ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pi@k (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 1337572 สร้างโดย 118.172.49.102 (พูดคุย)
Voraprachw (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
* [[คำกริยาช่วย]] (auxiliary verb) เป็นคำกริยาที่ช่วยเสริมไวยากรณ์ อาจไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น do have may
* [[คำกริยาช่วย]] (auxiliary verb) เป็นคำกริยาที่ช่วยเสริมไวยากรณ์ อาจไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น do have may
* [[คำนำหน้า]] (article) เป็นคำขยายคำนามใช้บ่งบอกสิ่งทั่วไป สิ่งที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว เช่น a an the le la
* [[คำนำหน้า]] (article) เป็นคำขยายคำนามใช้บ่งบอกสิ่งทั่วไป สิ่งที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว เช่น a an the le la
* [[คำลงท้าย]] (particle) เป็นคำที่ช่วยแสดงอารมณ์หรือเพิ่มความสุภาพให้กับประโยค เช่น ครับ ค่ะ คะ นะ


=== ใช้วิธีการสร้างคำเป็นเกณฑ์ ===
=== ใช้วิธีการสร้างคำเป็นเกณฑ์ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:05, 24 ตุลาคม 2551

คำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งคำหรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายใช้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป

ประเภทของคำ

ใช้หน้าที่ในประโยคเป็นเกณฑ์

  • คำนาม (noun) เป็นคำที่ใช้เป็นประธานหรือกรรมของประโยค บางทีก็ใช้ขยายคำนามด้วยกันได้ (มักจะหมายถึงวัสดุที่ใช้ทำ) เช่น ขวานทองคำ leather bag
  • คำสรรพนาม (pronoun) เป็นคำที่ใช้แทนคำนามในประโยค เมื่อคำนามนั้นถูกกล่าวถึง หรือเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว เช่น ฉัน คุณ he she it
  • คำกริยา (verb) เป็นคำหลักของภาคแสดงในประโยค ใช้บอกถึงท่าทาง อาการและสภาพของสิ่งต่างๆ เช่น เดิน หนาว have
  • คำวิเศษณ์ หรือ คำคุณศัพท์ (adjective) เป็นคำที่ใช้ขยายความของคำต่างๆ เช่น ฉันหิวมาก the beautiful day
  • คำบุพบท (preposition) เป็นคำที่ใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม และแสดงความสัมพันธ์ของคำนามนั้น เช่น กระเป๋า ของ ฉัน the revolution in 2006
  • คำสันธาน (conjunction) เป็นคำที่เชื่อมประโยคกับประโยค ให้กลายเป็นประโยคความรวมหรือประโยคความซ้อน เช่น เพราะฉะนั้น therefore
  • คำอุทาน (interjection) เป็นคำที่เสริมขึ้นมาในประโยค เพื่อให้ประโยคมีอรรถรสยิ่งขึ้น เช่น โอ้โห อืม

ในภาษาอื่นๆ อาจมีคำประเภทอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น เช่น

  • คำกริยาวิเศษณ์ (adverb) เป็นคำขยายคล้ายกับคำวิเศษณ์แต่ขยายเฉพาะคำกริยาเท่านั้น เช่น generally continuously
  • คำกริยาช่วย (auxiliary verb) เป็นคำกริยาที่ช่วยเสริมไวยากรณ์ อาจไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น do have may
  • คำนำหน้า (article) เป็นคำขยายคำนามใช้บ่งบอกสิ่งทั่วไป สิ่งที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว เช่น a an the le la

ใช้วิธีการสร้างคำเป็นเกณฑ์

  • คำมูล เป็นคำโดดซึ่งไม่ได้เกิดจากการประกอบของคำมูลอื่นเพิ่มเติม (ในกรณีนี้หมายถึง การจงใจประกอบคำอื่นเพื่อเป็นคำประสม แต่สำหรับตัวอย่างเช่น นารี ถึงแม้ว่า นา และ รี จะมีความหมาย แต่ นารี ไม่ได้เกิดจากการจงใจของการประกอบคำว่า นาและรี เลย) ไม่ได้ประกอบจากรากศัพท์สองรากศัพท์ขึ้นไป เช่น นาฬิกา dog 語 เป็นต้น
  • คำรวม เป็นคำที่เกิดจากการรวมคำมูลหรือคำประสมอื่นเข้าด้วยกันเป็นคำใหม่ มีการรวมอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
    • คำประสม เป็นการใส่คำใหม่โดยการเรียงคำไปเรื่อยๆ คล้ายวลี แต่กลุ่มคำนั้นกลับมีความหมายในลักษณะเจาะจงโดยไม่ได้เป็นการขยาย อาทิเช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ (มะม่วง+น้ำ+ดอกไม้) เป็น มะม่วงพันธุ์หนึ่ง หรือ deadlock (dead+lock) หมายถึงภาวะชะงักงัน เป็นต้น
    • คำที่ถูกรวมตามภาษา เกิดจากกฎการรวมตามไวยากรณ์ของภาษาเช่น คำสมาสสนธิในภาษาบาลี-สันสกฤต การประกอบคำจากรากศัพท์ในภาษาละติน ตัวอย่างเช่น กุศโลบาย (กุศล+อุบาย) Sphygmomanometer (Sphygmo+mano+meter) เป็นต้น