ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ครอบครัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_detail.php?diary_id=33102 อ้างอิง
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
2. เป็นแหล่งถ่ายทอดวิชาชีพและฝึกฝนอาชีพ การบ่มเพาะให้เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มี คุณภาพ
2. เป็นแหล่งถ่ายทอดวิชาชีพและฝึกฝนอาชีพ การบ่มเพาะให้เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มี คุณภาพ
3. เป็นแหล่งให้การสังคมสงเคราะห์เบื้องต้น มีความเอื้ออาทร ให้ความช่วยเหลือในเครือญาติในสภาวะวิกฤตต่าง ๆ
3. เป็นแหล่งให้การสังคมสงเคราะห์เบื้องต้น มีความเอื้ออาทร ให้ความช่วยเหลือในเครือญาติในสภาวะวิกฤตต่าง ๆ
สถานการณ์ของครอบครัวไทย

สถานการณ์สังคมที่เปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อครอบครัวและบุคคล ครอบครัวจึงเกิดการปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้าง รูปแบบ ขนาดของครอบครัวและวิถีชีวิต
รวมทั้งสภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว

1.โครงสร้างประชากร
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดประมาณการประชากรของประเทศไทยจากปี 2543 – 2568 ไว้ว่า จากปี พ.ศ. 2545 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2552
ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการปันผลทางประชากรซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรวัยแรงงานยังคงเพิ่มขึ้น หลังจากนี้ประชากรวัยเด็กจะลดลงจากร้อยละ 23.88 ในปี 2545 เป็นร้อย 17.6 ในปี 2568
และสัดส่วนประชากรวัยแรงงานจะลดลงจากร้อยละ 66.38 เป็นร้อยละ 62.05 ขณะที่สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 9.74 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 19.99 ในปี 2568
ทำให้ครอบครัวต้องรับภาระในการเลี้ยงดูและการพึ่งพิงสูง
2.โครงสร้างของครอบครัว
จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท
มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น โครงสร้างครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมในอดีต ซึ่งเคยเป็นครอบครัวขยาย แต่จากผลการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3- 7 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักโดยมีนโยบายด้านการวางแผนครอบครัว เพื่อมุ่งลดอัตราการเพิ่มของประชากรในครัวเรือนและนโยบายปรับปรุงคุณภาพประชากร
และการพัฒนาจิตใจ เพื่อให้มีศักยภาพและมีความพร้อมต่อการพัฒนาและแข่งขัน ทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการพัฒนาสถาบันครอบครัวในทางอ้อม อัตราการเกิดลดลง ครอบครัวมีอายุยืน
และมีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ในปี 2545 มีครอบครัวขยายเพียงร้อยละ 32.1 ครอบครัวเดี่ยวมีถึงร้อยละ 55.5 นอกจากนี้ ยังพบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นหญิงมีจำนวนมากขึ้น
4.รูปแบบครอบครัว
ผลของการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวแล้ว
ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อรูปแบบของครอบครัวด้วย จากข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2542-2545 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า ครอบครัวไทยในปัจจุบันมิได้ประกอบด้วย
พ่อ แม่ ลูก และ เครือญาติดังเช่นแต่ก่อน แต่มีหลายรูปแบบ ดังนี้
1)ครอบครัวขยาย ครอบครัวขยายที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ปู่ย่าตายาย และหรือพี่น้อง ยังคงมีอยู่ในสังคมไทยแต่มีจำนวนลดลง พบว่าปี 2545 มีครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยายเพียงร้อยละ 32.1
2)ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวเดี่ยว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพ่อ แม่และลูก โดยส่วนใหญ่ครอบครัวจะมีลูกจำนวน 1-3 คน
3)ครอบครัวที่อยู่คนเดียว มีคนที่อาศัยอยู่ตามลำพังมากขึ้น โดยปี 2542 มีคนที่อาศัยอยู่คนเดียวร้อยละ 11.0 เป็นร้อยละ 11.5 และ 11.8 ในปี 2544
และ 2545 ตามลำดับซึ่งแสดงให้เห็นว่าหญิงหรือชายพอใจที่จะอยู่เป็นโสดมากขึ้น
ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกตามลำพัง หมายถึงครอบครัวที่มีเพียงพ่อหรือแม่ และลูก เนื่องจากสาเหตุของการหย่าร้าง การเป็นหม้าย แยกทาง การทอดทิ้ง
4)ครอบครัวที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม คือครอบครัวที่สามีและภรรยาไม่สามารถมีบุตรร่วมกันได้และมีความประสงค์ที่จะขอรับเด็กมาอุปการะเป็นบุตรซึ่งมีจำนวนมากขึ้น

