อไป ในช่วงนี้แอนดีทำภาพ “รถชน (Car Cash)” และ “เกาอี้ไฟฟ้า (Electric Chair)” นอกจากนี้เขายังนำเสนอภาพของ “เซ็กซ์” ซึ่งเป็นภาพร่วมเพศระหว่างชายและหญิงหรือชายและชายด้วยกันเอง สิ่งเหล่านี้นี้เองที่ทำให้เขาเริ่มถูกต่อต้านจากบุคคลในหลานวงการทั้งจากบาทหลวง กลุ่มผู้เคร่งครัดศาสนา และกลุ่มสตรีแม่บ้าน ทำให้มีบ่อยครั้งที่งานของเขาถูกแอบทำลายหลายต่อหลายครั้ง

นอกจากงานศิลปะของแอนดีที่ถูกต่อต้านแล้ว พฤติกรรมของเขาเองนั้นก็ถูกต่อต้านอีกด้วย แอนดีนั้นไม่ได้ออกมาปฏิเสธเมื่อมีคนออกมาตั้งประเด็นว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ หรือ “โฮโมเซ๊กชวล (Homosexual)” หรือเป็นแม้กระทั่ง “ไบเซ๊กชวล (Bisexual)” และเขาก็มักจะมีข่าวคาวเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์กับดาราในสังกัดของเขาเองหลายคนทั้งหนุ่มและสาวอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อภาพที่แอนดีแต่งตัวในชุดผู้หญิงและใส่วิกผมทอง พร้อมทั้งแต่งหน้าซะหยดย้อยอย่างกับ มาลิลีน มอนโร นั้น ยิ่งทำให้คนมากมายไร้ข้อกังขาในความเป็นชายหนุ่มของเขาอีกเลย

กระทั่งในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1968 แอนดีก็ถกยิงเข้าจนได้ โดยหนึ่งในดาราสาวในสังกัดของเขา “วาเลอรี โซลานาส (Valerie Solanas)” เธอเป็นดารานำในเรื่อง “ไอ, อะ แมน (I, a man)” ภายหลังจากฟื้นตัวแอนดีก็ได้ให้การว่า วาเลอรีเข้ามาทวงเงินค่าแสดงภาพยนตร์ แต่แอนดีบอกให้เธอถ่ายฉากอื่นๆให้เสร็จก่อนจึงจะให้ ทำให้เกิดปากเสียงกันและนำไปสู่เหตุการณ์ดังกล่าว แม้จะไม่มีใครทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงที่วาเลอรียิงแอนดี แต่ก็มีผู้ออกมาพูดถึงเหตุการณ์นี้ในหลายทฤษฎี แม้กระทั่งนำไปผูกโยงเกี่ยวกับคดีก่อการร้าย การเมือง และการลอบสังหาร แต่ถึงอย่างไรก็ตามทฤษฎีเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการยืนยัน ทำให้เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นความลับต่อไป ส่วนทางวาเลอรีนั้นติดคุกอยู่ 3 เธอก็พ้นข้อหาออกมาเนื่องจากแอนดีไม่เอาความต่อเพราะเขาก็ไม่ตาย ในที่สุดเรื่องราวก็เงียบหายเอง แต่จากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้มีกระสุนนัดหนึ่งยังฝังอยู่ในสีข้างของแอนดีอยู่ไปตลอดจนกระทั่งเสียชีวิตนั่นเอง

1970-1979

ในช่วงก่อนปี 1970 นั้นแอนดีก็ได้ออกมาเปิดตัวนิตยสารบันเทิงของเขาขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อ “อินเทอร์วิว (Interview)” เป็นนิตยสารเกี่ยวกับวงการบันเทิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการภาพยนตร์ ซึ่งต่อมานิตยสารฉบับนี้ได้กลายเป็นนิตยสารที่เป็นที่นิยมและทรงอิทธิพลอย่างมากฉบับหนึ่งในอเมริกา เนื่องจากมีเนื้อหาสาระที่ไม่เหมือนใคร มีเรื่องราวและทรรศนะในวงการบันเทิงอย่างแตกต่างจากนิตยสารเล่มอื่นๆ อีกทั้งการจัดทำรูปเล่มที่ไม่เหมือนใคร ทำให้มีเอกลักษณ์และโดดแด่นมากในยุคนั้น

ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมาแอนดีมุ่งทำภาพยนตร์ออกมาอย่างมากมายซึ่งนั้นรวมไปถึงภาพยนตร์ออกอากาศทางทีวีด้วย ผู้ที่มีบทบาทในภาพยนตร์ของแอนดีอย่างมากก็คือ เจอราร์ด มาลังกา ผู้ช่วยในการกำกับภาพยนตร์ของเขา และตากล้องคู่ใจอย่าง บิลลี่ เนม (Billy Name) แต่ในปี 1970 นั้นเขาก็ขอถอนตัวออกจากกลุ่มไปอีกคนเนื่องจากไม่พอใจการทำงานกับทีมงานบางคน ต่อจากนั้นมา เจอราร์ด มาลังกา ก็เดินหลีกหนีจากแอนดีไปอีกคน ด้วยความที่แอนดีมีเพื่อนและลูกน้องมากมายรายล้อมอยู่เสมอ ซึ่งในบางครั้งก็สับสนว่าใครเป็นใคร การคอยเอาใจทุกคนรอบข้างให้พอใจได้ตลอดเวลาจึงเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ซึ่งบางคนเมื่อถอนตัวก็มักจะไปให้สัมภาษณ์ถึงความกระอักกระอ่วนใจในการทำงานกับเขา ทำให้แอนดีลำบากใจและเคยคิดที่จะเลิกทำ เดอะ แฟคตอรี่ ไปเลยด้วยซ้ำ แต่ความเป็นแอนดีมีคนรู้จักอย่างกว้างขวางทำให้เขาทำเช่นนั้นไม่ได้ และคนส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะมาขอความช่วยเหลือจากเขาอยู่บ่อยๆจนบางครั้งทำให้เขาแทบจะหัวเสียกับการคอยตามรังควานของบรรดาวงวารของเขา

ในปี 1979 แอนดีก็ได้เปิดงานแสดงภาพเขียนของเขาขึ้นที่เทต แกลลอรี่ (Tate Gallery) ในลอนดอน ภาพชุดกระป๋องซุปแคมป์เบลส์ของเขาที่ทำขึ้นใหม่ในปี 1968 ในรูปแบบซิลค์ สกรีนก็ถูกประมูลไปได้ถึง 60,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการสร้างสถิติใหม่ของเขาในการเป็นศิลปินในยุคนั้นที่สามารถขายภาพได้ในราคาสูงที่สุดในโลกในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และในช่วงที่แอนดีดำเนินชีวิตไปแบบอิสรเสรีชนก็มีคนมากมายวิพากษ์ วิจารณ์กันตามสื่อต่างๆ มีทั้งเสียงดูหมิ่นเหยียดหยามต่อพฤติกรรมของกลุ่มของเขาว่าเป็นพวกไร้ศีลธรรมจรรยานั้นก็มีมากพอๆกับคำยกย่องชื่นชมในตัวเขาว่าเป็นฮีโร่ที่กล้าปลดปล่อยความเป็นปัจเจกชนออกมาทวนกระแสของสังคมที่หน้าไหว้หลังหลอก และในปี 1971 แม่ของเขาก็ขอย้ายกลับไปอยู่ที่พิตส์เบิร์ก ก่อนจะเสียชีวิตลงในปี 1972

