พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา | |
พระวรวงศ์เธอ | |
ประสูติ | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2378 |
สิ้นพระชนม์ | 16 กันยายน พ.ศ. 2457 (พระชันษา 80 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | ปราโมช |
พระราชบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ |
พระมารดา | หม่อมพลับ ปราโมช ณ อยุธยา |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2378 - 16 กันยายน พ.ศ. 2457) (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าปรีดา ปราโมช) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ กับหม่อมพลับ ปราโมช ณ อยุธยา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในรัชกาลที่ 5[1] และบังคับการกรมช่างกระจก สืบต่อจากพระบิดา
พระองค์เจ้าปรีดา ประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2378 ได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ 5 พระองค์เจ้าปรีดาทรงปรีชาสามารถในด้านการช่าง จนได้ตำแหน่งบังคับการกรมช่างกระจก ต่อจากพระบิดา และทรงสะสมเครื่องโต๊ะ เครื่องลายคราม จนทรงเชี่ยวชาญ ในสมัยนิยมเล่นเครื่องโต๊ะ ทรงได้รับการนับถือว่าเป็นอาจารย์ เรียกกันในหมู่ผู้นิยมว่า มหามุนี เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้เล่นเครื่องโต๊ะทั่วไป พระองค์เจ้าปรีดาสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2457 พระชันษา 80 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 ในการออกพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์ แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 5 ชั้น เป็นพระเกียรติยศ
เมื่อคราวออกพระเมรุ หม่อมราชวงศ์ลิ้นจี่ ปราโมช ได้กราบทูลขอให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบพัดพระราชทาน สมเด็จในกรม จึงทรงออกแบบเป็นรูปเครื่องลายครามอย่างจีน มีกระถางกำยานตรงกลาง ทำเป็นลายว่า ปรีดา ซ้ายเป็นส้มมือ ขวาเป็นแจกันดอกบัว มีลายค้างคาว นมพัดเป็นลายหยินหยาง พิมพ์ลายบนผ้าสีชมพู[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2442 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) [4]
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2443 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5][6]
- - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 (ม.ป.ร.4) [7]
- - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2) [8]
พงศาวลี
[แก้]16. สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก | ||||||||||||||||
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | ||||||||||||||||
17. สมเด็จพระราชชนนีดาวเรือง | ||||||||||||||||
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | ||||||||||||||||
9. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี | ||||||||||||||||
2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ | ||||||||||||||||
10. พระอินทรอากร (อิน ไกรฤกษ์) | ||||||||||||||||
5. เจ้าจอมมารดาอัมพา ในรัชกาลที่ 2 | ||||||||||||||||
11. คุณหญิงอินทรอากร | ||||||||||||||||
1. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา | ||||||||||||||||
3. หม่อมพลับ ปราโมช ณ อยุธยา | ||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การประชุมองคมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 9 หน้า 319 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/038/319.PDF
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 หน้า 625 วันที่ 28 มกราคม 118
- ↑ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.210
- ↑ พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 17 หน้า 359
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 9 หน้า 350
- ↑ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.210
- ↑ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.210