ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โจอิจิโร ทัตสึโยชิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24: บรรทัด 24:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
โดยชื่อ โจะอิชิโร นั้นมาจากชื่อ ยะบุกิ โจ ตัวละครเอกใน[[มังงะ|หนังสือการ์ตูน]]เรื่อง ''[[โจ สิงห์สังเวียน|Tomorrow's Joe]]'' (โจ สิงห์สังเวียน) โดยพ่อเป็นผู้ให้ตั้งเอง โดยหวังจะให้ลูกชายตนเองเป็นแชมป์โลกเหมือนในการ์ตูน
โดยชื่อ โจะอิชิโร นั้นมาจากชื่อ ยะบุกิ โจ ตัวละครเอกใน[[มังงะ|หนังสือการ์ตูน]]เรื่อง ''[[Tomorrow's Joe]]'' (โจ สิงห์สังเวียน) โดยพ่อเป็นผู้ให้ตั้งเอง โดยหวังจะให้ลูกชายตนเองเป็นแชมป์โลกเหมือนในการ์ตูน
[[File:Tatsuyoshi Joichiro & Sakamoto Junji "Joe, Tomorrow" at Opening Ceremony of the 28th Tokyo International Film Festival (22439511161).jpg|thumb|left|250px|ทะสึโยะชิ (ซ้าย) กับซะกะโมะโตะ จุนจิ นักเขียนการ์ตูนเรื่อง ''Tomorrow's Joe'' ในพิธีเปิด[[เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว]]ที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2558]]
[[File:Tatsuyoshi Joichiro & Sakamoto Junji "Joe, Tomorrow" at Opening Ceremony of the 28th Tokyo International Film Festival (22439511161).jpg|thumb|left|250px|ทะสึโยะชิ (ซ้าย) กับซะกะโมะโตะ จุนจิ นักเขียนการ์ตูนเรื่อง ''Tomorrow's Joe'' ในพิธีเปิด[[เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว]]ที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2558]]
ทะสึโยะชิเป็นนักมวยญี่ปุ่นที่ชกน้อยครั้งสุดแล้วเป็นแชมป์โลก (ปัจจุบันสถิตินี้ได้ถูกทำลายลงโดย [[นะโอะยะ อิโนะอุเอะ]] ด้วยการชกเพียง 6 ครั้งในปี พ.ศ. 2557<ref>{{cite web|url=http://www.boxing.com/naoya_inoue_crushes_adrian_hernandez.html|title=Naoya Inoue Crushes Adrian Hernandez |date=6 April 2014|accessdate=11 April 2014|publisher=boxing.com}}</ref>) เมื่อการชกครั้งที่ 8 ก็ได้ขึ้นชิงแชมป์โลกแบนตั้มเวท [[สภามวยโลก|WBC]] กับ เกร็ก ริชาร์ดสัน นักมวยชาวอเมริกัน และเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ในยกที่ 10 แต่หลังจากนั้น โจะอิชิโร่ ทะสึโยะชิ ก็มีปัญหาทางสุขภาพ เนื่องจากเรติน่าตาเสีย ต้องหยุดพักเพื่อรักษาตัวนานถึง 1 ปี และต่อมาก็ป้องกันตำแหน่งกับ วิคเตอร์ ราบานาเลส นักมวยชาวเม็กซิกัน และเป็นฝ่ายแพ้น็อกราบานาเลสไปอย่างบอบช้ำ
ทะสึโยะชิเป็นนักมวยญี่ปุ่นที่ชกน้อยครั้งสุดแล้วเป็นแชมป์โลก (ปัจจุบันสถิตินี้ได้ถูกทำลายลงโดย [[นะโอะยะ อิโนะอุเอะ]] ด้วยการชกเพียง 6 ครั้งในปี พ.ศ. 2557<ref>{{cite web|url=http://www.boxing.com/naoya_inoue_crushes_adrian_hernandez.html|title=Naoya Inoue Crushes Adrian Hernandez |date=6 April 2014|accessdate=11 April 2014|publisher=boxing.com}}</ref>) เมื่อการชกครั้งที่ 8 ก็ได้ขึ้นชิงแชมป์โลกแบนตั้มเวท [[สภามวยโลก|WBC]] กับ เกร็ก ริชาร์ดสัน นักมวยชาวอเมริกัน และเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ในยกที่ 10 แต่หลังจากนั้น โจะอิชิโร่ ทะสึโยะชิ ก็มีปัญหาทางสุขภาพ เนื่องจากเรติน่าตาเสีย ต้องหยุดพักเพื่อรักษาตัวนานถึง 1 ปี และต่อมาก็ป้องกันตำแหน่งกับ วิคเตอร์ ราบานาเลส นักมวยชาวเม็กซิกัน และเป็นฝ่ายแพ้น็อกราบานาเลสไปอย่างบอบช้ำ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:12, 27 กรกฎาคม 2559