และในปีเดียวกันนั้น รัฐบาลของประธานาธิบดี ริชาร์ด เอ็ม นิกสัน (Richard M. Nixon) ก็ได้มีนโยบายในการเปิดสัมพันธภาพกับรัฐบาลของเหมา เจ๋อ ตง (Moa Tse Tung) แหงสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้กลายเป็นข่าวใหญ่โตของรอบทศวรรษ แอนดีเองก็ร่วมเฉลิมฉลองข่าวใหญ่ครั้งนี้ด้วยการทำงานภาพพิมพ์ชุดใหญ่อีกชุดเป็นรูปของเหมา เจ๋อ ตง เป็นภาพอีกชุดหนึ่งของเขาที่โด่งดังเป็นอย่างมาก นอกจากภาพเหมา เจ๋อ ตงแล้ว เขายังทำภาพขนาดใหญ่ของวลาดิเมีย เลนิน (Valademir Lenin) ขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีภาพ “ค้อนกับเคียว (Hammer and Sickle)” สัญลักษณ์ของโลกคอมมิวนิสต์อีกด้วยเช่นกัน

ในช่วงทศวรรษที่ 70 มีเหตุการณ์ทางการเมืองหลายอย่างเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาและโลก ในการเลือกตั้งประนาธาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาในปี 1972 นั้น แอนดีก็ย้ายมาอยู่ฝ่ายเดโมแครตเนื่องจากไม่พอใจต่อนโยบายการเข้าคุกคามต่ออธิปไตยของเวียดนาม ซึ่งต่อมานำไปสู่การต่อต้านและประท้วงโดยคนรุ่นใหม่มากมาย แอนดีและพวกพ้องนั้นก็อยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ แอนดี เลือกสนับสนุนข้างเดโมแครต โดยให้การสนับสนุนฝ่ายของวุฒิสมาชิกจอร์จ สแตนลี แมคโกเวิร์น (George Stanley McGovern) ซึ่งเป็นผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับ ริชาร์ด เอ็ม นิกสัน ของฝ่ายรีพับบลิกัน โดยแอนดีลงทุนทำงานศิลปะเพื่อช่วยในการรณรงค์หาเสียงให้กับแมคโกเวิร์น โดยทำภาพของนิกสันในเชิงล้อเลียน ซึ่งเขียนข้อความใต้ภาพไว้ว่า “เลือกแมคโกเวิร์น (Vote McGovern)” เพื่อเป็นการประชดประชันนิกสันกับนโยบานการนำประเทศสู่สงคราม และต่อมาภาพนี้ก็ได้ถูกนำมาล้อเลียนต่อโดยคนอื่นๆจนออกมาดูคล้ายกับภาพของซาตาน (Satan) แต่ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นก็ลงเอยด้วยการที่ ริชาร์ด นิกสัน ได้กลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดี แต่ชัยชนะครั้งนี้กลับไม่ถาวร มีข่าวคาวมากมายเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของผลการเลือกตั้งจนภายหลังสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการโกงการเลือกตั้ง กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวทำให้นิกสันต้องลาออกจากตำแหน่งเพื่อรักษาหน้าของตัวเอง ในขณะที่เรื่องนี้ทำให้แอนดีถึงกับปลาบปลื้มยินดีถึงกับจัดงานไล่นิกสันขึ้นที่แฟคตอรี่

ในปี 1974 นั้น แอนดีก็ได้ออกมาสั่งทำ “ไทม์ แคปซูล (Time Capsule)” ถึง 610 ใบ เพื่อเก็บรักษาของใช้ส่วนตัวที่มีค่าสำหรับเขาเอาไว้ ความจริงแล้ว ไทม์ แคปซูล ที่แอนดีสั่งทำนี้เป็นแค่กล่องทำจากการ์ดบอร์ดธรรมดานั่นเอง ใส่สัมภาระตั้งแต่ของใช้ส่วนตัวเรื่อยไปจนถึงเอกสารและจดหมายต่างๆ ภายหลังแอนดีเสียชีวิต ไทม์ แคปซูลก็ถูกนำไปไว้ที่ห้องๆหนึ่งของพิพิธภัณฑ์วอร์ฮอล และนำสิ่งของต่างๆเหล่านั้นออกมาเปิดเผยต่อสาธารณะ มันเต็มไปด้วยข้าวของกระจุกกระจิกต่างๆมากมาย แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ บรรดาจดหมายจากหนุ่มๆทั่วโลกที่แนบติดมากับภาพเปลือยทั้งด้านหน้าด้านหลังในอิริยาบถต่างๆเพื่อเสนอตัวขอเป็นดาราให้กับหนังของเขา

