ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐสวัสดิการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
==ความเป็นมา==
สังคมในอดีต มนุษย์มีการใช้ชีวิตและความเป็นอยู๋อย่างเรียบง่าย เพียงแค่มีสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการ มนุษย์ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐ ฉะนั้นหน้าที่ของรัฐในอดีตจึงเน้นไปที่การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและปกป้องประเทศเป็นส่วนใหญ่
แต่เมื่อเวลาผ่านไปเศรษฐกิจและสังคมมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่เป็นสังคมเมืองและอุตสาหกรรม จากที่อดีตมนุษย์มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปจึงทำให้มนุษย์มีความต้องการสิ่งเป็นพื้นฐานมากขึ้นไปตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ ในขณะที่การหารายได้เพื่อที่จะนำมาจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ต้องการก็ประสบปัญหา ทำให้เกิดความกดดันในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากคนรวยที่โอกาสหรือคามสามารถมากกว่าก็จะสามารถจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานของตนเองได้ ในขณะที่คนจนมีโอกาสหรือความสามารถน้อยกว่าก็จะไม่สามารถได้สิ่งที่จำเป็นพื้นฐานนั้น
ดังนั้นรัฐจึงได้เข้ามามีบทบาทในการให้สวัสดิการหรือสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานแก่ทุกคน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันของคนในสังคม และเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสวัสดิการที่รัฐจัดให้นั้นจะครอบคลุมทุกสาขาของสวัสดิการสังคม ซึ่งหลายคนเรียกระบบนี้ว่า '''รัฐสวัสดิการ'''

'''รัฐสวัสดิการ''' ({{lang-en|welfare state}}) คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณะแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและฟินแลนด์ รวมอยู่ในรัฐสวัสดิการสมัยใหม่<ref>Paul K. Edwards and Tony Elger, ''The global economy, national states and the regulation of labour'' (1999) p, 111</ref>
'''รัฐสวัสดิการ''' ({{lang-en|welfare state}}) คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณะแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและฟินแลนด์ รวมอยู่ในรัฐสวัสดิการสมัยใหม่<ref>Paul K. Edwards and Tony Elger, ''The global economy, national states and the regulation of labour'' (1999) p, 111</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:42, 24 เมษายน 2560

ความเป็นมา

    สังคมในอดีต มนุษย์มีการใช้ชีวิตและความเป็นอยู๋อย่างเรียบง่าย เพียงแค่มีสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการ มนุษย์ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐ ฉะนั้นหน้าที่ของรัฐในอดีตจึงเน้นไปที่การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและปกป้องประเทศเป็นส่วนใหญ่
    แต่เมื่อเวลาผ่านไปเศรษฐกิจและสังคมมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่เป็นสังคมเมืองและอุตสาหกรรม จากที่อดีตมนุษย์มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปจึงทำให้มนุษย์มีความต้องการสิ่งเป็นพื้นฐานมากขึ้นไปตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ ในขณะที่การหารายได้เพื่อที่จะนำมาจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ต้องการก็ประสบปัญหา ทำให้เกิดความกดดันในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากคนรวยที่โอกาสหรือคามสามารถมากกว่าก็จะสามารถจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานของตนเองได้ ในขณะที่คนจนมีโอกาสหรือความสามารถน้อยกว่าก็จะไม่สามารถได้สิ่งที่จำเป็นพื้นฐานนั้น 
    ดังนั้นรัฐจึงได้เข้ามามีบทบาทในการให้สวัสดิการหรือสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานแก่ทุกคน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันของคนในสังคม และเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสวัสดิการที่รัฐจัดให้นั้นจะครอบคลุมทุกสาขาของสวัสดิการสังคม ซึ่งหลายคนเรียกระบบนี้ว่า รัฐสวัสดิการ

รัฐสวัสดิการ (อังกฤษ: welfare state) คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณะแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและฟินแลนด์ รวมอยู่ในรัฐสวัสดิการสมัยใหม่[1]

รัฐสวัสดิการเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนเงินทุนจากรัฐสู่บริการที่จัดให้ (เช่น สาธารณสุข การศึกษา) ตลอดจนสู่ปัจเจกบุคคลโดยตรง ("ผลประโยชน์") รัฐสวัสดิการจัดหาเงินทุนจากการเก็บภาษีแบบแบ่งความมั่งคั่ง (redistributionist taxation) และมักเรียกว่าเป็น "เศรษฐกิจแบบผสม" ประเภทหนึ่ง[2] การเก็บภาษีดังกล่าวปกติรวมการเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้สูงมากกว่าผู้มีรายได้ต่ำ เรียก ภาษีอัตราก้าวหน้า ซึ่งช่วยลดช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน[3][4][5]

อ้างอิง

  1. Paul K. Edwards and Tony Elger, The global economy, national states and the regulation of labour (1999) p, 111
  2. "Welfare state." Encyclopedia of Political Economy. Ed. Phillip Anthony O'Hara. Routledge, 1999. p. 1245
  3. Pickett and Wilkinson, The Spirit Level: Why More Equal Societies Almost Always Do Better, 2011
  4. The Economics of Welfare| Arthur Cecil Pigou
  5. Andrew Berg and Jonathan D. Ostry, 2011, "Inequality and Unsustainable Growth: Two Sides of the Same Coin?" IMF Staff Discussion Note SDN/11/08, International Monetary Fund

แหล่งข้อมูลอื่น