ข้ามไปเนื้อหา

ปลากระเบนขนุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากระเบนขนุน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Myliobatiformes
วงศ์: Dasyatidae
สกุล: Urogymnus
Müller & Henle, 1837[2]
สปีชีส์: U.  asperrimus
ชื่อทวินาม
Urogymnus asperrimus
(Bloch & Schneider, 1801)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์[3]
ชื่อพ้อง
  • Raja africana Bloch & Schneider, 1801
  • Raja asperrima Bloch & Schneider, 1801
  • Urogymnus asperrimus solanderi Whitley, 1939
  • Urogymnus rhombeus Klunzinger, 1871

ปลากระเบนขนุน (อังกฤษ: Porcupine ray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Urogymnus asperrimus) ปลากระดูกอ่อนทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) โดยจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่จัดอยู่ในสกุลนี้[2]

โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้น คำว่า Urogymnus ที่ใช้เป็นชื่อสกุลนั้น แปลงมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า oura หมายถึง "หาง" และ gymnos หมายถึง "เปลือย" อันหมายถึง โคนหางของปลากระเบนชนิดนี้ไม่มีเงี่ยงแข็งที่ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว[4]เหมือนปลากระเบนธงชนิดอื่น ๆ โดยดั้งเดิมนั้นชื่อสกุลใช้ชื่อว่า Gymnura ซึ่งปัจจุบันนี้จะหมายถึง ปลากระเบนผีเสื้อ[5] ส่วนคำว่า asperrimus หรือ africana ที่เป็นชื่อพ้อง หมายถึง "ทวีปแอฟริกา"[6][7]

ขณะที่ชื่อสามัญในภาษาไทยนั้น เนื่องจากด้านหลังตลอดจนถึงหางของปลากระเบนขนุน จะเป็นตุ่มหนามสาก ๆ คล้ายเม็ดขนุนขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งตุ่มหนามนั้นมีพิษรุนแรงและเมื่อไปติดกับอวนของชาวประมง จะทำให้มีความยุ่งยากมากในการแก้ออกหากจะนำมาปรุงเป็นอาหาร[8]

ภาพวาด
ส่วนหางที่เป็นตุ่มหนาม

ปลากระเบนขนุน จัดเป็นปลากระเบนธงเพียงไม่กี่ชนิด ที่บริเวณโคนหางไม่มีเงี่ยงแข็ง[9] ด้านหลังมีสีขาว มีความยาวของลำตัวประมาณ 1 ฟุต และอาจยาวได้ถึง 2.2 เมตร (7.2 ฟุต) แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 1.5 เมตร (4.9 ฟุต[10][11] )

มีพฤติกรรมหากินตามพื้นทะเลที่เป็นพื้นทรายเหมือนปลากระเบนทั่วไป โดยจะพบในแหล่งที่มีสภาพนิเวศที่สมบูรณ์ พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ตลอดทั่วทั้งทวีปเอเชีย เช่น อ่าวเบงกอล และศรีลังกา ไปจนถึงคาบสมุทรอาระเบียจนถึงแอฟริกาใต้, เซเชลส์ โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง หรือดงหญ้าทะเลหรือสาหร่าย และอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อย[3]

สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาที่หายาก ในช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 มีรานงานพบตัวหนึ่ง มีความกว้างของลำตัวประมาณ 1 ฟุต และความยาวจนถึงหางประมาณ 80 เซนติเมตร ที่จุดดำน้ำในเขตจังหวัดกระบี่ ที่เกาะปิดะนอก ในหมู่เกาะพีพี[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Urogymnus asperrimus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4. 2005. สืบค้นเมื่อ {{{downloaded}}}. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. 2.0 2.1 "จาก ITIS.gov (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-23.
  3. 3.0 3.1 Last, P.R.; Stevens, J.D. (2009). Sharks and Rays of Australia (second ed.). Harvard University Press. pp. 461–462. ISBN 0-674-03411-2.
  4. Hunter, R. (1895). Lloyd's Encyclopædic Dictionary. p. 387.
  5. Urogymnus เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in: Eschmeyer, W.N.; Fricke, R., eds. Catalog of Fishes electronic version (29 March 2011).
  6. asperrima, Raja เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in: Eschmeyer, W.N.; Fricke, R., eds. Catalog of Fishes electronic version (29 March 2011).
  7. Randall, J.E.; Hoover, J.P. (1995). Coastal fishes of Oman. University of Hawaii Press. p. 47. ISBN 0-8248-1808-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "ระบบนิเวศยังดี! พบกระเบนขนุน พันธุ์หายาก ทะเลกระบี่". ไทยรัฐ. 16 March 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
  9. Last, P.R.; Stevens, J.D. (2009). Sharks and Rays of Australia (second ed.). Harvard University Press. pp. 461–462. ISBN 0-674-03411-2.
  10. Hennemann, R.M. (2001). Sharks & Rays: Elasmobranch Guide of the World (second ed.). IKAN - Unterwasserarchiv. p. 260. ISBN 3-925919-33-3.
  11. Bonfil, R.; Abdallah, M. (2004). FAO species identification guide for fishery purposes: Field identification guide to the sharks and rays of the Red Sea and Gulf of Aden. Food and Agriculture Organization of the United Nations. p. 52. ISBN 92-5-105045-7.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Urogymnus asperrimus ที่วิกิสปีชีส์