ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พืชไร่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: bn:শস্য (ফসল)
AvocatoBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: qu:Chakra yura
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
[[nl:Gewas]]
[[nl:Gewas]]
[[pl:Plon]]
[[pl:Plon]]
[[qu:Chakra yura]]
[[ru:Сельскохозяйственные культуры]]
[[ru:Сельскохозяйственные культуры]]
[[sh:Poljoprivredna kultura]]
[[sh:Poljoprivredna kultura]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:08, 8 กรกฎาคม 2555

พืชไร่เป็นไม้ประเภทไม้ล้มลุกและไม้ทนแล้ง ต้องการน้ำน้อย มีอายุการปลูกและการเก็บเกี่ยวไม่นาน และเมื่อให้ผลผลิตแล้วลำต้นก็จะตาย พืชไร่ถือเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรของประเทศไทย พืชไร่ที่จัดเป็นพืชเศรษฐกิจนำรายได้มาสู่ประเทศไทยอย่างมาก เช่น อ้อย เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำตาลทราย ข้าวโพด เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารสัตว์ มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งและอาหารสัตว์ ซึ่งวิทยาลัยเกษตรกรรมได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชไร่อย่างมีคุณภาพ เช่น ส่งเสริมให้เกษตรกรป,กมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งให้ผลผลิตสูง ทนโรค ส่งเสริมการปลูกสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติหวานกรอบ เป็นต้น

การจำแนกพืชไร่

พืชไร่สามารถจำแนกตามประโยชน์ใช้งานได้เป็น พืชอาหารสัตว์ พืชใช้เมล็ด พืชคลุมดิน พืชหัว พืชสมุนไพร พืชเส้นใย พืชน้ำมัน พืชน้ำตาล เป็นต้น

ตัวอย่างพืชไร่

ประเภทอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพด ข้างฟ่าง ประเภทใช้เมล็ด ได้แก่ ข้าวโพด ข้างฟ่าง และต้นถั่วสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ประเภทคลุมดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว ประเภทใช้หัว ได้แก่ มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง ประเภทสมุนไพร ได้แก่ ฟ้าทลายโจร ตะไคร้หอม ขมิ้น ประเภทเส้นใย ได้แก่ ฝ้าย ปอ ป่าน ประเภทให้น้ำมัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ละหุ่ง ทานตะวัน งา ประเภทให้น้ำตาล ได้แก่ อ้อย มะพร้าว ตาล

พืชอุตสาหกรรม

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการเกษตร ซึ่งการเกษตรถือเป็นรากฐานของประเทศไทย มีการปลูกพืชประเภทพืชสวนเป็นจำนวนมากและพืชสวนที่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและด้านพลังงานทดแทน โดยมีการใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซลซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท ซึ่งน้ำมันที่เป็นทรัพยากรโลกก็เริ่มลดน้อยลง และส่งผลให้ราคายิ่งสูงขึ้น ประเทศไทยมีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 10 ล้านไร่ ภายในปี 2572 นอกจากปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชอุสากรรมของไทยแล้ว ยังมี กาแฟ ชา และมะคาเดเมีย ซึ่งมีการปลูกทางภาคใต้และภาคเหนือของประเทศไทย ทำรายได้เข้าสู่ประเทศและทำรายได้ให้เกษตรกรในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
ปาล์มน้ำมัน
ชื่อสามัญ Oil palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeis guineensis Jacq.
ถิ่นกำเนิด แถบแอฟริกาตะวันตก
ความสำคัญ เป็นพืชน้ำมันที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่นทั้งด้านการผลิตและด้านการตลาด ส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันปาล์มต่อน้ำมันพืชของโลก มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากร้อยละ 11.7 ในช่วงปี 2519 – 2543 เพิ่มเป็นร้อยละ 27.5 ในช่วงปี 2544 – 2548 และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 31.2 ในช่วงปี 2549 – 2563 โดยมีประเทศผู้ผลิตสำคัญคือมาเลเซียและอินโดนิเซีย
สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นจาก 69,625 ไร่ในปี 2520 เป็น 2.04 ล้านไร่ใน 2546 และน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่มีส่วนแบ่งการผลิตสูงสุดของอุตสาหกรรมน้ำมันพืชของประเทศไทย คือ มีส่วนแบ่งการผลิตถึงร้อยละ 73 และมีส่วนแบ่งการบริโภคน้ำมันร้อยละ 62 ของน้ำมันพืชทุกชนิด

ในส่วนของการส่งเสริมวิชาชีพเกษตรของวิทยาลัยเกษตรกรรมทั่วทั้งประเทศไทยก็ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพพืชไร่ชนิดต่าง ๆ

อ้างอิง

เอกสารวิชาการงานราชพฤกษ์ 2549:กรมวิชาการ “พืชอุตสาหกรรม”