การวางตัวของแอนดีให้อยู่ในสังคมของคนระดับสูงทำให้เขามีโอกาสได้รู้จักกับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในประเทศต่างๆ เช่น พระราชวงศ์ของกษัตริย์เรเนีย (Rainier) แห่งโมนาโค โอยเฉพาะกับราชินีแห่งโมนาโค ซึ่งก็คืออดีตดาราดังของฮอลลีวูด “เกรซ เคลลี่ (Grace Kelly)” นอกจากนี้เขายังสนิทสนมกับราชวงศ์ของพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน “ชาห์ เรซา ปาห์ลาวี (Shah Reza Pahlavi)” และด้วยความสัมพันธ์นี้ ในปี 1975 แอนดีก็ได้ติดต่อให้พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านพาเขาเข้าไปเป็นแขกของประนาธาธิบดีฟอร์ดที่ทำเนียบขาว (White House) ได้สำเร็จ ซึ่งนั้นถือเป็นความสำเร็จจุดสูงสุดทางสังคมของเขา ความยิ่งใหญ่ของแอนดีนั้นถึงขนาดที่คนในโลกดนตรีร็อค แอนด์ โรล (Rock ‘n’ Roll) ต่างก็ให้การยอมรับ เขารู้จักกับศิลปินอีกมากมาย เช่น จอห์น เลนนอน (John Lennon) และ พอล แมคคาร์ตนี (Paul McCartney) เป็นต้น และการที่เขาเปลี่ยนรถใหม่จากเบนซ์ (Benz) มาเป็นโรลส์ – รอยซ์ (Rolls – Royce) ก็เป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมชั้นสูงของเขาที่ผู้มีอาชีพศิลปินน้อยคนนักจะก้าวขึ้นมาสู่จุดนี้ได้

ในปี 1977 เมื่อกระแสดนตรีปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคของดนตรีในแบบดิสโก (Disco) มีคลับดิสโกเกิดขึ้นมากมายและหนึ่งในนั้นคือ สตูดิโอ 54 (Studio 54) ของ สตีฟ รูเบลล์ (Steve Rubell) แอนดีได้เข้ามาช่วยเหลือคลับแห่งนี้ในเรื่องแนวคิดและการตกแต่งจนกลายเป็นดิสโกคลับที่ทันสมัยและนิยมมากที่สุดในนิวยอร์ก กลุ่มของแอนดีมักเป็นแขกประจำของที่นี้อยู่เสมอ แม้แต่ ซาวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali) ก็ยังเป็นแขกวีไอพีของคลับแห่งนี้ด้วยเช่นกัน และในปีเดียวกันแอนดีและเพื่อนๆก็ได้รับเชิญเป็นแขกวีไอพีของงานเลี้ยงที่สถานทูตอิหร่านในนิวยอร์กซึ่งมีกษัตริย์ชาห์และครอบครัวอยู่ด้วย


