ข้ามไปเนื้อหา

ปลาดุกมูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาดุกมูน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Bagridae
สกุล: Bagrichthys
สปีชีส์: B.  obscurus
ชื่อทวินาม
Bagrichthys obscurus
Ng, 1999
ชื่อพ้อง

ปลาดุกมูน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagrichthys obscurus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีส่วนหัวสั้น จะงอยปากเล็ก ตาเล็กมาก มีหนวดสั้น 4 คู่ คู่ที่อยู่ด้านล่างจะเป็นเส้นแบนบิดเป็นเกลียว ริมฝีปากเล็กเป็นจีบ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังสูง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังยกสูงและครีบอกแข็งเป็นก้านแข็งปลายคม ตัวมีสีคล้ำหรือน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง ปลาวัยอ่อนมีแถบเฉียงสีจางพาดขวางลำตัว ครีบสีจาง หางใส มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 30 เซนติเมตร

พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำโขง มีพฤติกรรมมักหากินบริเวณท้องน้ำที่มีน้ำขุ่นจัดๆ วางไข่ในฤดูฝน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี อร่อย มีราคาสูง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่หากถูกเลี้ยงในน้ำใสนานๆ จะเปลี่ยนเป็นสีดำล้วน เว้นแต่ส่วนหางและหนวดโดยหนวดจะเปลี่ยนเป็นสีขาวสว่าง และเป็นปลาที่ไม่อยู่รวมกันเป็นฝูง จึงมักพบอยู่กับปลาหน้าดินชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้เห็นตัวไม่ง่ายเช่นกัน เพราะในช่วงกลางวันมันจะซ่อนตัว และออกหากินเฉพาะกลางคืนเท่านั้น

ปลาดุกมูน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลาแขยงหนู", "ปลาแขยงหมู", "ปลากดหมู" หรือ "ปลาแขยงดาน" เป็นต้น[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 235. ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]