ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์
ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | Anguilliformes Anguilliformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตูหนา Anguillidae |
สกุล: | Anguilla Anguilla J. E. Gray, 1842 |
สปีชีส์: | Anguilla dieffenbachii |
ชื่อทวินาม | |
Anguilla dieffenbachii J. E. Gray, 1842 |
ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand longfin eel; เมารี: Tuna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla dieffenbachii) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลาตูหนา (Anguillidae)
ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์ เป็นปลาตูหนาขนาดใหญ่ มีลักษณะที่แตกต่างจากปลาตูหนาชนิดอื่น ๆ จากครีบหลังที่ยาวกว่าครีบท้อง มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 180 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 18 กิโลกรัม โดยตัวที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลกเป็นตัวเมียอายุกว่า 106 ปี น้ำหนักกว่า 24 กิโลกรัม [3] เป็นปลาที่กระจายพันธุ์เฉพาะในแหล่งน้ำจืด ตามแม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบต่าง ๆ ของนิวซีแลนด์ ทั้งเกาะเหนือ และเกาะใต้ จัดเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าที่สุดด้วย โดยในช่วงปีแรกลูกปลาจะมีความยาวเพียง 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่มีการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิต และจะตายหลังจากนั้น ซึ่งอายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้แก่ 23 ปี สำหรับตัวผู้ 24 ปี สำหรับตัวเมีย โดยว่ายน้ำอพยพไปวางไข่กลางมหาสมุทรแปซิฟิค ที่อยู่ไกลไปถึง 8,047 กิโลเมตร ในระหว่างการเดินทางนี้ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์จะเปลี่ยนตัวเองให้มีสีเข้มขึ้น ส่วนหัวเล็กลง และดวงตาโตขึ้นเกือบ 2 เท่า และไม่กินอาหาร เมื่อปลาตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อผสมกับไข่ของตัวเมียแล้ว ทั้งคู่ก็จะตาย ก่อนที่ลูกปลาที่ฟักออกมาจะอพยพกลับมายังนิวซีแลนด์ตามสัญชาตญาณและกระแสน้ำในมหาสมุทร[3][4]
ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์ เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อชาวเมารี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ โดยเป็นแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนที่สำคัญ จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญในการประมงและการเพาะเลี้ยง[3][5][6]
มีเรื่องกล่าวขานกันว่า ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์สามารถที่จะทะลวงเข้าไปในทวารหนักของแกะที่อยู่บนฝั่ง และกัดกินอวัยวะที่อยู่ภายในได้ แต่ในความจริงแล้ว ปลาไหลครีบยาวนิวซีแลนด์เป็นปลากินเนื้อ กินสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา รวมถึงสัตว์ที่มีเปลือกแข็งเป็นอาหาร และเศษเนื้อหรือเลือดของสัตว์ที่ตายแล้วด้วย เมื่องับเหยื่อได้แล้วจะบิดตัวเหมือนสว่านได้ถึง 700 รอบต่อวินาที ซึ่งนับว่าเร็วกว่าสว่านไฟฟ้าเสียอีก[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pike, C.; Crook, V.; Gollock, M. (2019). "Anguilla dieffenbachii". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T197276A154802213. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T197276A154802213.en. สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
- ↑ Goodman, J.M.; Dunn, N.R.; Ravenscroft, P.J.; Allibone, R.M.; Boubee, J.A.T.; David, B.O.; Griffiths, M.; Ling, N.; Hitchmough, R.A; Rolfe, J.R. (2014). "Conservation status of New Zealand freshwater fish, 2013" (PDF). New Zealand Threat Classification Series 7.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Jellyman, D. J. (2009). Forty years on – the impact of commercial fishing on stocks of New Zealand freshwater eels (Anguilla spp.). Paper presented at the Eels at the edge: science, status, and conservation concerns. Proceedings of the 2003 International Eel symposium, Bethesda, Md.
- ↑ Doole, G. J. (2005). Optimal management of the New Zealand longfin eel (Anguilla dieffenbachii). Australian Journal of Agricultural and Resource Economics, 49(4), 395-411. doi:10.1111/j.1467-8489.2005.00310.x
- ↑ Potangaroa, J. (2010). Tuna Kuwharuwhau - The Longfin Eel.
- ↑ McDowall, R. M. (1990). New Zealand freshwater fishes: a natural history and guide (Rev. ed.). Auckland: Heinemann-Reed.
- ↑ Untold Stories, "River Monsters". สารคดีทางดิสคัฟเวอรี่แชนแนล ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 30 มกราคม 2556
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Longfin eels discussed on RadioNZ Critter of the Week, 18 March 2016
- Longfin Eel information from NIWA NZ
- Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2006). "Anguilla dieffenbachii" in FishBase. February 2006 version.
- Saving Tuna (Documentary)