ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จัง ฮี-แจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
จางฮีเจ เกิดเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัด ต่อมาได้เข้ารับราชการแต่ถูกเนรเทศเพราะกระทำความผิดในเวลาต่อมา [[จางอ๊กจอง]] ผู้เป็นน้องสาวได้ถวายตัวเป็น "จางซังกุง" และเมื่อได้เป็นพระสนมฮีบินพระนางได้กราบทูลให้พระเจ้าซุกจงทรงอภัยโทษและเรียกตัวจางฮีเจกลับมารับราชการ
จางฮีเจ เกิดเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าประมาณ [[ค.ศ. 1651]] ต่อมาได้เข้ารับราชการแต่ถูกเนรเทศเพราะกระทำความผิดในเวลาต่อมา [[จางอ๊กจอง]] ผู้เป็นน้องสาวได้ถวายตัวเป็น "จางซังกุง" และเมื่อได้เป็นพระสนมฮีบินพระนางได้กราบทูลให้พระเจ้าซุกจงทรงอภัยโทษและเรียกตัวจางฮีเจกลับมารับราชการ


== เรืองอำนาจ ==
== เรืองอำนาจ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:01, 15 สิงหาคม 2559

จางฮีเจ (เกาหลี장희재; ค.ศ. 1651? — 29 ตุลาคม ค.ศ. 1701) เป็นขุนนางคนสำคัญและเป็นแกนนำขุนนางฝ่ายใต้ในรัชสมัย พระเจ้าซุกจง และเป็นพระเชษฐาของ พระสนมฮีบิน จากตระกูลจาง

ประวัติ

จางฮีเจ เกิดเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าประมาณ ค.ศ. 1651 ต่อมาได้เข้ารับราชการแต่ถูกเนรเทศเพราะกระทำความผิดในเวลาต่อมา จางอ๊กจอง ผู้เป็นน้องสาวได้ถวายตัวเป็น "จางซังกุง" และเมื่อได้เป็นพระสนมฮีบินพระนางได้กราบทูลให้พระเจ้าซุกจงทรงอภัยโทษและเรียกตัวจางฮีเจกลับมารับราชการ

เรืองอำนาจ

เมื่อจางฮีเจได้กลับเข้ารับราชการเป็นช่วงที่ราชสำนักเปลี่ยนขั้วทางการเมืองพอดีจากฝ่ายตะวันตกเป็นฝ่ายใต้ทำให้เขาทรงอิทธิพลในราชสำนักเพราะน้องสาวของเขาได้ขึ้นเป็นพระมเหสีแต่แล้วเหตุการณ์กลับพลิกผันเมื่อพระเจ้าซุกจงทรงไต่สวนคดีการสิ้นพระชนม์ของพระพันปีมยองซองใหม่แล้วพบว่าพระมเหสีอินฮย็อน มิได้ทรงเป็นผู้บงการแต่เป็นพระสนมฮีบินที่เป็นผู้บงการซึ่งขุนนางฝ่ายตะวันตกกราบทูลให้สำเร็จโทษแต่พระเจ้าซุกจงทรงสงสารองค์ชายรัชทายาทลียุนที่จะต้องกำพร้าพระมารดาจึงโปรดให้ปลดออกจากตำแหน่งพระมเหสีลงไปเป็นพระสนมเอกตามเดิมทำให้พระสนมฮีบินมิพอพระทัยมีรับสั่งให้ "นายหญิงยุน" พระมารดาและจางฮีเจไปจ้างหมอคุณไสยทำร้ายพระมเหสีอินฮย็อนจนประชวรและสิ้นพระชนม์ในที่สุด

สิ้นชีวิต

หลังจากที่พระมเหสีอินฮย็อนสิ้นพระชนม์แล้วพระเจ้าซุกจงจึงโปรดให้สืบสวนและพบว่าพระสนมฮีบิน, จางฮีเจ และนายหญิงยุนเป็นผู้บงการจึงโปรดให้เข้าค้นพระตำหนักของพระสนมพบของทำคุณไสยจำนวนมากจึงโปรดให้นำตัวพระสนมฮีบินไปสำเร็จโทษด้วยการประทานยาพิษส่วนนายหญิงยุนและจางฮีเจพร้อมคนสนิทโปรดให้นำตัวไปประหารด้วยการตัดคอ

จางฮีเจ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1701

ข้อมูลเพิ่มเติม

หลังจากจบคดีดังกล่าวพระเจ้าซุกจงโปรดเกล้าให้ตรากฎมณเฑียรบาลเพิ่มเข้าไปว่าห้ามแต่งตั้งพระสนมขึ้นเป็นพระมเหสีอีกต่อไป