โจะอิชิโร ทะสึโยะชิ
ชื่อจริงโจะอิชิโร ทะสึโยะชิ
รุ่นแบนตั้มเวท
ซูเปอร์แบนตั้มเวท
เกิด17 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
คุระชิกิ จังหวัดโอะกะยะมะ
ชกทั้งหมด26
ชนะ19
ชนะน็อก13
แพ้6
เสมอ1
ผู้จัดการอะกิฮิโกะ ฮนดะ
ค่ายมวยไทเก้นยิม

โจะอิชิโร ทะสึโยะชิ (ญี่ปุ่น: 辰吉丈一郎โรมาจิTatsuyoshi Jo'ichirō) อดีตแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวท WBC ชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ที่เมืองคุระชิกิ จังหวัดโอะกะยะมะ[1] แต่ต่อมาได้อพยพมาอาศัยและเติบโตที่เมืองโอซะกะ จังหวัดโอซะกะ

ประวัติ

โดยชื่อ โจะอิชิโร นั้นมาจากชื่อ ยะบุกิ โจ ตัวละครเอกในหนังสือการ์ตูนเรื่อง Tomorrow's Joe (โจ สิงห์สังเวียน) โดยพ่อเป็นผู้ให้ตั้งเอง โดยหวังจะให้ลูกชายตนเองเป็นแชมป์โลกเหมือนในการ์ตูน

ทะสึโยะชิ (ซ้าย) กับซะกะโมะโตะ จุนจิ นักเขียนการ์ตูนเรื่อง Tomorrow's Joe ในพิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2558

ทะสึโยะชิเป็นนักมวยญี่ปุ่นที่ชกน้อยครั้งสุดแล้วเป็นแชมป์โลก (ปัจจุบันสถิตินี้ได้ถูกทำลายลงโดย นะโอะยะ อิโนะอุเอะ ด้วยการชกเพียง 6 ครั้งในปี พ.ศ. 2557[2]) เมื่อการชกครั้งที่ 8 ก็ได้ขึ้นชิงแชมป์โลกแบนตั้มเวท WBC กับ เกร็ก ริชาร์ดสัน นักมวยชาวอเมริกัน และเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ในยกที่ 10 แต่หลังจากนั้น โจะอิชิโร่ ทะสึโยะชิ ก็มีปัญหาทางสุขภาพ เนื่องจากเรติน่าตาเสีย ต้องหยุดพักเพื่อรักษาตัวนานถึง 1 ปี และต่อมาก็ป้องกันตำแหน่งกับ วิคเตอร์ ราบานาเลส นักมวยชาวเม็กซิกัน และเป็นฝ่ายแพ้น็อกราบานาเลสไปอย่างบอบช้ำ

