พรหมจารีโดยสาบานในบอลข่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรหมจารีโดยสาบานชาวฮอตี แอเบเนียใต้ปกครองออตโตมัน ในศตวรรษที่ 20

พรหมจารีโดยสาบานในบอลข่าน (อังกฤษ: Balkan sworn virgins) หรือ บูร์เนชา (แอลเบเนีย: burrnesha) หมายถึงผู้หญิงที่สาบานตนเป็นพรหมจารีและใช้ชีวิตดั่งผู้ชายในสังคมปิตาธิปไตยทางตอนเหนือของแอลเบเนีย, คอซอวอ และมอนเตเนโกร พรหมจารีโดยสาบานยังเคยมีหรือพบอยู่บ้างในบอลข่านตะวันตก ซึ่งรวมถึงภูมิภาคของบอสเนีย, แดลเมชียในโครเอเชีย, เซอร์เบีย และ มาซิโดเนียเหนือ[1]

ในยุคสมัยที่ผู้หญิงมีหน้าที่ทำตามที่บัญญัติไว้ (prescribed role) บูร์เนชาจะละทิ้งอัตลักษณ์ทางเพศ การสืบพันธุ์ และอัตลักษณ์ทางสังคมทิ้ง เพื่อให้ได้รับอิสรภาพเช่นเดียวกับผู้ชาย เมื่อสาบานตนแล้ว บูร์เนชาจะสามารถแต่งกายอย่างผู้ชาย เป็นหัวหน้าครอบครัว เดินทางหาสู่ได้โดยอิสระ และทำงานในอาชีพที่สงวนไว้สำหรับผู้ชายเท่านั้น[2] สารคดีชุด ทาบู ปี 2002 ของเนชั่นนอลจีโอกราฟิก รายงานว่าในอัลเบเนียมีพรหมจารีโดยสาบานเหลืออยู่ไม่ถึง 102 คน[3] แม้จะไม่มีจำนวนที่แน่นอน ข้อมูลจากปี 2022 ประมาณว่ามีบูร์เนชาอยู่รวมสิบสองคนที่ยังหลงเหลืออยู่ในอัลเบเนียเหนือและคอซอวอ[2] พรหมจารีโดยสาบานที่มีชื่อเสียง เช่น สตานา เซรอวิช

ที่มา[แก้]

ธรรมเนียมการสาบานตนเป็นพรหมจารีในแอลเบเนียพัฒนาขึ้นมาจาก Kanuni i Lekë Dukagjinit (อังกฤษ: กฎบัตรของ Lekë Dukagjini หรือเรียกโดยย่อว่า กานุน; kanun),[4] ซึ่งเป็นชุดของกฎบัตร (codes and laws) ที่พัฒนาขึ้นโดย Lekë Dukagjini และถูกนำมาใช้ส่วนใหญ่ในแอลเบเนียเหนือกับคอซอวอนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ถึงศตวรรษที่ 20 กานุน นี้ไม่ถือเป็นเอกสารทางศาสนา และกลุ่มทางศาสนาต่าง ๆ นำเอากฎนี้มาปฏิบัติ ทั้งศาสนิกชนของออร์ทอดอกซ์แอลเบเนีย, คาทอลิก ไปจนถึง มุสลิม[5]

กฎ กานุน บังคับให้ครอบครัวจะต้องมีลักษณะส่งต่อทางบิดา (patrilineal; ความมั่งคั่งจะถูกส่งต่อทางสมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้ชาย) และเป็นแบบภรรยาแต่งเข้าบ้านสามี (patrilocal)[6] ผู้หญิงในบริบทของกฎนี้ถูกปฏิบัติดั่งสมบัติของครอบครัว และไม่มีสิทธิ์หลายประการ เช่น ผู้หญิงห้ามสูบบุหรี่ห้ามสวมนาฬิกาข้อมือ ไปจนถึงห้ามลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของท้องถิ่น ผู้หญิงยังห้ามถือครองที่ดิน และมีอาชีพจำนวนมากที่ถูกจำกัดไม่ให้ผู้หญิงทำ ไปจนถึงมีสถานที่บางประเภทที่ห้ามผู้หญิงเข้าโดยเด็ดขาด[5][7]

