ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทกภาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
โปรดระวังการสะกดคำผิด
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[File:World water distribution.png|right|500px|World water distribution.]]
[[ไฟล์:World water distribution.png|right|500px|World water distribution.]]
'''อุทกภาค''' (จาก[[ภาษาบาลี]] "อุทก" แปลว่า น้ำ, "ภาค" แปลว่า ส่วน รวมกันหมายถึงส่วนที่เป็นน้ำ<ref>พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554</ref>) ในวิชา[[ภูมิศาสตร์กายภาพ]]หมายถึง แหล่งที่[[น้ำ]]จำนวนมากมาอยู่รวมกันบนหรือใต้ผิว[[โลก]]
'''อุทกภาค''' (จาก[[ภาษาบาลี]] "อุทก" แปลว่า น้ำ, "ภาค" แปลว่า ส่วน รวมกันหมายถึงส่วนที่เป็นน้ำ<ref>พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554</ref>) ในวิชา[[ภูมิศาสตร์กายภาพ]]หมายถึง แหล่งที่[[น้ำ]]จำนวนมากมาอยู่รวมกันบนหรือใต้ผิว[[โลก]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:33, 25 กันยายน 2558

World water distribution.
World water distribution.

อุทกภาค (จากภาษาบาลี "อุทก" แปลว่า น้ำ, "ภาค" แปลว่า ส่วน รวมกันหมายถึงส่วนที่เป็นน้ำ[1]) ในวิชาภูมิศาสตร์กายภาพหมายถึง แหล่งที่น้ำจำนวนมากมาอยู่รวมกันบนหรือใต้ผิวโลก

อีกอร์ ชีโคลมานอฟ ผู้ถูกคัดเลือกโดยองค์การสหประชาชาติให้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ได้ประเมินว่าบนโลกมีน้ำทั้งสิ้น 1,386 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร[2] ซึ่งรวมถึงน้ำในรูปของเหลว ของแข็ง น้ำบาดาล ธารน้ำแข็ง มหาสมุทร ทะเลสาบ และแม่น้ำ โดยร้อยละ 97.5 ของน้ำทั้งหมดบนโลกเป็นน้ำเค็ม น้ำจืดมีอยู่เพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และร้อยละ 68.7 ของน้ำจืดก็อยู่ในรูปของน้ำแข็งและหิมะปกคลุมบริเวณอาร์กติก แอนตาร์กติกา และในเขตภูเขา ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 29.9 อยู่ในรูปของน้ำบาดาล ร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นสาธารณูปโภคได้ ซึ่งสามารถพบน้ำเหล่านี้ใต้ในทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และระบบแม่น้ำต่าง ๆ[2] มวลทั้งหมดของน้ำบนโลกอยู่ที่ประมาณ 1.4 × 1018 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.023 ของมวลโลกทั้งหมด ประมาณ 20 × 1012 ตันของน้ำทั้งหมดนั้นอยู่ในบรรยากาศของโลก (โดยน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนักเท่ากับ 1 ตัน) ประมาณร้อยละ 75 ของผิวโลกทั้งหมดหรือประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตรนั้นเป็นมหาสมุทร ค่าความเค็มเฉลี่ยของมหาสมุทรในโลกนั้นอยู่ที่ประมาณ 35 ของเกลือหนึ่งกรัมต่อน้ำทะเลหนึ่งกิโลกรัม (ร้อยละ 3.5)[3]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554
  2. 2.0 2.1 World Water Resources: A New Appraisal and Assessment for the 21st Century (Report). UNESCO. 1998. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.
  3. Kennish, Michael J. (2001). Practical handbook of marine science. Marine science series (3rd ed.). CRC Press. p. 35. ISBN 0-8493-2391-6.