ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jotterbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: gv:Sleih-champ Auschwitz
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
[[fy:Auschwitz]]
[[fy:Auschwitz]]
[[gl:Auschwitz-Birkenau]]
[[gl:Auschwitz-Birkenau]]
[[gv:Sleih-champ Auschwitz]]
[[he:אושוויץ]]
[[he:אושוויץ]]
[[hr:Sabirni logor Auschwitz]]
[[hr:Sabirni logor Auschwitz]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:01, 22 มกราคม 2556

ทางเข้าค่ายกักกันเอาชวิทซ์

ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หรือ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา (อังกฤษ: Auschwitz concentration camp หรือ Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีของนาซีเยอรมนีที่ทำการระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ชื่อของค่ายกักกันมาจากชื่อของเมือง "ออชเฟียนชิม" (Oświęcim) หลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ออชเฟียนชิมของโปแลนด์ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีและเปลี่ยนชื่อเป็นเอาชวิทซ์ (Auschwitz) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเยอรมัน[1] ส่วนเบียร์เคเนา (Birkenau) เป็นชื่อในภาษาเยอรมันที่แผลงมาจาก "บเจชิงคา" (Brzezinka, ต้นเบิร์ช) ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ไม่ไกลนักที่ต่อมาถูกเยอรมนีทำลายเกือบทั้งหมด

ผู้บังคับบัญชาการของค่ายรูดอล์ฟ เฮิสส์ (Rudolf Höss) ให้การในการพิจารณาคดีที่นูเรมเบิร์ก (Nuremberg Trials) ว่าประชากรถึงราว 3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ แต่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนาปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน[2][3] ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ถูกสังหารเป็นชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป[4] ผู้ประสบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมก๊าซโดยใช้ก๊าซ Zyklon B การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอยาก การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกสังหารตัวต่อตัว และ “การทดลองทางแพทย์”

ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้เสียชีวิต โปแลนด์ก็ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ณ ที่ตั้งของค่ายกักกันของสองค่าย เมื่อมาถึง ค.ศ. 1994 ก็มีผู้มาเยี่ยมค่ายกักกันถึง 22 ล้านคน - 700,000 คนต่อปี - ที่ผ่านประตูที่มีอักษรบนเหล็กดัดเหนือประตูว่า “การทำงานนำมาซึ่งอิสรภาพ” (Arbeit macht frei) วันปลดปล่อยค่ายกักกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1945 โดยกองทัพโซเวียต เป็นวันที่ระลึกของวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์นานาชาติ (International Holocaust Remembrance Day), วันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์ในสหราชอาณาจักร และวันรำลึกในวาระที่คล้ายคลึงกันในประเทศอื่น ๆ

อ้างอิง

  1. Up to then, there had been no special significance attached to the name; for example, "Duke of Auschwitz" was for centuries one of the minor titles held by the Habsburg Emperors, which at the time was completly innocuous and unimportant.
  2. Brian Harmon, John Drobnicki, Historical sources and the Auschwitz death toll estimates, The Nizkor Project
  3. Piper, Franciszek & Meyer, Fritjof. "Die Zahl der Opfer von Auschwitz. Neue Erkentnisse durch neue Archivfunde", Osteuropa, 52, Jg., 5/2002, pp. 631-641, (review article).
  4. Piper, Franciszek Piper. "The Number of Victims" in Gutman, Yisrael & Berenbaum, Michael. Anatomy of the Auschwitz Death Camp, Indiana University Press, 1994; this edition 1998, p. 62.

ดูเพิ่ม

แม่แบบ:Link FA