ภาพรวม[แก้]

บุคคลหนึ่งสามารถมาสาบานตนเป็นพรหมจารีได้ทุกช่วงอายุ ทั้งด้วยความประสงค์ของตนเอง หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของพ่อแม่[8] พิธีการสาบานตนจะเปล่งถ้อยคำสาบานซึ่งมิอาจถอนได้ ต่อหน้าผู้นำหรือผู้อาวุโสสิบสองคนของหมู่บ้าน โดยจะสาบานไว้ว่าจะถือครองพรหมจรรย์ จากนั้น พรหมจารีโดยสาบานบางส่วนอาจเลือกใช้ชีวิตที่เหลืออยู่เป็นชาย คล้ายผู้ชาย[9] และอาจใช้สรรพนามผู้ชายในการสนทนา ทั้งที่เรียกตนเองและสำหรับคนอื่นเรียกตน แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นเสมอไป[10] บางส่วนอาจแต่งกายเป็นชาย ใช้ชื่อผู้ชาย พกปืน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ประกอบอาชีพผู้ชาย ถือตนเป็นหัวหน้าครอบครัว (เป็นต้นว่าอาศัยกับแม่และพี่สาวน้องสาว) เล่นดนตรี ขับร้อง นั่ง และเข้าสังคมกับผู้ชาย[7][11][9]

การละเมิดคำสาบานตนนี้ในอดีตถือว่าต้องโทษเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าในปัจจุบันยังมีการลงโทษเช่นนี้อยู่หรือไม่[7] กระนั้น ชุมชนมักจะปฏิเสธบุคคลที่ละเมิดคำสาบานนี้[7] เป็นการลงโทษทางสังคม

ดูเพิ่ม[แก้]

  • หญิงซัมซุย - ประเพณีคล้ายกันในชาวจีนโพ้นทะเลในแหลมมลายู
  • บาชาปูช - ประเพณีคล้ายกันในปากีสถานกับอัฟกานิสถาน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Stana Cerović, poslednja crnogorska virdžina" [Stana Cerović, the last Montenegrin virgin] (ภาษาเซอร์เบีย). National Geographic Serbia. 28 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2016.
  2. 2.0 2.1 McLean, Tui (10 December 2022). "The last of Albania's 'sworn virgins'". BBC News.
  3. "Taboo S1E9: Sexuality (Documentary)" (video 1h 36'). National Geographic – โดยทาง YouTube.
  4. From Turkish Kanun, which means law. It is originally derived from the Greek kanôn (κανών) as in canon law,
  5. 5.0 5.1 Becatoros, Elena (October 6, 2008). "Tradition of sworn virgins' dying out in Albania". Die Welt. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-22.
  6. "Crossing Boundaries:Albania's sworn virgins". jolique. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Zumbrun, Joshua (August 11, 2007). "The Sacrifices of Albania's 'Sworn Virgins'". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
  8. Magrini, Tullia, บ.ก. (2003). Music and Gender: Perspectives from the Mediterranean. Chicago: University of Chicago Press. p. 294. ISBN 0226501655.
  9. 9.0 9.1 Murray, Stephen O.; Roscoe, Will; Allyn, Eric (1997). Islamic Homosexualities: Culture, History, and Literature. New York: New York University Press. pp. 198 and 201. ISBN 0814774687.
  10. Andreas Hemming, Gentiana Kera, Enriketa Pandelejmoni, Albania: Family, Society and Culture in the 20th Century (2012, ISBN 3643501447), page 168: Others relate to them as men, usually using male pronouns both in addressing them and in speaking of them.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Elsie 2010 435

บรรณานุกรม[แก้]

  • Littlewood, Roland; Young, Antonia (2005). "The Third Sex in Albania: An Ethnographic Note". ใน Shaw, Alison; Ardener, Shirley (บ.ก.). Changing Sex and Bending Gender. Berghahn Books. ISBN 1-84545-053-1.
  • Whitaker, Ian (July 1981). ""A Sack for Carrying Things": The Traditional Role of Women in Northern Albanian Society". Anthropological Quarterly. The George Washington University Institute for Ethnographic Research. 54 (3): 146–156. doi:10.2307/3317892. JSTOR 3317892.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]