ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แมงกะพรุนสาหร่าย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าใหม่: {{Taxobox | image = Avispa marina cropped.png | image_width = | image_caption = แมงกะพรุนสาหร่ายไม่ทราบชนิด (''Chi...
 
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
Plesiosaur ย้ายหน้า Chironex ไปยัง แมงกะพรุนสาหร่าย: ชื่อสามัญภาษาไทย
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:39, 29 มิถุนายน 2556

แมงกะพรุนสาหร่าย
แมงกะพรุนสาหร่ายไม่ทราบชนิด (Chironex sp.)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Cnidaria
ชั้น: Cubozoa
อันดับ: Chirodropida
วงศ์: Chirodropidae
สกุล: Chironex
Southcott, 1956
ชนิด

แมงกะพรุนสาหร่าย หรือ สาโหร่ง (อังกฤษ: Sea wasp) เป็นแมงกะพรุนจำพวกแมงกะพรุนกล่องสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Chironex

ซึ่งคำว่า Chironex นั้น มีรากศัพท์จากคำว่า "chiro" (Χέρι) ในภาษากรีก แปลว่า "มือ" กับคำว่า "nex" ภาษาละตินแปลว่า "ความตาย"[1]

แมงกะพรุนสาหร่าย หรือที่ชาวประมงชาวไทยนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "สาหร่า่ยทะเล" เป็นแมงกะพรุนสีขาว หรือเหลืองแกมแดง มีสายยาวต่อจากลำตัวหลายเส้น แต่ละเส้นยาวประมาณ 1.50 เมตร มีการเคลื่อนไหวได้น้อย อาศัยกระแสน้ำพัดพาไปยังที่ต่าง ๆ เมื่อมีพายุคลื่นลมแรง หนวดจะขาดจากลำตัว ลอยไปตามน้ำ แต่ยังสามารถทำอันตรายผู้ที่สัมผัสถูกได้ ซึ่งทำให้ไหม้เกรียม และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามกล้ามเนื้อ จุกแน่นหน้าอกในรายที่แพ้รุนแรง และเป็นไข้ อาการเป็นอยู่ 2-3 วัน จึงทุเลาหายไป แต่อาการหนักก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เป็นแมงกะพรุนที่ีมีถิ่นแพร่กระจายอยู่ทะเลน้ำตื้นรวมถึงป่าชายเลนแถบตอนเหนือของออสเตรเลีย[2] ในน่านน้ำไทยพบแถบทะเลชุมพร และหัวหิน เป็นต้น[3] [4]

การจำแนก

ปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • Chironex fleckeri Southcott, 1956 - เป็นแมงกะพรุนกล่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีหนวดยืดยาวได้ถึุง 3 เมตร และมีพิษร้ายแรงที่สุด และมีเซลล์เข็มพิษมากที่สุด อาจมีมากได้ถึง 4-5,000,000,000 เซลล์[3]
  • Chironex yamaguchii Lewis & Bentlage, 2009 - เป็นชนิดที่เพิ่งค้นพบใหม่ มีขนาดเล็กกว่าชนิดแรกมาก[2]

อ้างอิง

  1. มฤตยูในสายน้ำ
  2. 2.0 2.1 TV with Teeth - KILLER JELLYFISH, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556
  3. 3.0 3.1 สัตว์มีพิษในทะเลไทย:แมงกะพรุน
  4. แมงกะพรุน (jellyfish)

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chironex ที่วิกิสปีชีส์