5.ปัญหาวิกฤตของครอบครัว
จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท
มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ซึ่งมีผล ต่อปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัวทั้งทางลบและทางบวก อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติที่ครอบครัวเผชิญอยู่ ดังนี้
1 ปัญหาเศรษฐกิจ
2 ความสัมพันธ์ในครอบครัว
3 การสมรสน้อยลงและการหย่าร้างเพิ่มขึ้น
4 เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
5 พฤติกรรมไม่เหมาะสมของวัยรุ่น
6 ความรุนแรงในครอบครัว
7 ยาเสพติด
6.สาเหตุของปัญหาครอบครัว
นโยบายและแผนในการพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2537 –2546 ได้ชี้ให้เห็นสาเหตุแห่งปัญหาครอบครัวที่สำคัญ ดังนี้
1.ความไม่พร้อมและไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นครอบครัว การขาดความพร้อมของพ่อแม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ อายุที่เหมาะสม ไม่เป็นโรคติดต่อความสามารถเพียงพอที่จะประกอบอาชีพ
มีรายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นต้น
2.สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์ และไม่อาจปรับตนเองได้
3.สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัว ว่า ครอบครัวมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงขาดจิตสำนึกและพลังร่วมกันจากทุกสถานบันในสังคม
4.สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพล อย่างยิ่งต่อครอบครัวและสมาชิกของสังคมโดยสื่อมวลชนยังไม่ได้ให้ความสนใจในการพัฒนาครอบครัวเพียงพอ


== ลำดับญาติ ==
== ลำดับญาติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:15, 7 ธันวาคม 2557

   ครอบครัว คือกลุ่มของบุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน มีความใกล้ชิดกัน และอาศัยในที่เดียวกัน ความหมายของครอบครัวในทาง

พันธุศาสตร์จะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดเป็นหลัก แต่ในสังคม คนทั่วไปมักจะเข้าใจความหมายของครอบครัวในทางภาพลักษณ์มากกว่าทางพันธุศาสตร์

   “ครอบครัว” เป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด  เพราะเป็นสถาบันพื้นฐาน   ที่มีบทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม

เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการ ถ่ายทอดค่านิยม ปลูกฝังความเชื่อ สร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่ สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศครอบครัวจึงเปรียบเสมือนจักรกลชั้นแรกที่ทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ นำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

ความหมายของครอบครัว

ครอบครัวแต่เดิมมีเพียงผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ได้แก่ บิดา มารดา บุตร และแม้จะมีเครือญาติ ก็ยังคงหมายถึงผู้ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิตร่วมกัน เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ซึ่งต่อมาได้มีนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547- 2556 ได้กำหนดความหมายของครอบครัวไว้กว้าง ๆ ดังนี้

  “ครอบครัว หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันและใช้ชีวิตร่วมกัน    ทำหน้าที่เป็นสถาบันหลัก เป็นแกนกลางของสังคมที่เป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต

ครอบครัวมีหลากหลายรูปแบบและหลายลักษณะ นอกเหนือจากครอบครัวที่ครบถ้วนทั้งบิดา มารดาและบุตร”

ลักษณะครอบครัวไทย

ครอบครัวไทยแต่เดิมมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย มีสมาชิกครอบครัว หลายช่วงอายุ อย่างน้อย 3 รุ่น คือ 1) รุ่นปู่ย่า ตายาย 2) รุ่นพ่อแม่ 3) รุ่นลูก เป็นครอบครัวที่มีความร่วมมือกันในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรม และในอดีตครอบครัวมีบทบาทหน้าที่อย่างน้อย 3 ประการ 1. เป็นแหล่งขัดเกลาทางสังคม (socialization) ให้การอบรม การเรียนรู้ การสร้างบุคลิกภาพ ระบบวิธีคิด การให้คุณค่าของสิ่งต่างๆ 2. เป็นแหล่งถ่ายทอดวิชาชีพและฝึกฝนอาชีพ การบ่มเพาะให้เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มี คุณภาพ 3. เป็นแหล่งให้การสังคมสงเคราะห์เบื้องต้น มีความเอื้ออาทร ให้ความช่วยเหลือในเครือญาติในสภาวะวิกฤตต่าง ๆ สถานการณ์ของครอบครัวไทย

    สถานการณ์สังคมที่เปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อครอบครัวและบุคคล ครอบครัวจึงเกิดการปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้าง  รูปแบบ ขนาดของครอบครัวและวิถีชีวิต  

รวมทั้งสภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว

  1.โครงสร้างประชากร
           สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดประมาณการประชากรของประเทศไทยจากปี  2543 – 2568 ไว้ว่า จากปี พ.ศ. 2545 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2552 
ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการปันผลทางประชากรซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรวัยแรงงานยังคงเพิ่มขึ้น หลังจากนี้ประชากรวัยเด็กจะลดลงจากร้อยละ 23.88 ในปี 2545  เป็นร้อย 17.6 ในปี 2568
และสัดส่วนประชากรวัยแรงงานจะลดลงจากร้อยละ 66.38 เป็นร้อยละ  62.05 ขณะที่สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 9.74 ในปี  2545  เป็นร้อยละ 19.99  ในปี 2568
ทำให้ครอบครัวต้องรับภาระในการเลี้ยงดูและการพึ่งพิงสูง
    2.โครงสร้างของครอบครัว                                                       
            จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท

มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น โครงสร้างครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมในอดีต ซึ่งเคยเป็นครอบครัวขยาย แต่จากผลการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3- 7 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักโดยมีนโยบายด้านการวางแผนครอบครัว เพื่อมุ่งลดอัตราการเพิ่มของประชากรในครัวเรือนและนโยบายปรับปรุงคุณภาพประชากร และการพัฒนาจิตใจ เพื่อให้มีศักยภาพและมีความพร้อมต่อการพัฒนาและแข่งขัน ทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการพัฒนาสถาบันครอบครัวในทางอ้อม อัตราการเกิดลดลง ครอบครัวมีอายุยืน และมีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ในปี 2545 มีครอบครัวขยายเพียงร้อยละ 32.1 ครอบครัวเดี่ยวมีถึงร้อยละ 55.5 นอกจากนี้ ยังพบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นหญิงมีจำนวนมากขึ้น

   4.รูปแบบครอบครัว
               ผลของการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นอกจากส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวแล้ว

ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อรูปแบบของครอบครัวด้วย จากข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2542-2545 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า ครอบครัวไทยในปัจจุบันมิได้ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และ เครือญาติดังเช่นแต่ก่อน แต่มีหลายรูปแบบ ดังนี้

 1)ครอบครัวขยาย  ครอบครัวขยายที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ปู่ย่าตายาย และหรือพี่น้อง ยังคงมีอยู่ในสังคมไทยแต่มีจำนวนลดลง พบว่าปี  2545 มีครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยายเพียงร้อยละ 32.1  
 2)ครอบครัวเดี่ยว  ครอบครัวเดี่ยว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพ่อ แม่และลูก โดยส่วนใหญ่ครอบครัวจะมีลูกจำนวน 1-3  คน
 3)ครอบครัวที่อยู่คนเดียว   มีคนที่อาศัยอยู่ตามลำพังมากขึ้น  โดยปี 2542  มีคนที่อาศัยอยู่คนเดียวร้อยละ  11.0 เป็นร้อยละ 11.5 และ  11.8 ในปี 2544 
และ 2545 ตามลำดับซึ่งแสดงให้เห็นว่าหญิงหรือชายพอใจที่จะอยู่เป็นโสดมากขึ้น

ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกตามลำพัง หมายถึงครอบครัวที่มีเพียงพ่อหรือแม่ และลูก เนื่องจากสาเหตุของการหย่าร้าง การเป็นหม้าย แยกทาง การทอดทิ้ง

 4)ครอบครัวที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม คือครอบครัวที่สามีและภรรยาไม่สามารถมีบุตรร่วมกันได้และมีความประสงค์ที่จะขอรับเด็กมาอุปการะเป็นบุตรซึ่งมีจำนวนมากขึ้น
    5.ปัญหาวิกฤตของครอบครัว
                จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวดเร็ว  มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่  สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท

มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ซึ่งมีผล ต่อปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัวทั้งทางลบและทางบวก อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติที่ครอบครัวเผชิญอยู่ ดังนี้

  1  ปัญหาเศรษฐกิจ
  2  ความสัมพันธ์ในครอบครัว
  3 การสมรสน้อยลงและการหย่าร้างเพิ่มขึ้น
  4  เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
  5 พฤติกรรมไม่เหมาะสมของวัยรุ่น                                   
  6  ความรุนแรงในครอบครัว
  7  ยาเสพติด

6.สาเหตุของปัญหาครอบครัว

         นโยบายและแผนในการพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2537 –2546 ได้ชี้ให้เห็นสาเหตุแห่งปัญหาครอบครัวที่สำคัญ ดังนี้

1.ความไม่พร้อมและไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นครอบครัว การขาดความพร้อมของพ่อแม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ อายุที่เหมาะสม ไม่เป็นโรคติดต่อความสามารถเพียงพอที่จะประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นต้น 2.สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์ และไม่อาจปรับตนเองได้ 3.สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัว ว่า ครอบครัวมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงขาดจิตสำนึกและพลังร่วมกันจากทุกสถานบันในสังคม 4.สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพล อย่างยิ่งต่อครอบครัวและสมาชิกของสังคมโดยสื่อมวลชนยังไม่ได้ให้ความสนใจในการพัฒนาครอบครัวเพียงพอ

ลำดับญาติ

ลำดับญาติที่ใช้ในครอบครัว ได้แก่