ปลากระเบนธง
ปลากระเบนธง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสตอนต้น-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลากระเบนโปลกาด๊อท (Potamotrygon leopoldi) เป็นปลากระเบนธงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Potamotrygonidae อาศัยอยู่ในน้ำจืดของทวีปอเมริกาใต้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[2] | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Myliobatiformes |
อันดับย่อย: | Myliobatoidei |
วงศ์ | |
ปลากระเบนธง (อังกฤษ: Stingray) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกปลากระเบนจำพวกหนึ่ง อยู่ในอันดับย่อย Myliobatoidei ในอันดับ Myliobatiformes ประกอบไปด้วย 8 วงศ์ ได้แก่ Hexatrygonidae (ปลากระเบนหกเหงือก), Plesiobatidae (ปลากระเบนน้ำลึก), Urolophidae (ปลากระเบนกลม), Urotrygonidae (ปลากระเบนกลมอเมริกัน), Dasyatidae (ปลากระเบนธง), Potamotrygonidae (ปลากระเบนแม่น้ำ หรือ ปลากระเบนหางสั้น), Gymnuridae (ปลากระเบนผีเสื้อ) และ Myliobatidae (ปลากระเบนนก หรือ ปลากระเบนยี่สน[1][3])
ลักษณะเด่นของปลากระเบนในกลุ่มนี้ คือ ที่บริเวณโคนหรือกึ่งกลางหางจะมีเงี่ยงแหลมยาว 1-2 ชิ้น ที่ใช้เป็นอาวุธทิ่มแทงศัตรูที่มารังควาญได้ โดยอาจมีความยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร (14 นิ้ว) และมีสารเคมีที่มีความเป็นพิษเคลือบอยู่ ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารโปรตีน ที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ผู้ที่โดนแทงเกิดความเจ็บปวด ในปลากระเบนขนาดใหญ่จะออกฤทธิ์คล้ายพิษของงูกะปะ ซึ่งหากโดนแทงเข้าอย่างจังหรือโดนจุดสำคัญ อาจทำให้เสียชีวิตได้[4][5][6]
เงี่ยงแหลมดังกล่าวจะมีในปลากระเบนทุกสกุล ทุกชนิด ยกเว้นปลากระเบนแมนตา และปลากระเบนขนุน เท่านั้นที่ไม่มีเงี่ยงแหลมดังกล่าว[7] ซึ่งเงี่ยงอันนี้สามารถที่จะหลุดไปได้ เมื่อปลามีอายุเพิ่มมากขึ้นหรือจากสาเหตุอื่น ๆ แต่ก็สามารถงอกใหม่ทดแทนได้ [2]
ปลากระเบนธงพบกระจายพันธุ์อยู่ในน่านน้ำในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก พบได้ทั้งในทะเล, มหาสมุทร, น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยกินปลาขนาดเล็ก, หอย ทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา รวมถึงกุ้งเป็นอาหาร[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Nelson, J.S. (2006). Fishes of the World (fourth ed.). John Wiley. pp. 76–82. ISBN 0-471-25031-7.
- ↑ 2.0 2.1 "เกษตรสเปเชียล : ปลากระเบน". ช่อง 7. 31 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-28. สืบค้นเมื่อ 13 September 2014.
- ↑ Helfman, G.S., B.B. Collette and D.E. Facey (1997). The Diversity of Fishes. Blackwell Science. p. 180. ISBN 978-0-86542-256-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Ternay, A. "Dangerous and Venomous Aquarium Fish" (PDF). fishchannel.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-22. สืบค้นเมื่อ 2014-09-13.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Meyer, P. (1997). "Stingray injuries". Wilderness Environ Med. 8 (1): 24–8. doi:10.1580/1080-6032(1997)008[0024:SI]2.3.CO;2. PMID 11990133.
- ↑ "บางอ้อ ตอน ล่าสัตว์ประหลาดลุ่มแม่น้ำแม่กลอง". เอ็มไทย. 26 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 September 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Last, P.R.; Stevens, J.D. (2009). Sharks and Rays of Australia (second ed.). Harvard University Press. pp. 461–462. ISBN 0-674-03411-2.
- ↑ "What Do Animals Eat?". What Do Animals Eat?. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ July 11, 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)