1980-1987

ในทศวรรษที่ 80 ศิลปะแนวป็อปอาร์ตไม่ใช่ศิลปกรรมใหม่ของวงการศิลปะอีกแล้ว โลกในทศวรรษใหม่กำลังตื่นตัวให้กับงานศิลปะนามธรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า “คอนเซปชวล อาร์ต (Conceptual Art)” แต่ผลงานป็อปอาร์ตในแบบแอนดีนั้นกลับไม่มีทีท่าว่าจะสูญสลายลงความเป็น “ป็อป” ในงานของแอนดีนั้นกำลังกลายเป็น “คลาสสิก ป็อป (Classic Pop)” หรือศิลปะอมตะไปแล้ว ถึงแม้ศิลปินป็อปอาร์ตหลายคนจะทิ้งแนวทางกลับไปงานพาณิชย์ศิลป์บ้างแล้วก็ตาม แต่สำหรับแอนดี เขากลับพัฒนาเทคนิคแบบใหม่ขึ้นเพื่อใช้กับการทำงานศิลปะของเขาเสมอ แอนดีนั้นแทบจะไม่ได้ใช้พู่กันมากนักในการทำงานศิลปะของเขา แต่เขาเลือกที่จะใช้เทคนิคจากภาพถ่ายเข้ามาตกแต่งและใช้เทคนิคการทำภาพพิมพ์ด้วยวิธีซิลค์ สกรีน แม้อาจจะดูง่ายและฉายฉวยและดูห่างจากคำว่าวิจิตรศิลป์ แต่การเลือกที่จะใช้โอกาสจากเทคโนโลยีพี่พัฒนาขึ้นมาใช้เพื่อสร้างสรรค์งานให้ได้ตามอย่างจินตนาการก็สะดวกมากขึ้น ทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาในการสร้างสรรค์งานให้รวดเร็วมากขึ้นด้วย

ในทศวรรษที่ 80 นี้ แอนดีก็ยังทำงานศิลปะออกมาตามแบบอย่างของเขาโดยนำเอาศิลปะยุคเก่า อย่างยุคคลาสสิกและในยุคเรอเนสซองส์เข้ามาใช้เพื่อยกระดับงานศิลปะของเขาไม่หยุดอยู่เพียงเหตุการณ์ หรือสิ่งร่วมสมัยอย่างเดิม ในการทำงานครั้งนี้ แอนดีได้เลือกภาพที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง เดวิด (David) และ มาดอนนา (Madonna) ของไมเคิลแอนเจโล, ภาพวีนัส (Venus) ของบอตติเชลลี (Bottichelli) และภาพอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ของดา วินชี (Da Vinci) มาทำใหม่ในแนวศิลปะของเขาเอง ซึ่งภาพเหล่านี้มีเสน่ห์เฉพาะตัวที่ไม่อาจนำไปเทียบเคียงกับงานมาสเตอร์พีซชิ้นเดิม มันเป็นผลงานศิลปะคลาสสิกในรูปแบบของศิลปะยุคใหม่ที่ใหม่ มีรสชาติและอารมณ์ที่แตกต่าง เรียกการทำงานแนวนี้ว่าเป็นการ “รีโปรดัคชัน (Reproduction)”

ในปี1980 การตายของจอห์น เลนนอน ที่ถูกลอบสังหารโดยมือปืนโรคจิต มาร์ก เดวิด แชปแมน (Mark David Chapman) สร้างความหวาดผวาให้กับแอนดีอยู่ระยะหนึ่ง ทำให้เขาระแวดระวังตัวมากขึ้น และไม่ยอมไปไหนอยู่ช่วงระยะหนึ่ง แอนดีวาดภาพ “ปืน (The Gun)” ขึ้นในปี 1981 เพื่อเป็นการต่อต้านและเตือนใจสังคมให้ระแวดระวังถึงอันตรายของมัน ในช่วงหลังๆมานี้ แอนดีก็ไม่ค่อยตัวเด่นดังอย่างเช่นช่วงชีวิตในทศวรรษที่ 60 และ 70 ของเขาอีกแล้ว อาจด้วยวัยที่ล่วงเลยเข้ามาไกลเกินเลข 5 ของเขาพลังหนุ่มที่อัดแน่นจึงค่อยๆอ่อนแรงลง

