ปลาหูช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาหูช้าง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน-ปัจจุบัน
ปลาหูช้างครีบยาว (P. teira) ที่มอริเชียส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Acanthuroidei
วงศ์: Ephippidae
สกุล: Platax
Cuvier, 1816
ชนิดต้นแบบ
Chaetodon teira
Bloch & Schneider, 1801
ชนิด
ดูในเนื่้อหา

ปลาหูช้าง[1] หรือ ปลาค้างคาว (อังกฤษ: Batfishes) เป็นสกุลของปลาทะเลในสกุล Platax [1]จัดอยู่ในวงศ์ Ephippidae หรือวงศ์ปลาหูช้าง

คำว่า Platax มาจากคำว่า "Platys" ซึ่งเป็นภาษากรีก มีความหมายว่า "แบน" หมายถึงรูปร่างที่แบนข้างโดยทั่วไปของปลาสกุลนี้ โดยมีชื่อสามัญที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ปลาค้างคาว" อันเนื่องจากรูปร่างที่แลดูคล้ายค้างคาวมาก โดยเฉพาะเมื่อยามเป็นปลาวัยอ่อน[2]

ปลาหูช้าง กระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการังและซากเรือจมหรือเศษวัสดุต่าง ๆ ในท้องทะเล[3] พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก, ทะเลแดง จนถึงภาคตะวันออกของออสเตรเลีย, ทางเหนือของเกาะริวกิว และพบได้ในมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลแคริบเบียน[3][4]

ปลาหูช้าง ขยายพันธุ์ด้วยการออกไข่แบบปล่อยลอยตามน้ำ เมื่อฟักเป็นตัวอ่อน จะใช้ชีวิตล่องลอยแบบแพลงก์ตอน จนเจริญเติบโตขึ้นมาอีกระดับลงสู่พื้น โดยมากจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในเขตที่เป็นรอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม มีรูปร่างลักษณะคล้ายค้างคาวหรือใบไม้สีน้ำตาลแก่มาก[5] บางชนิดเข้ามาอยู่ในแนวปะการัง มีครีบหลังและครีบท้องยาวมาก ลูกปลาหูช้างมักอยู่ตามพื้นด้านนอกแนวปะการังตอนกลางวัน กลางคืนถึงเข้ามาในแนวปะการัง อยู่ตามชายขอบแนวในที่ลึก อยู่นิ่ง ๆ ตามพื้นเพื่อหลบผู้ล่าตอนกลางคืน เนื่องจากเป็นปลาที่หากินในเวลากลางวัน[6]

ลูกปลาหูช้างที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายค้างคาว

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามและเลี้ยงเพื่อแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมบริโภคกันในท้องถิ่น ทำให้ในปัจจุบัน ปลาหูช้างพบได้น้อยลง

แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่

และพบเป็นซากฟอสซิล[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "หูช้าง". ราชบัณฑิตยสถาน. 13 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
  2. Cuvier, Georges (1816). Le Règne Animal distribué d'après son organisation pour servir de base à l'histoire naturelle des animaux et d'introduction à l'anatomie comparée. Les reptiles, les poissons, les mollusques et les annélides. Règne Animal (ed. 1) i-xviii (1st ed.). p. 532.
  3. 3.0 3.1 Myers, R. F. (1991). Micronesian reef fish (2nd ed.). Barrigada, Guam: Coral Graphics. p. 298.
  4. Pickrell, John (2004-06-01). "Freed pet fish threaten native species, study says". National Geographic News. National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2009-01-13.
  5. นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ, ปลาทะเลสวยงาม ที่เพาะพันธุ์ได้ ในประเทศไทย คอลัมน์ "Blue Planet" หน้า 137. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 21: มีนาคม 2012
  6. "ปลาค้างคาว". jintawitshop.tripod.com/. 13 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
  7. Paleobiology Database[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Platax ที่วิกิสปีชีส์