พระบาบ

พิกัด: 32°48′52″N 34°59′14″E / 32.81444°N 34.98722°E / 32.81444; 34.98722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาบ
สักการสถานพระบาบที่ไฮฟา, ประเทศอิสราเอล
คำนำหน้าชื่อThe Primal Point
ส่วนบุคคล
เกิด
อะลี มุฮัมมัด

20 ตุลาคม ค.ศ. 1819(1819-10-20)
เสียชีวิต9 กรกฎาคม ค.ศ. 1850(1850-07-09) (30 ปี)
แทบรีซ, อิหร่านของกอญัร
สาเหตุการเสียชีวิตถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้าแบบชุดทีม
ที่ฝังศพสักการสถานพระบาบ
32°48′52″N 34°59′14″E / 32.81444°N 34.98722°E / 32.81444; 34.98722
ศาสนาลัทธิบาบี
สัญชาติเปอร์เซีย
คู่สมรสKhadíjih-Bagum (1842–1850)
พี่/น้องสาวของ Mullá Rajab Ali[1][2]
บุตรอะฮ์มัด (1843–1843)
บุพการีซัยยิด มุฮัมมัด ริฎอ (พ่อ)
Fátimih Bagum (แม่)
อาชีพพ่อค้า

ซิยยิด อะลี มุฮัมมัด ชีรอซีย์ หรือ พระบาบ[3] ศาสนิกชนบาไฮในไทยเรียก พระบ๊อบ[4][5] (เปอร์เซีย: سيد علی ‌محمد شیرازی; ตุลาคม พ.ศ. 2362 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2393) เป็นศาสดาผู้ก่อตั้งลัทธิบาบี

ประวัติ[แก้]

พระบาบ มีนามเดิมว่าซิยยิด อะลี มุฮัมมัด ชีรอซีย์ เขาประกาศตัวว่าเป็นทายาทของกาซิม รัชติ ผู้นำทางศาสนาคนหนึ่ง หลังจากนั้นเขาได้อ้างว่าตนเองเป็นประตูสู่อิหม่ามมะฮ์ดี อิหม่ามคนที่ 12 ตามความเชื่อของมุสลิมชีอะฮ์ ต่อมาเขากลับอ้างว่าเป็นอิหม่ามมะฮ์ดีเสียเอง และในท้ายที่สุดอ้างตนเป็นผู้เผยพระวจนะคนหนึ่ง[6]

พระบาบจำคุกระหว่าง พ.ศ. 2390 – 2391 ที่เมืองมากู ระหว่างนี้ เขาได้เขียนคัมภีร์บายันที่ถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของขบวนการ บาบปฏิเสธอัลกุรอานและคัมภีร์อื่น ๆ ก่อนหน้านี้ และให้เมืองชิราชเป็นศูนย์กลางของศาสนาแทนมักกะฮ์ ผู้เลื่อมใสลัทธินี้ใช้การรบและความรุนแรงเพื่อนำไปสู่จุดหมาย ทำลายระเบียบทางสังคมดั้งเดิมของอิหร่านเพื่อเริ่มศักราชของศาสนาใหม่ จึงถูกทางรัฐบาลปราบปรามอย่างรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2391 – 2393 บาบเองถูกจับและประหารชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2393

อ้างอิง[แก้]

  1. Browne, Edward Granville (1961). The Bábí Religion (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 220. ISBN 9780521043427. สืบค้นเมื่อ 20 September 2017.
  2. Smith, Peter (2013). A Concise Encyclopedia of the Baháʼí Faith (ภาษาอังกฤษ). Oneworld Publications. p. 71. ISBN 9781780744803. สืบค้นเมื่อ 20 September 2017.
  3. "อัล-บาบิยะฮฺ และอัล-บะฮาอิยะฮฺ" (PDF). สภายุวมุสลิมโลก. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013.
  4. "พระบาฮาอุลลาห์ และพระปฏิญญาของพระองค์". ศาสนาบาไฮ. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ศาสนสถานสำคัญในศาสนาบาไฮ". วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-19. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. สาคร ช่วยประสิทธิ์. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 327