ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทพวน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Komsun875 (คุย | ส่วนร่วม)
Komsun875 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:


==ประวัติ==
==ประวัติ==
พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง สังเกตได้จากชาวไทยพวนอำเภอปากพลี จะสร้างบ้านอยู่ตามลำคลองตลอดแนว ตั้งแต่ตำบลหนองแสง ตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ จนถึงตำบลท่าเรือ เป็นต้น ที่อำเภอเมืองนครนายก จะมีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่ตำบลสาริกาและตำบลเขาพระชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ ปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง(ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและลาวโซ่ง มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวลาวทรงดำ(ลาวโซ่ง)และลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย ระยะที่สาม ในราวปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพ ขึ้นไปปราบกบฏ และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบ ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านาน ชาวไทยพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษาไทยพวน โดยจะใช้ภาษาไทยกลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้นๆห้วนๆ
ชาวไทพวน เดิมเป็นประชากรของ[[เมืองพวน]] ซึ่งอยู่ทางเหนือของ[[แขวงเชียงขวาง]]ของ [[ประเทศลาว]] ก่อนจะอพยพเข้ามาสู่ประเทศสยามหลายช่วงในประวัติศาสตร์ ซึ่งอพยพเข้ามามากที่สุดครั้ง[[สงครามปราบฮ่อ]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]


== วิถีชีวิต ==
== วิถีชีวิต ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:34, 1 มีนาคม 2558

ชาวไทพวน หรือ ชาวลาวพวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท ใช้ภาษาพวน ซึ่งเป็นตระกูลภาษาไท-กะได อาศัยอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย เดิมอาศัยอยู่ในประเทศลาว

ประวัติ

พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง สังเกตได้จากชาวไทยพวนอำเภอปากพลี จะสร้างบ้านอยู่ตามลำคลองตลอดแนว ตั้งแต่ตำบลหนองแสง ตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ จนถึงตำบลท่าเรือ เป็นต้น ที่อำเภอเมืองนครนายก จะมีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่ตำบลสาริกาและตำบลเขาพระชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ ปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง(ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและลาวโซ่ง มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวลาวทรงดำ(ลาวโซ่ง)และลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย ระยะที่สาม ในราวปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพ ขึ้นไปปราบกบฏ และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบ ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านาน ชาวไทยพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษาไทยพวน โดยจะใช้ภาษาไทยกลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้นๆห้วนๆ

วิถีชีวิต

ชาวไทพวน หรือลาวพวน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อว่างจากการทำนาก็จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผู้ชายจะสานกระบุง ตะกร้า และเครื่องมือหาปลา ส่วนผู้หญิงจะทอผ้า ที่มีชื่อเสียงคือ "ผ้ามัดหมี่ลพบุรี" อาหารที่ชาวไทพวนนิยม คือ ปลาร้า นิยมทานขนมจีนและข้าวหลามในงานบุญ ปลาส้ม ส่วนอาหารอื่น ๆ จะประกอบขึ้นจากวัตถุดิบในท้องถิ่น

ชาวไทพวนมีความเชื่อเรื่องผี มีศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า ศาลตาปู่ หรือศาลเจ้าปู่บ้าน รวมทั้งการละเล่นก็มีผีนางด้ง ผีนางกวัก มีประเพณีใส่กระจาด(เส่อกระจาด) ประเพณีกำฟ้า(กำฟ้าพาแลง) เป็นประเพณีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นการสักการะต่อธรรมชาติและผี

ภาษาของชาวไทพวนมีสำเนียงคล้ายภาษาถิ่นเหนือ คงเหลือแต่เพียงภาษาพูด ภาษาเขียนแทบจะไม่มีคนเขียนได้แล้ว

ถิ่นอาศัยในประเทศไทย

  1. สุโขทัย ( อำเภอศรีสัชนาลัย )
  2. สระบุรี ( อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด อำเภอวิหารแดง)
  3. นครนายก( อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา)
  4. ปราจีนบุรี (อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ อำเภอบ้านสร้าง อำเภอกบินทร์บุรี )
  5. ฉะเชิงเทรา ( อำเภอพนมสารคาม)
  6. ลพบุรี ( อำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง)
  7. ราชบุรี
  8. เพชรบุรี ( อำเภอเขาย้อย อำเภอท่ายาง )
  9. น่าน (บ้านฝ่ายมูล อ.ท่าวังผา,บ้านหลับมืนพรวน อ.เวียงสา)
  10. แพร่ (ต.ทุ่งโฮ่ง อ.เมืองแพร่)
  11. สิงห์บุรี (หมู่ที่ 3 ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี)
  12. พิจิตร (อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาค บ้านป่าแดง อ.ตะพานหิน)
  13. สุพรรณบุรี (บ้านดอนหนามแดง , บ้านไผ่เดี่ยว , รางบัว ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี)
  14. อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ)
  15. อุตรดิตถ์ (บ้านปากฝาง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์)
  16. หนองคาย (บ้านดงบัง บ้านกุดบง อ. โพนพิสัย บ้านกวดโคกสว่าง ต.นาข่า อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย)
  17. พะเยา (บ้านห้วยกั้น อำเภอจุน)
  18. เชียงราย( บ้านป่าก๋อย อำเภอแม่สาย บ้านศรีดอนมูล บ้านป่าสักน้อย อำเภอเชียงแสน ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง)
  19. ชลบุรี (อำเภอพนัสนิคม)
  20. นครสวรรค์ ( อำเภอช่องแค อำเภอชุมแสง อำเภอไพศาลี อำเภอตากฟ้า)
  21. อุทัยธานี (อำเภอทัพทัน)
  22. กาญจนบุรี (บางหมู่บ้านในอำเภอพนมทวน)
  23. เพชรบูรณ์ (บ้านดงขุย อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ , ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ)

อ้างอิง

สิงห์บุรี อ.พรหมบุรี ต.บางน้ำเชี่ยว หมู่ 5 โภคาภิวัฒน์