ปลาปล้องอ้อย
ปลาในทวีปอเมริกาใต้ ดูที่: ปลาปล้องอ้อย
ปลาปล้องอ้อย | |
---|---|
ปลาปล้องอ้อยคูลี่ (P. kuhlii) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cobitidae |
สกุล: | Pangio Blyth, 1860 |
ชนิดต้นแบบ | |
Cobitis cinnamomea McClelland, 1839[1] | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาปล้องอ้อย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pangio (/แพน-กิ-โอ/)
มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ต่ำ ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง[2] ลำตัวมีสีต่าง ๆ ต่างออกไปตามแต่ละชนิด ตั้วแต่ มีลำตัวสีเหลืองทองมีแถบสีดำ ในชนิด P. anguillaris, สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว ในชนิด P. oblonga และเป็นสีดำสลับกับสีเหลืองเป็นปล้อง ๆ ในชนิด P. kuhlii และ P. myersi
มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูงในลำธารน้ำตกหรือป่าพรุ หรือแม้แต่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ มีการเคลื่อนไหวที่แลดูคล้ายการเลื้อยของงู ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารจำพวก แมลงน้ำหรือแพลงก์ตอนสัตว์น้ำ จึงทำให้ได้อีกชื่อว่า "ปลางู" ซึ่งในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาอาด"
พบกระจายพันธุ์อินเดียจนถึงพม่า, ภูมิภาคอินโดจีน จนถึงหมู่เกาะซุนดา มีความสัมพันธ์ต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในชนิด P. kuhlii และ P. myersi และใช้บริโภคในชนิด P. anguillaris
ค้นพบครั้งแรกบริเวณลุ่มน้ำทางใต้ของประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ในขั้นแรกพบ 10 ชนิด[3]
การจำแนก
[แก้]ปัจจุบันจำแนกออกเป็น 32 ชนิด โดยเป็นการพบที่หมู่เกาะซุนดาถึงกว่า 16 ชนิด[4]
- Pangio agma (M. E. Burridge, 1992)
- Pangio alcoides Kottelat & K. K. P. Lim, 1993
- Pangio alternans Kottelat & K. K. P. Lim, 1993
- Pangio ammophila Britz, Anvar Ali & Raghavan, 2012[5]
- Pangio anguillaris (Vaillant, 1902) (ปลาสายทอง)
- Pangio apoda Britz & Maclaine, 2007
- Pangio atactos H. H. Tan & Kottelat, 2009
- Pangio bitaimac H. H. Tan & Kottelat, 2009
- Pangio cuneovirgata (Raut, 1957)
- Pangio doriae (Perugia, 1892)
- Pangio elongata Britz & Maclaine, 2007
- Pangio filinaris Kottelat & K. K. P. Lim, 1993
- Pangio fusca (Blyth, 1860)
- Pangio goaensis (Tilak, 1972) (ปลาปล้องอ้อยอินเดีย)
- Pangio incognito Kottelat & K. K. P. Lim, 1993
- Pangio kuhlii (Valenciennes, 1846) (ปลางูคูลี่, ปลาปล้องอ้อยคูลี่)
- Pangio lidi Hadiaty & Kottelat, 2009
- Pangio longimanus Britz & Kottelat, 2010
- Pangio lumbriciformis Britz & Maclaine, 2007
- Pangio malayana (Tweedie, 1956)
- Pangio mariarum (Inger & P. K. Chin, 1962)
- Pangio muraeniformis (de Beaufort, 1933)
- Pangio myersi (Harry, 1949) (ปลาปล้องอ้อยตะวันออก)
- Pangio oblonga (Valenciennes, 1846)
- Pangio pangia (F. Hamilton, 1822) (ปลางูแม่ฮ่องสอน)
- Pangio piperata Kottelat & K. K. P. Lim, 1993
- Pangio pulla Kottelat & K. K. P. Lim, 1993
- Pangio robiginosa (Raut, 1957)
- Pangio semicincta (Fraser-Brunner, 1940)
- Pangio shelfordii (Popta, 1903)
- Pangio signicauda Britz & Maclaine, 2007
- Pangio superba (T. R. Roberts, 1989)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Blyth, E.; 1860: Report on some fishes received chiefly from the Sitang River and its tributary streams, Tenasserim Provinces. Journal of the Asiatic Society of Bengal, 29 (2): 138-174.
- ↑ ความหมายของคำว่า ปล้องอ้อย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ ปล้องอ้อยตะวันออก ปลาที่พบได้ที่เดียว โดยไบโอเทค[ลิงก์เสีย]
- ↑ Kottelat, M. (2012): Conspectus cobitidum: an inventory of the loaches of the world (Teleostei: Cypriniformes: Cobitoidei). เก็บถาวร 2013-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, Suppl. No. 26: 1-199.
- ↑ Britz, R., Ali, A. & Raghavan, R. (2012): Pangio ammophila, a new species of eel-loach from Karnataka, southern India (Teleostei: Cypriniformes: Cobitidae). Ichthyological Exploration of Freshwaters, 23 (1): 45-50.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pangio ที่วิกิสปีชีส์