ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สามเหลี่ยมมรกต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Markpeak (คุย | ส่วนร่วม)
Markpeak (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15: บรรทัด 15:


==สมรภูมิช่องบก==
==สมรภูมิช่องบก==

เกิดขึ้นในช่วง เดือนมราคม พ.ศ.​ 2528-เดือนธันวาคม พ.ศ.​ 2530 เป็นสงครามระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพเวียดนามซึ่งควบคุมพื้นที่กัมพูชาในขณะนั้น โดยทางเวียดนามได้รุกล้ำเข้ามาในพรมแดนไทย ซึ่งสุดท้ายกองทัพไทยสามารถขับไล่ทหารเวียดนามกลับไปได้ แต่ก็ต้องสูญเสียชีวิตทหาร 109 นาย และบาดเจ็บ 664 นาย<ref>[http://www.wing21.rtaf.mi.th/wboard/question.asp?GID=1001 กระดานข่าว กองบิน 21 กองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ]</ref>


==ความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต==
==ความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:20, 19 กรกฎาคม 2551

สามเหลี่ยมมรกต (Emerald triangel) หรือ ช่องบก เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างชายแดนไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 12 ตร.ก.ม. สำหรับพื้นที่ส่วนที่อยู่ในประเทศไทย คือ พื้นที่ในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ในเขตประเทศลาวคือ แขวงจำปาสัก ส่วนพื้นที่ในประเทศกัมพูชาคือ จังหวัดพระวิหาร

สามเหลี่ยมมรกตตั้งชื่อเลียนแบบ สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของไทย ลาว และพม่า ในภาคเหนือ

ภูมิศาสตร์

จุดผ่านแดน

จุดผ่านแดนอย่างเป็นทางการของพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต มีดังนี้

  1. กัมพูชา (Chorm) – ไทย (ช่องสะงำ ศรีสะเกษ)
  2. กัมพูชา (Don Kralor) – ลาว (Veunkham)
  3. ลาว (วังเต่า) – ไทย (ช่องเม็ก อุบลราชธานี)

การเดินทาง

สมรภูมิช่องบก

เกิดขึ้นในช่วง เดือนมราคม พ.ศ.​ 2528-เดือนธันวาคม พ.ศ.​ 2530 เป็นสงครามระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพเวียดนามซึ่งควบคุมพื้นที่กัมพูชาในขณะนั้น โดยทางเวียดนามได้รุกล้ำเข้ามาในพรมแดนไทย ซึ่งสุดท้ายกองทัพไทยสามารถขับไล่ทหารเวียดนามกลับไปได้ แต่ก็ต้องสูญเสียชีวิตทหาร 109 นาย และบาดเจ็บ 664 นาย[1]

ความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต

เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 3 ประเทศที่อยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมมรกต เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นผู้เสนอ โดยฝ่ายไทยนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อ 12 กุมภาพันธ์​ พ.ศ.​ 2545 และดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หน่วยงานของไทยที่รับผิดชอบคือ กระทรวงการต่างประเทศ และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization: WTO) และ UNDP เป็นต้น[2]

อ้างอิง

  1. กระดานข่าว กองบิน 21 กองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ
  2. สามเหลี่ยมมรกต เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น