ในปี1984 เดอะ แฟคตอรี่ ก็ย้ายที่ทำการไปอาคารแห่งใหม่คือ ตึกเอดิสัน (Edison Building) ถนนอีสต์ 33 (East 33 Street) ในนิวยอร์กซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่กว่าที่เคยใช้มากมาย ทำให้แอนดีสามารถเอาธุรกิจของเขาทั้งหมดมารวมกันไว้ในอาคารนี้ด้วยกันได้ ในขณะนั้นนอกจากแอนดีจะเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่สุดแล้ว ยังเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีอนาคตมากมาย ทั้งนิตยสาร “อินเทอร์วิว” ของเขาที่สร้างยอดขายได้อย่างสวยงามในระดับต้นๆของวงการนิตยสารบันเทิง และในปี 1986 แอนดีก็ประกาศเปิดโปรเจกใหม่ในการทำรายการให้กับเคเบิลทีวีอย่างรายการ “แอนดี วอร์ฮอล 15 นาที (Andy Warhol’s Fifteen Minutes)” ซึ่งมีชื่อมาจากคำพูดของเขาในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง และในปี 1986 อีกเช่นกันที่แอนดีได้รับเชิญไปเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง “เรือรักเรือสำราญ (Love Boat)”

ในช่วงชีวิตหลังๆของแอนดี เนื่องจากวัยที่ร่วงโรยลงทำให้เขาไม่ค่อยปรากฏตัวบ่อยนัก ต่อมาได้มีข่าวลือว่าเขาลงทุนเมคอัพใบหน้าของเขาใหม่ ซึ่งใครๆที่ได้เห็นใบหน้าของแอนดี ในยุคหลังๆตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมาต่างก็เชื่อเช่นนั้น เนื่องจากใบหน้าที่เต่งตึงอย่างผิดปกติของเขานั้นเอง


บั้นปลายชีวิต

“หลุมศพของแอนดี วอร์ฮอล ที่สุสานไบแซนไทน์ เซนต์ จอห์น เดอะ แบ็บติสในพิตส์เบิร์ก”

หลังจากงานแสดงภาพชุดสุดท้ายในชีวิตของเขา “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper)” ที่ไปเปิดแสดงในงานแสดงภาพของเขาที่มิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อกลับมาที่นิวยอร์กเขาก็ล้มป่วยลงและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในนิวยอร์กนั่นเอง แอนดีป่วยด้วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับพ่อของเขา แต่นั่นเป็นการเข้าโรงพยาบาลครั้งสุดท้ายในชีวิตของเขา เมื่อเกิดอาการช็อกระหว่างการผ่าตัดทำให้แอนดีถูกประกาศว่าเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 ในเวลา 6.30 น. นั่นเอง

ในภายหลังนั้นญาติของแอนดีได้พยายามที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโรงพยาบาลเนื่องจากความบกพร่องของคณะแพทย์ทำให้คนไข้เสียชีวิต เนื่องจากแอนดีไม่มีทายาทใดๆ พี่ชายและน้องชายของเขาจึงเป็นผู้รับมรดกซึ่งภายหลังมีการเปิดเผยทรัพย์สินที่แอนดีทิ้งไว้นั้นมีเงินจำนวนมากว่า 500 ล้านดอลลาร์ในธนาคาร ที่ดินอีกมากมาย อาคาร และอพาร์ตเมนต์ต่างๆอีกหลายแห่งในที่ต่างๆรวมทั้งงานศิลปะอีกมากมายที่เขาเก็บสะสมเอาไว้กับผลงานของเขา ซึ่งในเวลาต่อมาทั้งพี่ชายและน้องชายของเขาก็ร่วมกันในชื่อของครอบครัวช่วยกันกับเพื่อนๆของแอนดี ก่อตั้งมูลนิธิแอนดี วอร์ฮอ ล ขึ้น และเปิดพิพิธภัณฑ์ แอนดี วอร์ฮอล ที่ในบ้านเกิดของเขาในพิตส์เบิร์ก ส่วนร่างของเขานั้นได้ถูกนำไปฝังที่สุสานไบแซนไทน์ เซนต์ จอห์น เดอะ แบ็บติส (St. John the Baptist Byzentine Cemetery) ในพิตส์เบิร์ก ร่วมกับพ่อและแม่ของเขา


