ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ปลาเสือตอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
}}
}}
{{wikispecies|Datnioididae}}
{{wikispecies|Datnioididae}}
'''วงศ์ปลาเสือตอ''' ([[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]]: Datnioididae, {{lang-en|Siamese tiger fish}}) ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม (ปลาที่มีก้านครีบ) Ray-finned fishes ใน[[อันดับปลากะพง]] (Perciformes) ซึ่งเป็นปลาที่ปากยาว จงอยปากสามารถยืดได้ เป็นปลากินเนื้อ ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 13 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ก้านครีบเดี่ยวก้านที่ 2 ของครีบก้นยาวกว่าก้านครีบเดี่ยวก้านที่ 1 และ 3 ขอบกระดูกแก้มชิ้นกลางเป็นฟันจักแบบฟันเลื่อยชิ้นเล็ก ๆ เกล็ดเป็นแบบสาก เมื่อลูบแล้วจะรู้สึกหยาบ เกล็ดข้าง[[เส้นข้างลำตัว]]มีมากกว่า 50 แถว
'''วงศ์ปลาเสือตอ''' ([[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]]: Datnioididae, {{lang-en|Siamese tiger fish}}) ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ใน[[อันดับปลากะพง]] (Perciformes) ซึ่งเป็นปลาที่ปากยาว จงอยปากสามารถยืดได้ เป็นปลากินเนื้อ ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 13 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ก้านครีบเดี่ยวก้านที่ 2 ของครีบก้นยาวกว่าก้านครีบเดี่ยวก้านที่ 1 และ 3 ขอบกระดูกแก้มชิ้นกลางเป็นฟันจักแบบฟันเลื่อยชิ้นเล็ก ๆ เกล็ดเป็นแบบสาก เมื่อลูบแล้วจะรู้สึกหยาบ เกล็ดข้าง[[เส้นข้างลำตัว]]มีมากกว่า 50 แถว


พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาค[[เอเชียใต้]]จนถึง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] พบได้ทั้งใน[[น้ำจืด]], [[น้ำกร่อย]] และ[[น้ำเค็ม]]
พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาค[[เอเชียใต้]]จนถึง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] พบได้ทั้งใน[[น้ำจืด]], [[น้ำกร่อย]] และ[[น้ำเค็ม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:31, 16 กันยายน 2554

วงศ์ปลาเสือตอ
ไฟล์:Dat campbelli-1.jpg
เสือตอปาปัวนิวกินี (Datnioides campbelli)
เสือตอลายใหญ่ (Datnioides pulcher)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Datnioididae
สกุล: Datnioides
Bleeker, 1853
สปีชีส์: มีทั้งหมด 5 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
ชื่อพ้อง
  • Coius

วงศ์ปลาเสือตอ (วงศ์: Datnioididae, อังกฤษ: Siamese tiger fish) ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ซึ่งเป็นปลาที่ปากยาว จงอยปากสามารถยืดได้ เป็นปลากินเนื้อ ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 13 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ก้านครีบเดี่ยวก้านที่ 2 ของครีบก้นยาวกว่าก้านครีบเดี่ยวก้านที่ 1 และ 3 ขอบกระดูกแก้มชิ้นกลางเป็นฟันจักแบบฟันเลื่อยชิ้นเล็ก ๆ เกล็ดเป็นแบบสาก เมื่อลูบแล้วจะรู้สึกหยาบ เกล็ดข้างเส้นข้างลำตัวมีมากกว่า 50 แถว

พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม

พบเพียง 1 สกุล 5 ชนิด

มีลักษณะโดยรวมคือ มีปากยาว ยืดหดได้ สีลำตัวเป็นสีเหลืองหรือส้ม มีลายพาดตามลำตัว 6-8 เส้น ขนาดเล็กใหญ่และจำนวนต่างไปตามแต่ชนิด และถิ่นที่อยู่อาศัย มีพฤติกรรมชอบลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำ โดยส่วนหัวทิ่มลงเล็กน้อย กินสัตว์น้ำและแมลงเป็นอาหาร โดยวิธีการฉกงับ อย่างรวดเร็ว

เนื้อมีรสชาติอร่อย แต่ปัจจุบันนี้ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกจับเป็นจำนวนมาก และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่ราคาสูงด้วย

เดิมปลาในวงศ์นี้เคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Coiidae และ Lobotidae แต่ปัจจุบันได้มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีความแตกต่างกัน จึงแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก [1]

การจำแนก

  • เสือตอปาปัวนิวกินี (Datnioides campbelli) ขนาดลำตัวโตเต็มที่ประมาณ 36 เซนติเมตร พบในแหล่งน้ำบริเวณชายฝั่งในนิวกินีมีซี่เหงือกน้อยกว่า ปลาชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน และมีแถบลายที่ไม่ชัดเจน มีแถบขนาดเล็กแทรกระหว่าง แถบที่ 3 ขนาดใหญ่กลางลำตัว และแถบที่ 4 สีค่อนไปทางสีเงิน น้ำตาล จนไปถึงเหลืองอ่อนๆ เกล็ดมีขนาดใหญ่และหยาบ พบได้ในแหล่งน้ำกร่อยปากแม่น้ำ บึงใกล้ชายฝั่งเหนือระดับน้ำขึ้นน้ำลงแถบเกาะปาปัวนิวกีนี ประเทศอินโดนีเซีย
  • เสือตออินโดนีเซีย (Datnioides microlepis) ขนาดลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร มีลักษณะใกล้เคียงกับเสือตอลายใหญ่ แต่มีสีสันลำตัวและลายที่ไม่สดใสเท่า พบในอินโดนีเซีย

ดูบทความหลักที่ กะพงลาย

  • กะพงลาย (Datnioides polota) ขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร สีลำตัวออกขาวเหลือบเงิน เส้นลายมีขนาดเรียวเล็กที่สุด พบในบริเวณน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ ตั้งแต่อินเดียจนถึงปาปัวนิวกินี

ดูบทความหลักที่ เสือตอลายใหญ่

ดูบทความหลักที่ เสือตอลายเล็ก

  • เสือตอลายเล็ก (Datnioides undecimradiatus) ขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร สีออกขาว ลายมีเส้นเล็ก เกล็ดมีขนาดใหญ่กว่าเสือตอลายใหญ่ พบในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขา

อ้างอิง

  1. หน้า 133 หนังสือสาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ พ.ศ. 2547 ISBN 974-00-8738-8

แหล่งข้อมูลอื่น