ต่อมาแก้มือชิงแชมป์เฉพาะกาลรุ่นแบนตั้มเวท WBC กับ วิคเตอร์ นาบานาเรส อีก ก่อนชนะคะแนนไปแบบไม่เป็นเอกฉันท์ แต่ทางสมาคมมวยอาชีพญี่ปุ่น (JBC) ไม่รับรองผลการชก เพราะอาการบาดเจ็บที่เรติน่า ทะสึโยะชิต้องเดินทางไปชกนอกรอบที่อเมริกา ในปี พ.ศ. 2537 ก่อนจะเดินเรื่องกลับมาชกที่ญี่ปุ่นได้ เพื่อมาหาแชมป์จริงกับนักชกเพื่อนร่วมชาติ แชมป์ตัวจริง ยาซูเอะ ยากูชิจิ แม้มือซ้ายของทะสึโยะชิหักตั้งแต่ยก 1 แต่ก็กัดฟันสู้พลางถอยพลาง จนครบ 12 ยก เป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างไม่เอกฉันท์ ก่อนที่จะเลื่อนรุ่นไปชิงแชมป์ซุปเปอร์แบนตั้มเวทกับนักมวยผู้มากประสบการณ์ ดาเนี่ยล ซาราโซ่า ชาวเม็กซิกัน ในต้นปี พ.ศ. 2539 แม้จะได้นับซาราโกซ่าในยกแรก แต่เมื่อซาราโกซ่า กลับมาสู่เกม ก็ได้ชกจน โจะอิชิโร่ ทะสึโยะชิ แตกที่ตาและตาแทบปิด กรรมการยุติการยกที่ 11 ต่อมาแม้จะขอแก้มือกับ ดาเนี่ยล ซาราโกซ่า อีก แต่ก็แพ้คะแนนเอกฉันท์ ในต้นปี พ.ศ. 2540

จนปลายปี พ.ศ. 2540 ได้ตัดสินใจชิงแชมป์โลกอีกครั้ง โดยการชกครั้งนี้เป็นการตัดสินชะตาชีวิตบนสังเวียนผ้าใบของทะสึโยะชิ หากแพ้ก็จะแขวนนวมทันที โดยลดรุ่นมาชิงในรุ่นเดิม คือ แบนตั้มเวท กับ ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์ แชมป์โลกชาวไทย โดยใช้ชื่อศึกครั้งนี้ว่า "Final Judgment" ซึ่งการชกครั้งนี้ศิริมงคลต้องประสบปัญหาการลดน้ำหนักตัวเป็นอย่างมาก ถึงวันชกสภาพร่างกายซูบซีด แก้มตอบ ตากลวงลึกโบ๋ แต่ศิริมงคลก็ยังอดทนกัดฟันแลกหมัดกับทะสึโยะชิและเกือบน็อกทะสึโยะชิได้หลายครั้ง แต่ทะสึโยะชิซึ่งสภาพร่างกายดีกว่าก็เป็นฝ่ายเอาชนะน็อกศิริมงคลไปได้ในยกที่ 7 จากนั้นจึงป้องกันตำแหน่งครั้งแรกชนะ ราฟาเอล โซซ่า นักมวยชาวเม็กซิกัน แล้วป้องกันครั้งที่สองไปอย่างไม่ประทับใจเพราะเป็นฝ่ายชนะแตกยอดมวยชาวอเมริกัน พอล อยาล่า ไปอย่างน่ากังขา ก่อนที่จะมาเสียแชมป์ให้ วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น ในปลายปี พ.ศ. 2541 ในการป้องกันครั้งที่สาม

ต่อจากนั้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ได้ชกแก้มืออีกครั้งกับ วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น โดยใช้ชื่อศึกครั้งนี้ว่า "Final Chapter" เพราะพ่อของทะสึโยะชิเพิ่งจะเสียชีวิตไปก่อนการชกไม่นาน โดยทะสึโยะชิประกาศสู้ตาย ยอมตายไม่ยอมแพ้ และไม่ว่าชนะหรือแพ้จะเป็นไฟท์สุดท้ายของตน เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการชกครั้งนี้ทะสึโยะชิสวมกางเกงและรองเท้าสีน้ำเงิน ผิดแผกไปจากการชกครั้งก่อน ๆ ที่จะสวมกางเกงและรองเท้าสีขาวล้วนมาโดยตลอด

