ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามกลางเมืองซีเรีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต แก้ไข: cs:Občanská válka v Sýrii
HiW-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต ลบ: sk:Nepokoje v Sýrii (2011 - súčasnosť)
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[sah:Өрө туруу Сирияҕа]]
[[sah:Өрө туруу Сирияҕа]]
[[sh:Građanski rat u Siriji]]
[[sh:Građanski rat u Siriji]]
[[sk:Nepokoje v Sýrii (2011 - súčasnosť)]]
[[sr:Грађански рат у Сирији]]
[[sr:Грађански рат у Сирији]]
[[sv:Upproret i Syrien 2011–2012]]
[[sv:Upproret i Syrien 2011–2012]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:41, 15 สิงหาคม 2555

การก่อการกำเริบในซีเรีย พ.ศ. 2554-2555 เป็นความขัดแย้งรุนแรงภายในที่กำลังดำเนินอยู่ในซีเรีย เป็นส่วนหนึ่งของอาหรับสปริงในวงกว้างกว่า ซึ่งเป็นคลื่นการเปลี่ยนแปลงรุนแรงทั่วโลกอาหรับ การเดินขบวนสาธารณะเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554 และพัฒนาไปสู่การก่อการกำเริบทั่วประเทศ ผู้ประท้วงเรียกร้องให้ประธานาธิบดี บัชชาร อัลอะสัด ลาออกจากตำแหน่ง ล้มรัฐบาลของเขา และการสิ้นสุดการปกครองของพรรคบาธนานเกือบห้าทศวรรษ

รัฐบาลซีเรียวางกำลังกองทัพซีเรียเพื่อปราบปรามการก่อการกำเริบ และหลายนครถูกล้อม[1][2] ตามการบอกเล่าของพยาน ทหารผู้ปฏิเสธจะเปิดฉากยิงใส่พลเรือนถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดโดยกองทัพซีเรีย[3] รัฐบาลซีเรียปฏิเสธรายงานการแปรพักตร์ และกล่าวโทษ "แก๊งติดอาวุธ" ที่ก่อปัญหา[4] ปลาย พ.ศ. 2554 พลเรือนและผู้แปรพักตร์จากกองทัพก่อตั้งหน่วยต่อสู้ ซึ่งเริ่มการทัพจลาจลต่อกองทัพซีเรีย ผู้ก่อการรวมตัวกันภายในธงของกองทัพซีเรียเสรี และต่อสู้แบบมีระเบียบเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ส่วนที่เป็นพลเรือนของฝ่ายต่อต้านติดอาวุธขาดผู้นำที่จัดระเบียบ การก่อการกำเริบดังกล่าวแฝงการแบ่งพวก แม้ไม่มีกลุ่มใดในความขัดแย้งได้อธิบายการแบ่งพวกว่ามีบทบาทสำคัญ มุสลิมนิกายซุนนีย์มีมากที่สุดในฝ่ายต่อต้าน ที่ซึ่งบุคคลในรัฐบาลระดับสูงเป็นมุสลิมนิกายชีอะฮ์อาลาวิยะห์[5] อัสซาดมีรายงานว่าได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอาลาวิยะห์และคริสต์จำนวนมากในประเทศ

ตามแหล่งข้อมูลอ้างโดยสหประชาชาติ มีผู้เสียชีวิตมากถึง 8,000-11,000 ศพ ซึ่งมีผู้ประท้วงเป็นหลัก แต่ยังมีกลุ่มติดอาวุธ 2,000-3,600 คนรวมอยู่ด้วย[6][7][8] มีผู้ได้รับบาดเจ็บสูงกว่านี้มาก และผู้ประท้วงหลายหมื่นคนถูกจำคุก ตามข้อมูลของรัฐบาลซีเรีย มีระหว่าง 5,100-6,000 คน รวมทั้งสมาชิกกำลังความมั่นคง 1,800-2,700 นาย ผู้ก่อความไม่สงบอีกมากกว่า 800 คน และพลเรือนเกือบ 2,500 คนเสียชีวิตในการสู้รบกับสิ่งที่พวกเขาบรรยายว่าเป็น "กลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธ"[9] สหประชาชาติอ้างนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลซีเรีย[10] โดยกล่าวหาว่ามีเด็กเสียชีวิตมากกว่า 400 ศพ[11][12] รัฐบาลซีเรียปฏิเสธ โดยระบุว่าข้ออ้างจากทางการยูเอ็นนั้นตั้งอยู่บนรายงานข่าวผิด ๆ ซึ่งมีกำหนดมาจากกลุ่มต่อต้าน[13] นอกเหนือจากนี้ มีผู้ต้องขังและนักโทษการเมืองเกิน 600 คนเสียชีวิตเพราะถูกทรมาน[14] ยูนิเซฟรายงาน โดยอ้างจากกลุ่มต่อต้าน ว่ามีเด็กเสียชีวิตมากกว่า 400 ศพ[15][16] และเด็กอีก 400 คนมีรายงานว่าถูกจับกุมและทรมานในเรือนจำซีเรีย[17]

อ้างอิง

  1. "Syrian army tanks 'moving towards Hama'". BBC News. 5 May 2011. สืบค้นเมื่อ 20 January 2012.
  2. "'Dozens killed' in Syrian border town". Al Jazeera. 17 May 2011. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  3. "'Defected Syria security agent' speaks out". Al Jazeera. 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 21 June 2011.
  4. "Syrian army starts crackdown in northern town". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  5. Sengupta, Kim (20 February 2012). "Syria's sectarian war goes international as foreign fighters and arms pour into country". The Independent. Antakya. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
  6. "Red Cross delivers aid to Syrian city of Hama". 27 February 2012. สืบค้นเมื่อ 27 February 2012.
  7. Arab League delegates head to Syria over 'bloodbath'
  8. "Number as a civil / military". Translate.googleusercontent.com. สืบค้นเมื่อ 6 February 2012.
  9. 1,128-2,000 security forces (15 March-22 December), 651 security forces (23 December-10 February),[1] 13 security forces (14 February),[2] 12 security forces (28 February),[3] 700 insurgents (15 March-13 September),[4] 16 insurgents (25 November),[5] 27 insurgents (26 December-20 January),[6] 30 insurgents (3-5 February),[7] 11 insurgents (1 February),[8] 3 insurgents (29 February),[9] 24 insurgents (1 March),[10] 2,493 civilians (15 March-18 January),[11] total of 5,108-5,980 reported killed
  10. http://www.cbc.ca/thecurrent/episode/2012/02/10/syrias-security-forces-targeting-hospitals/
  11. "UNICEF says 400 children killed in Syria unrest". Google News. Geneva. Agence France-Presse. 7 February 2012. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
  12. Peralta, Eyder (3 February 2012). "Rights Group Says Syrian Security Forces Detained, Tortured Children: The Two-Way". NPR. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  13. http://www.sana.sy/print.html?sid=400319&newlang=eng
  14. Fahim, Kareem (5 January 2012). "Hundreds Tortured in Syria, Human Rights Group Says". The New York Times.
  15. http://news.yahoo.com/unicef-says-400-children-killed-syria-unrest-162328551.html
  16. http://www.unmultimedia.org/radio/english/2012/02/unicef-says-400-children-killed-in-syria/
  17. "UNICEF says 400 children killed in Syria". The Courier-Mail. 8 February 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.