ตัวอย่างผลงาน

งานศิลปะ

  • Campbell's Soup Cans (1962)
  • Marilyn Diptych (1962)
  • Green Coca-Cola Bottles (1962)
  • Eight Elvises (1963)
  • Thirteen Most Wanted Men (1964)
  • Shot Marilyns (1964)
  • Exploding Plastic Inevitable (1966)
  • Big Electric Chair (1967)
  • Campbell's Soup Cans II (1969)
  • Portrait of Seymour H. Knox (1985)
  • Camouflage Self-Portrait (1986)
  • Cars (1986)

ภาพยนตร์

  • Sleep (1963)
  • Andy Warhol Films Jack Smith Filming Normal Love (1963)
  • Sarah-Soap (1963)
  • Denis Deegan (1963)
  • Kiss (1963)
  • Naomi and Rufus Kiss (1964)
  • Rollerskate/Dance Movie (1963)
  • Jill and Freddy Dancing (1963)
  • Elvis at Ferus (1963)
  • Taylor and Me (1963)
  • Tarzan and Jane Regained... Sort of (1963)
  • Duchamp Opening (1963)
  • Salome and Delilah (1963)
  • Haircut No. 1 (1963)
  • Haircut No. 2 (1963)
  • Haircut No. 3 (1963)
  • Henry in Bathroom (1963)
  • Taylor and John (1963)
  • Bob Indiana, Etc. (1963)
  • Billy Klüver (1963)
  • John Washing (1963)
  • Naomi and John, F U to steele (1963)
  • Screen Test (1964-66)
  • Jill Johnston Dancing (1964)
  • Shoulder (1964)
  • Eat (1964)
  • Dinner At Daley's (1964)
  • Soap Opera aka The Lester Persky Story (1964)
  • Batman Dracula (1964)
  • Three (1964)
  • Jane and Darius (1964)
  • Couch (1964)
  • Empire (1964)
  • Henry Geldzahler (1964)
  • Taylor Mead's Ass (1964)
  • Six Months (1964)
  • Mario Banana (1964)
  • Harlot (1964)
  • Mario Montez Dances (1964)
  • Isabel Wrist (1964)
  • Imu and Son (1964)
  • Allen (1964)
  • Philip and Gerard (1964)
  • 13 Most Beautiful Women (1964)
  • 13 Most Beautiful Boys (1964)
  • 50 Fantastics and 50 Personalities (1964-66)
  • Pause (1964)
  • Messy Lives (1964)
  • Lips (1964)
  • Apple (1964)
  • The End of Dawn (1964)
  • John and Ivy (1965)
  • Screen Test #1 (1965)
  • Screen Test #2 (1965)
  • The Life of Juanita Castro (1965)
  • Drink aka Drunk (1965)
  • Suicide aka Screen Test #3 (1965)
  • Horse (1965)
  • Vinyl (1965)
  • Bitch (1965)
  • Poor Little Rich Girl (1965)
  • Face (1965)
  • Restaurant (1965)
  • Kitchen (1965)
  • Afternoon (1965)
  • Beauty No. 1 (1965)
  • Beauty No. 2 (1965)
  • Space (1965)
  • Factory Diaries (1965)
  • Outer and Inner Space (1965)
  • Prison (1965)
  • The Fugs and The Holy Modal Rounders (1965)
  • Paul Swan (1965)
  • My Hustler (1965)
  • My Hustler II (1965)
  • Camp (1965)
  • More Milk, Yvette, ook bekend as Lana Turner (1965)
  • Lupe (1965)
  • The Closet (1965)
  • Ari and Mario (1966)
  • 3 Min. Mary Might (1966)
  • Eating Too Fast, ook bekend as Blow Job #2 (1966)
  • The Velvet Underground and Nico: A Symphony of Sound (1966)
  • Hedy (1966)
  • Rick (1966, nie uitgereik nie)
  • Withering Heights (1966, nie uitgereik nie)
  • Paraphernalia (1966)
  • Whips (1966)
  • Salvador Dalí (1966)
  • The Beard (1966)
  • Superboy (1966)
  • Patrick (1966, nie uitgereik nie)
  • Chelsea Girls (1966)
  • Bufferin ook bekend as Gerard Malanga Reads Poetry (1966)
  • Bufferin Commercial (1966)
  • Susan-Space (1966)
  • The Velvet Underground Tarot Cards (1966)
  • Nico/Antoine (1966)
  • Marcel Duchamp (1966)
  • Dentist: Nico (1966)
  • Ivy (1966)
  • Denis (1966)
  • Ivy and Denis I (1966)
  • Ivy and Denis II (1966)
  • Tiger Hop (1966)
  • The Andy Warhol Story (1966)
  • Since, ook bekend as The Kennedy Assassination (1966)
  • The Bob Dylan Story (1966)
  • Mrs. Warhol, ook bekend as The George Hamilton Story (1966)
  • Kiss the Boot (1966)
  • Nancy Fish and Rodney (1966)
  • Courtroom (1966)
  • Jail (1966)
  • Alien in Jail (1966)
  • A Christmas Carol (1966)
  • ****, ook bekend as Four Stars of The 25 Hour Movie of The 24 Hour Movie (1966)
  • Imitation of Christ (1967)
  • Ed Hood (1967)
  • Donyale Luna (1967)
  • I, a Man (1967)
  • The Loves of Ondine (1967)
  • Bike Boy (1967)
  • Tub Girls (1967)
  • The Nude Restaurant (1967)
  • Construction-Destruction-Construction (1967)
  • Sunset (1967)
  • Withering Sighs (1967)
  • Vibrations (1967)
  • Lonesome Cowboys (1968)
  • San Diego Surf (1968)
  • Flesh (1968)
  • Blue Movie (1969)
  • Trash (1969)
  • Women in Revolt, ook bekend as P.I.G.S (1970-71)
  • L'Amour, ook bekend as Beauties (1970)
  • Heat (1972)
  • Factory Diaries (1971-78)
  • Water (1971)
  • Flesh for Frankenstein, ook bekend as Andy Warhol's Frankenstein (1973)
  • Blood for Dracula, ook bekend as Andy Warhol's Dracula (1974)
  • Vivian's Girls (1973)
  • Phoney, ook bekend as Phonies (geen datum)
  • Nothing Special footage (1975)
  • Fight (1975)
  • Andy Warhol's Bad (1976)