หลังจากแพ้วีระพลและแขวนนวมไปพักใหญ่ โจะอิชิโร่ ทะสึโยะชิ ก็เรียก แสน ส.เพลินจิต มาชกอุ่นเครื่อง แล้วต่อยหมัดชุดอัดแสนอยู่ข้างเดียว โดยที่หมัดของแสนทำอะไรทะสึโยะชิไม่ได้เลย โดนชกอยู่ข้างเดียวจนยก 6 กรรมการก็จับแสนแพ้ทีเคโอไป ต่อมา ทะสึโยะชิในวัย 38 ปี ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นชกในญี่ปุ่น ได้มาขึ้นชกมวยสากลที่เวทีราชดำเนิน ชนะน็อค พลังชัย ชูวัฒนะ ยก 2 และต่อมาในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552 ทะสึโยะชิได้เดินทางมาชกที่เมืองไทยอีกครั้ง ณ เวทีมวยราชดำเนิน โดยพบกับ ซาไก จ๊อกกี้ยิม ซึ่งปรากฏว่าไฟท์นี้เกิดการพลิกความคาดหมาย เนื่องจากทะสึโยะชิ ถูกหมัดชุดและหมัดเหวี่ยงของซาไก แพ้ทีเคโอ (ยอมแพ้) อย่างสิ้นสภาพไปในยกที่ 7[3] [4]

โจะอิชิโร ทะสึโยะชิ เป็นนักมวยที่มีมาดกวน โดยมักจะทำทีท่าว่าไม่ยี่หระกับคู่ต่อสู้ นั่นเป็นเพราะตัวเขาเป็นนักมวยที่ได้รับความนิยมจากทั้งผู้ที่เป็นแฟนมวยและไม่ใช่แฟนมวยชาวญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นซุปเปอร์สตาร์นักกีฬาชาวญี่ปุ่นก็ว่าได้ ไม่ใช่เพราะฝีมือ แต่เป็นเพราะชีวิตที่ต้องดิ้นรนต่อสู้มาตลอด เหมือนตัวละครในการ์ตูน โดยมีพ่อเป็นกำลังใจอยู่เคียงข้าง แม้จะประสบปัญหาเรื่องสายตามาโดยตลอดก็ตาม แต่ก็ไม่ละทิ้งความหวัง พยายามกลับมาเป็นแชมป์โลกให้ได้หลายครั้ง

เกียรติประวัติ

  • แชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBC
    • ชิง 19 กันยายน 2534 ชนะคะแนนโดยเทคนิค เกรก ริชาร์ดสัน ที่ ญี่ปุ่น
    • เสียแชมป์ 17 กันยายน 2535 แพ้น็อค วิคเตอร์ ราบานาเลส ยก 9 ที่ ญี่ปุ่น
  • แชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBC
    • ชิง 22 กรกฎาคม 2536 ชนะคะแนน วิคเตอร์ ราบานาเลส ที่ ญี่ปุ่น
    • เสียแชมป์ 4 ธันวาคม 2537 แพ้คะแนน ยาสุเอะ ยากูชิจิ ที่ ญี่ปุ่น
  • แชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBC
  • เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
    • ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท WBC เมื่อ 3 มีนาคม 2539 แพ้น็อค ดาเนียล ซาราโกซา ยก 11 ที่ ญี่ปุ่น
    • ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท WBC เมื่อ 14 เมษายน 2540 แพ้คะแนน ดาเนียล ซาราโกซา ที่ ญี่ปุ่น
    • ชิงแชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBC เมื่อ 29 สิงหาคม 2542 แพ้น็อค วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น ยก 7ที่ ญี่ปุ่น

อ้างอิง

  1. Joichiro Tatsuyoshi, Boxing Record Archive
  2. "Naoya Inoue Crushes Adrian Hernandez". boxing.com. 6 April 2014. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
  3. Biography of Joichiro Tatsuyoshi (อังกฤษ)
  4. สุดสลด!!ซาไก จ๊อคกี้ยิม ดวลหมัดดับ จากสนุกดอตคอม (ไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น