ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพร่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
== การใช้งานในปัจจุบัน ==
== การใช้งานในปัจจุบัน ==


[[ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ]] นำคำว่า "ไพร่" มาใช้ใน[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|การชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553]] โดยหมายถึง ประชาชนธรรมดาที่เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20100325/106816/ณัฐวุฒิ-:-ถอดรหัส-ไพร่---อำมาตย์.html ถอดรหัส “ไพร่” กับ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ”] ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้สัมภาษณ์ เสถียร วิริยะพรรณพงศา และอรรถยุทธ บุตรศรีภูมิ, กรุงเทพธุรกิจ, 25 มีนาคม 2553</ref>
[[ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ]] นำคำว่า "ไพร่" มาใช้ใน[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|การชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553]] โดยหมายถึง ประชาชนธรรมดาที่เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์<ref>[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20100325/106816/ณัฐวุฒิ-:-ถอดรหัส-ไพร่---อำมาตย์.html ถอดรหัส “ไพร่” กับ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ”] ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้สัมภาษณ์ เสถียร วิริยะพรรณพงศา และอรรถยุทธ บุตรศรีภูมิ, กรุงเทพธุรกิจ, 25 มีนาคม 2553</ref> แต่ก็ได้มีข้อโต้แย้งจากนักวิชาการว่า เป็นเพียงการสร้างวาทะกรรม โดยมีวาระซ้อนเร้นในการสร้างเรื่องแบ่งชนชั้นเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองเท่านั้น เพราะคำว่าไพร่ มักจะมานำมาใช้ คู่กับคำว่า [[อำมาตย์]] ซึ่งไม่ได้ระบุเพียงองคมนตรี แต่อาจพาดพิงไปยังเบื้องสูงอีกด้วย <ref>[http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9530000040227]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:56, 26 ธันวาคม 2556

ในสังคมไทยสมัยโบราณ ไพร่ หมายถึง สามัญชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในฐานะทาส หรือเจ้าขุนมูลนาย มีอิสระในการประกอบอาชีพ การตั้งบ้านเรือน มีครอบครัว มีศักดินา 10-25 ไร่ และต้องสังกัดมูลนาย จะโยกย้ายสังกัดไม่ได้ ไพร่ที่ขึ้นสังกัดหรือสักเลกแล้ว จะปรากฏเครื่องหมายสังกัดที่ข้อมือ หากสามัญชนผู้ใดไม่ได้สังกัดมูลนายจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย ไพร่มีหน้าที่ในการถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเสีย "ส่วย" และถูกเกณฑ์ทหารในยามที่มีศึกสงคราม มีสองประเภทคือ ไพร่หลวง และ ไพร่สม

ไพร่หลวง คือไพร่ที่สังกัดกรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง ประเภทที่ต้องถูกเกณฑ์มาทำงานตามราชการกำหนด และประเภทที่ต้องเสียเงินหรือสิ่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงานหรือที่เรียกว่า "ไพร่ส่วย" การส่งเงินมาแทนการเกณฑ์แรงงาน เงินที่ส่งมาเรียกว่า "เงินค่าราชการ"

ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้มูลนายและขุนนางที่มีตำแหน่งทางราชการเพื่อผลประโยชน์ตอบแทน มูลนายจะมีไพร่มากน้อยขึ้นอยู่กับ ยศ ตำแหน่ง ศักดินา ไพร่สมต้องทำงานให้ราชสำนักปีละ 1 เดือน ส่วนเวลาที่เหลือรับใช้มูลนายหรือส่งเงินแทน เมื่อถึงยามสงครามทุกคนต้องเป็นทหารป้องกันอาณาจักร เมื่อมูลนายถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรจะขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา

ระบบไพร่ดำรงอยู่จนกระทั่งถึงกลางสมัยรัตนโกสินทร์ และค่อย ๆ จางหายไปเอง เมื่อมีการนำระบบภาษีอากร และระบบเกณฑ์ทหารแบบสมัยใหม่มาใช้[ต้องการอ้างอิง]

การใช้งานในปัจจุบัน

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นำคำว่า "ไพร่" มาใช้ในการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 โดยหมายถึง ประชาชนธรรมดาที่เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์[1] แต่ก็ได้มีข้อโต้แย้งจากนักวิชาการว่า เป็นเพียงการสร้างวาทะกรรม โดยมีวาระซ้อนเร้นในการสร้างเรื่องแบ่งชนชั้นเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองเท่านั้น เพราะคำว่าไพร่ มักจะมานำมาใช้ คู่กับคำว่า อำมาตย์ ซึ่งไม่ได้ระบุเพียงองคมนตรี แต่อาจพาดพิงไปยังเบื้องสูงอีกด้วย <ref>[1]

อ้างอิง

  • พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน 2542.
  1. ถอดรหัส “ไพร่” กับ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้สัมภาษณ์ เสถียร วิริยะพรรณพงศา และอรรถยุทธ บุตรศรีภูมิ, กรุงเทพธุรกิจ, 25 มีนาคม 2553

ดูเพิ่ม