พญาขุนฟอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พญาขุนฟอง
กษัตริย์น่าน
องค์ที่ 1 แห่งราชวงศ์ภูคา
ราชาภิเษกพ.ศ. 1825
ครองราชย์พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1845
รัชกาล20 ปี
ก่อนหน้าสถาปนาราชวงศ์
ถัดไปพญาเก้าเกื่อน
พระราชสมภพราวพุทธศตวรรษที่ 18
สวรรคตพ.ศ. 1845 ณ เมืองวรนคร
พระมเหสีพระนางคำแดงเทวี
พระราชบุตรเจ้าเก้าเกื่อน
ราชวงศ์ราชวงศ์ภูคา
พระราชบิดาพญาภูคา
พระราชมารดานางพญาจำปาชายา

พญาขุนฟอง หรือ เจ้าขุนฟอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์น่าน แห่งราชวงศ์ภูคา ปกครองเมืองวรนคร (เมืองปัว) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1825[1] ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองใน พญาภูคา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ภูคา (กาวน่าน) ที่ปกครองเมืองย่าง ต่อมาพญาภูคา มีดำริห์ที่จะขยายพระราชอาณาเขตของพระองค์ให้กว้างใหญ่ พระองค์จึงโปรดให้ เจ้าขุนนุ่น ผู้เป็นพระราชโอรสองค์โต ไปครองเมืองจันทรบุรี หรือ(เมืองหลวงพระบาง) ในปัจจุบัน และโปรดให้ เจ้าขุนฟอง ผู้เป็นพระราชโอรสองค์เล็ก ไปครองเมืองวรนคร หรืออำเภอปัว ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 1825

พระประวัติ[แก้]

ตามพงศาวดาร กล่าวว่า เจ้าพญาภูคา เจ้าเมืองย่าง (อยู่ในท้องที่ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว) มีราชบุตร 2 องค์ องค์พี่ชื่อ “ขุนนุ่น” องค์น้องชื่อ “ขุนฟอง” เมื่อเจริญวัยขึ้น พระมหาเถรแตงได้สร้างเมืองทางฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขงชื่อว่า จันทบุรี (เมืองหลวงพระบาง)ให้แก่ขุนนุ่นผู้พี่ แล้วสร้างเมืองริมฝั่งแม่น้ำน่านชื่อว่า“วรนคร” [2]ให้แก่ขุนฟองผู้น้องและปันอาณาเขตของสองเมืองขึ้นคือฝ่ายวรนครทิศเหนือถึงเมืองท่านุ่นริมฝั่งแม่น้ำโขง ทิศใต้สุดศาลเมืองล่าง (เข้าใจว่าเป็นเมืองย่าง) เป็นแดน กาลเวลาดังกล่าวตกอยู่ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัย ทางอาณาจักรล้านนาก็มีพญางำเมืองเป็นเจ้าเมืองพะเยาและพญามังรายเป็นเจ้านครเชียงราย ในขั้นแรกที่สร้างเมืองนี้ขึ้นนั้น ไม่ปรากฏศักราชว่าเป็นพุทธศักราช 1865 ก็ต่อเมื่อเจ้าเมืองวรนครได้ล่วงไปแล้วถึง 2 องค์ ถ้าจะคาดคะเนตามเหตุการณ์ในพงศาวดารเมืองน่านตอนนี้และนับถอยหลังหวนไปหาการตั้งเมืองวรนครแล้ว ก็ไม่เกิน 40 ปี คือประมาณ พ.ศ. 1825

ราชตระกูล[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า พญาขุนฟอง ถัดไป
- กษัตริย์น่าน
องค์ที่ 1 แห่งราชวงศ์ภูคา

(พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1845)
พญาเก้าเกื่อน