ปลาอีโต้มอญ
ปลาอีโต้มอญ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ |
อันดับ: | Carangiformes |
วงศ์: | Coryphaenidae |
สกุล: | Coryphaena (Linnaeus, 1758) |
สปีชีส์: | Coryphaena hippurus |
ชื่อทวินาม | |
Coryphaena hippurus (Linnaeus, 1758) | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ปลาอีโต้มอญ เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Percifoemes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coryphaena hippurus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอีโต้ (Coryphaenidae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิดเท่านั้น [3]
ปลาอีโต้มอญเป็นปลาที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการตกปลาเป็นเกมกีฬา เช่นเดียวกับปลากระโทง (Istiophoridae) หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื่องจากเป็นปลาที่สู้เบ็ดและมีความสวยงามเมื่อเวลาตก และนิยมจับเพื่อการประมงเชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งประเทศในแถบแคริบเบียนเป็นกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากปลาอีโต้มอญกลุ่มใหญ่ของโลก ส่วนหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปมีปริมาณการบริโภคเพิ่มมากขึ้นทุกปี และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่บริโภคปลาชนิดนี้เป็นปริมาณมากเช่นกัน
ชื่อเรียก
[แก้]ปลาอีโต้มอญยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ในภาษาไทย เช่น "หน้ามอม", "อีโต้", "มงเจ้าเลือด", "โต้มอญ" หรือ "สีเสียดอินเดีย" เป็นต้น ส่วนชื่อ mahi-mahi ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาฮาวาย[4]ที่หมายถึง 'แข็งแรงมาก'[5] ในภาษาเปอร์เซีย mahi (ماهی) หมายถึง 'ปลา' โดยบังเอิญ แต่คำว่า mahi-mahi เป็นภาษาฮาวาย ในพื้นที่แปซิฟิกและชายฝั่งแอฟริกาใต้ที่พูดภาษาอังกฤษ ปลาชนิดนี้มักเรียกจากชื่อในภาษาสเปนว่า dorado[6]
ลินเนียสตั้งชื่อสกุลจากศัพท์ภาษากรีกว่า κορυφή, koryphe หมายถึง 'บน' หรือ 'ยอด' ใน ค.ศ. 1758 ชื่อพ้องของปลาชนิดนี้ได้แก่ Coryphaena argyrurus, Coryphaena chrysurus และ Coryphaena dolfyn[2]
รายละเอียด
[แก้]ปลาอีโต้มอญมีลำตัวยาวเรียว แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นลำตัวจะกว้างขึ้นและแบนข้างเล็กน้อย หัวงุ้มลง ทำให้มีรูปร่างคล้ายมีดโต้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีเกล็ดเล็กละเอียด ปากกว้างและเฉียงขึ้น ฟันเล็กละเอียด ครีบหลังยาวเริ่มตั้งแต่บริเวณโหนกหัวไปจนถึงโคนหาง ครีบหางใหญ่เว้าลึกรูปส้อม ตัวผู้มีโหนกหัวนูนออกไปข้างหน้าเป็นแนวตั้งฉากกับปากคล้ายกับโลมา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเมียจะมีโหนกหัวลาดลง ปลาขนาดโตเต็มวัยลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียว ข้างตัวมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัว
ปลาอีโต้มอญมีความยาวตั้งแต่ 40–100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดไม่ใหญ่ อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก และมักขึ้นมาหากินและหาอาหารบริเวณผิวน้ำ มักพบอยู่บริเวณข้างเกาะแก่ง ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้หรือซากอวนที่ลอยมาตามน้ำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่องไว ว่ายน้ำได้เร็วมาก กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Collette, B.; Acero, A.; Amorim, A.F.; Boustany, A.; Canales Ramirez, C.; Cardenas, G.; Carpenter, K.E.; de Oliveira Leite Jr.; N.; Di Natale, A.; Fox, W.; Fredou, F.L.; Graves, J.; Viera Hazin, F.H.; Juan Jorda, M.; Minte Vera, C.; Miyabe, N.; Montano Cruz, R.; Nelson, R.; Oxenford, H.; Schaefer, K.; Serra, R.; Sun, C.; Teixeira Lessa, R.P.; Pires Ferreira Travassos, P.E.; Uozumi, Y.; Yanez, E. (2011). "Coryphaena hippurus". IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T154712A4614989. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-2.RLTS.T154712A4614989.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2019). "Coryphaena hippurus" in FishBase. August 2019 version.
- ↑ จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
- ↑ Mary Kawena Pukui; Samuel Hoyt Elbert (2003). "lookup of dolphin". in Hawaiian Dictionary. Ulukau, the Hawaiian Electronic Library, University of Hawaii Press.
- ↑ "mahimahi" (ภาษาอังกฤษ). Te Aka Māori Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2022-09-02.
- ↑ "Fish detail". WWF SASSI (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-10. สืบค้นเมื่อ 2018-05-31.
- ↑ อีโต้มอญ จากสนุกดอตคอม
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2004). "Coryphaena hippurus" in FishBase. October 2004 version.
- Dolphinfish Monterey Bay Aquarium
- Oceana's Sustainable Seafood Guide
- Dolphinfish Florida Museum
- Dolphinfishes from iNaturalist
- Atlantic Mahi Mahi NOAA FishWatch. Retrieved 11 November 2012.
- Pacific Mahi Mahi NOAA FishWatch. Retrieved 11 November 2012.