พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย
พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีถึง 6,000 MW หรือ 6 GW ภายในปี 2036.[2] ในปี 2013 กำลังการผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวและมีถึง 704 MW ในสิ้นปี.[3] ปลายปี 2015 มีความจุทั้งหมด 2,500-2,800 MW หรือ 2.5-2.8 GW ประเทศไทยมีกำลังการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์มากกว่าทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกัน
ประเทศไทยมีศักยภาพในด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะทางใต้และเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุดรธานี และบางบริเวณพื้นที่ในภาคกลาง ประมาณ 14.3% ของประเทศมีการรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 19-20 MJ/ตารางเมตร/วัน ในขณะที่ 50% ของประเทศได้รับประมาณ 18-19 MJ/ตารางเมตร/วัน ถ้าเป็นในแง่ของศักยภาพ ประเทศไทยยังล้าหลังกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา แต่นำหน้าประเทศญี่ปุ่นอยู่[4]
ลพบุรีโซลาร์ที่มีกำลังการผลิต 84 MW สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์เยอรมณี Conergy เซ็นสัญญากับ Siam Solar Energy เพื่อสร้างแผงโซลาร์ 10.5 MW 3 แผงเพิ่มขึ้นมาจาก 2 แผงที่ยังอยู่ในระหว่างการสร้างตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงในปี 2012[5]
แบบแผนการซื้อ
[แก้]ในปี 2015 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งประเทศไทย(ERC) ได้ประกาศแนวปฏิบัติใหม่สำหรับการซื้อไฟฟ้าจาก ground-mounted solar projects ทดแทนแบบแผน “adder” ด้วยแบบแผน “feed-in-tariff”(FiT) แนวปฏิบัติใหม่นี้มุ่งที่จะฟิ้นฟูการลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนของประเทศไทยหลังจากเงียบหายไปตั้งแต่ปี 2014 มีมากกว่า 100 โครงการที่มีความจุรวมกว่า 1,000 MW ที่ยังไม่ได้รับการยอมรับภายในเงื่อนไขแบบแผน adder และ feed-in-tariff[6]
สถิติ
[แก้]
รังสีแสงอาทิตย์ในกรุงเทพมีค่าเฉลี่ย 5.04 ชั่วโมงต่อวัน[7] |
Year | ความจุสะสม (MWp) | การติดตั้งประจำปี (MWp) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
On-grid | Off-grid | ทั้งหมด | On-grid | Off-grid | ทั้งหมด | |
2005 | 1.77 | 22.11 | 23.88 | 0.01 | 13.04 | 13.05 |
2006 | 1.86 | 28.66 | 30.52 | 0.09 | 6.55 | 6.64 |
2007 | 3.61 | 28.90 | 32.51 | 1.74 | 0.24 | 1.98 |
2008 | 4.06 | 29.34 | 33.39 | 0.45 | 0.44 | 0.89 |
2009 | 13.67 | 29.49 | 43.17 | 9.62 | 0.16 | 9.77 |
2010 | 19.57 | 29.65 | 49.22 | 5.89 | 0.16 | 6.05 |
2011 | 212.80 | 29.88 | 242.68 | 193.23 | 0.23 | 193.46 |
2012 | 357.38 | 30.19 | 387.57 | 144.89 | 0.15 | 145.04 |
2013 | 794.07 | 29.73 | 823.80 | 436.69 | -0.45a | 436.24 |
2014 | 1,268.77 | 229.73 | 1,298.51 | 474.71 | 0 | 474.71 |
2015b | 1,299.62 | 230.03 | 1,329.65 | 722[8] | 0.29 | 31.15 |
แหล่งที่มา: IEA-PVPS, Annual Report 2015 (AR2015)[9] Notes:
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Global Horizontal Irradiation (GHI): Thailand". solargis. สืบค้นเมื่อ 5 Mar 2015.
- ↑ Jittapong, Khettiya (2015-07-12). "Thailand ignites solar power investment in Southeast Asia". Reuters. Reuters UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-25. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24.
- ↑ "Snapshot of Global PV 1992-2013" (PDF). 2nd Edition. International Energy Agency - Photovoltaic Power Systems Programme. 2014. p. 8. ISBN 978-3-906042-19-0. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 2018-04-29.
- ↑ "Areas with solar power potential". Thailand Ministry of Energy, Department of Alternative Energy Development and Efficiency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-07. สืบค้นเมื่อ 5 Mar 2015.
- ↑ "Thailand turns to solar power". Investvine.com. 2013-02-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-02-25.
- ↑ "Solar power in Thailand: new power purchase scheme creates investment opportunities". www.nortonrosefulbright.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-29. สืบค้นเมื่อ 2015-09-23.
- ↑ "PV Watts". US National Renewable Energy Laboratory (NREL). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2014. สืบค้นเมื่อ 9 Jul 2012.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-23. สืบค้นเมื่อ 2018-04-29.
- ↑ IEA-PVPS, Annual Report 2015 (AR2015), p. 105, 27 May 2016