หนังสือ

  • 25 Cats Name Sam and One Blue Pussy (1954)
  • a, A Novel (1968)
  • The Philosophy of Andy Warhol (1975)
  • Popism: The Warhol Sixties (1980)
  • The Andy Warhol Diaries (1989)

อ้างอิง

  • หนึ่งธิดา [นามแฝง]. “แอนดี วาร์ฮอล (Andy Warhol)”. กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. สำนักพิมพ์พิราบ, 2547. ISBN 974-7430-45-2
  • ฮอนเนฟ, เคลาส์. “Pop Art ป็อปอาร์ต”. กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. ไฟน์อาร์ต, 2552. ISBN 978-974-16-0551-4
  • สุนพงษ์ศรี, กำจร. “ศิลปะสมัยใหม่”. กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. หน้า 506-509. ISBN 978-974-03-2765-3
  • พิตรปรีชา, จิระพัฒน์. “โลกศิลปะศตวรรษที่ 20”. กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. เมืองโบราณ, 2552. หน้า 272-274 ISBN 978-974-73-8539-7
  1. "Andy Warhol: Biography". Andy Warhol Foundation for the Visual Arts. 2002.
  2. "Elder brother of Andy Warhol, who raised young artist, dies aged 85", Daily Mail, December 29, 2010.
  3. "Biography". Warhola.com. สืบค้นเมื่อ August 14, 2010.
  4. V. Bockris, Warhol: The Biography, Da Capo Press, 2009, p. 15.