ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลายเครือเถา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jadenarong (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:11, 26 สิงหาคม 2550

ประตูลายรดน้ำ วัดพงษ์สุนันท์ จังหวัดแพร่

ลายเครือเถา เป็นลายพื้นฐานอีกแบบหนึ่งที่สำคัญของลายไทย นอกเหนือจากลายกระจัง ลายกระหนก ลายประจำยาม ลายประเภทนี้จะเขียนในลักษณะคดโค้งหลายแนว แตะหรือสอดสลับกัน คล้ายการเกี่ยวพันของเถาวัลย์ โดยมีกระหนกออกจากกาบหุ้มเถาไว้

ประเภทของลายเครือเถา

ลายเครือเถาแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภทคือ

  • ลายเครือเถาหางโต
  • ลายเครือเถาใบเทศ
  • ลายเครือเถาเปลว

ตัวอย่างที่พบเห็นลายเครือเถา

  • บริเวณหน้าบัน
  • บานประตู หน้าต่าง หรือตู้ลายรดน้ำ หรือประดับมุก
  • ลายดอกผ้า ลายปักไหม

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • โพธิ์ ใจอ่อนน้อม คู่มือลายไทย โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2522.
  • พระเทวาภินิมมิต สมุดตำราลายไทย โรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2530. ISBN 974-0038-44-1
  • สันติ เล็กสุขุม กระหนกในดินแดนไทย สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2539. ISBN 974-7120-30-5

แหล่งข้อมูลอื่น