พิลิปดา
พิลิปดา | |
---|---|
ระบบการวัด | หน่วยที่ยอมรับให้ใช้แก่ระบบเอสไอ |
เป็นหน่วยของ | มุม |
สัญลักษณ์ | ″ |
การแปลงหน่วย | |
1 ″ ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
องศา | 13600° |
ลิปดา | 160′ |
เอสไอ | π648000 เรเดียน |
พิลิปดา หรือ วิลิปดา (สันสกฤต: विलिप्ता) หรือ อาร์กวินาที (arcsecond, second of arc หรือ second[1]) มักเขียนแทนด้วยเครื่องหมาย ″ เป็นหน่วยของมุมมีค่าเป็น 1/60 ของลิปดา
หนึ่งพิลิปดาคือ 1/3600 ขององศา และเนื่องจาก 1 องศาเท่ากับ 1/360 ของเส้นรอบวง ดังนั้น 1 พิลิปดาจึงเท่ากับ 1/1296000 (≈ 7.7×10−7) ของเส้นรอบวง 1 เรเดียน มีค่าประมาณ 206265 พิลิปดา
สำหรับในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หน่วยสำหรับมุมและมุมเฟสคือเรเดียน แต่หน่วยองศารวมถึงลิปดาและพิลิปดาก็ถือเป็นหน่วยที่ยอมรับให้ใช้แก่ระบบเอสไอด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างการใช้งาน
[แก้]ในทางดาราศาสตร์ ระยะทาง 1 พาร์เซกถูกกำหนดให้เป็นระยะทางไปยังวัตถุที่มีพารัลแลกซ์ดาวฤกษ์เท่ากับ 1 พิลิปดา โดยหนึ่งพาร์เซกมีขนาดประมาณ 3.26 ปีแสง
โลกหมุนรอบตัวเองด้วยลองจิจูด 15″ ในหนึ่งวินาที โดยจะหมุน 15° ทุก ๆ ชั่วโมง และ 15′ ทุก ๆ นาที ความยาวส่วนโค้งเมริเดียน ที่ตรงกับ ละติจูด 1″ ของโลกนั้นอยู่ที่ประมาณ 30 เมตร
หน่วยย่อยโดยคำอุปสรรค
[แก้]สำหรับในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ ในเอกสารระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 9 ปี 2019) ได้ระบุไว้ว่าในบางสาขาวิชา เช่น ดาราศาสตร์ อาจมีการใช้คำอุปสรรคเอสไอเพื่อแสดงมุมที่มีขนาดเล็กมากด้วยค่าดังต่อไปนี้[2]
- มิลลิพิลิปดา (milliarcsecond, mas) = 10-3 พิลิปดา
- ไมโครพิลิปดา (microarcsecond, µas) = 10-6 พิลิปดา
- พิโกพิลิปดา (picoarcsecond, pas) = 10-12 พิลิปดา
หน่วยเหล่านี้จะใช้เมื่อหน่วยพิลิปดามีขนาดใหญ่เกินไป เช่น เมื่อแสดงถึง พารัลแลกซ์ดาวฤกษ์ หรือ การเคลื่อนที่ที่เฉพาะของดาวฤกษ์[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ The International System of Units, 9th edition, 2019 p.145, Table 8
- ↑ SI国際文書第9版(2019)、p.114 表8 注(b)
- ↑ 角度表示 天文学辞典、公益社団法人 日本天文学会