ปลาตะเพียนหยดน้ำ
ปลาตะเพียนหยดน้ำ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน Cypriniformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae |
วงศ์ย่อย: | ปลาบาร์บ Barbinae |
สกุล: | สกุลเดสโมพุนชัส Desmopuntius (Koumans, 1940) |
สปีชีส์: | Desmopuntius rhomboocellatus |
ชื่อทวินาม | |
Desmopuntius rhomboocellatus (Koumans, 1940) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาตะเพียนหยดน้ำ (อังกฤษ: Snakeskin barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmopuntius rhomboocellatus)[1] เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
มีรูปร่างคล้ายกับปลาเสือสุมาตรา ( Puntigrus tetrazona) หรือปลาเสือข้างลาย (P. partipentazona) ซึ่งเดิมเคยอยู่ร่วมสกุลเดียวกัน แต่ปลาตะเพียนหยดน้ำมีรูปร่างที่ยาวกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน มีสีลำตัวน้ำตาลออกส้ม มีสีดำเป็นรูปหยดน้ำ 4-5 แถบ เป็นลักษณะเด่น มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 8.8 เซนติเมตร (3.5 นิ้ว)[2]
มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงเหมือนปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยแพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ติดกับใบของไม้น้ำ ไข่ฟักเป็นตัวภายใน 24-36 ชั่วโมง พบเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีสีชา ด้วยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (Ph) ของน้ำต่ำกว่า 7 เช่น น้ำในป่าพรุ บนเกาะบอร์เนียว
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ รวมกับปลาชนิดอื่น ๆ จัดเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายมาก สามารถกินได้ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป[3] [4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kottelat, M. (2013): The Fishes of the Inland Waters of Southeast Asia: A Catalogue and Core Bibliography of the Fishes Known to Occur in Freshwaters, Mangroves and Estuaries. เก็บถาวร ธันวาคม 2, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.
- ↑ Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2013). "Desmopuntius rhomboocellatus" in FishBase. October 2013 version.
- ↑ ปลาบาร์บ, หน้า 99 ปลาสำหรับตู้พรรณไม้น้ำ คอลัมน์ Mini Fishes โดย อ๊อด Melanochromis / Apistoensis. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 ปีที่ 2 กรกฎาคม 2012
- ↑ Snakeskin Barb (อังกฤษ)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Desmopuntius rhomboocellatus ที่วิกิสปีชีส์