ข้ามไปเนื้อหา

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เป็นประเพณีที่ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร่วมมือกันจัดขึ้นในวันแรมสิบห้าค่ำเดือนสิบ ซึ่งประวัติความเป็นมาของประเพณีอุ้มพระดำน้ำก็คือ เมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมีอาชีพหาปลาขาย และได้ไปหาปลาที่แม่น้ำป่าสักเป็นประจำทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งก็ได้เกิดเรื่องที่ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า เกิดอะไรขึ้นเพราะวันนั้น ไม่มีใครจับปลาได้สักตัว จากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้นตรงบริเวณ วังมะขามแฟบ (ไม้ระกำ) ซึ่งปกติบริเวณนี้น้ำจะไหลเชี่ยวมาก จู่ ๆ น้ำก็หยุดไหล และมีพรายน้ำผุดขึ้นมาพร้อมกับพระพุทธรูป ชาวบ้านจึงอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ขึ้นจากน้ำและนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ จนกระทั่งถึงวันสารทไทยหรือ วันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ พระพุทธรูปองค์ดังกล่าว (พระพุทธมหาธรรมราชา) ก็ได้หายไปจากวัด ชาวบ้านจึงช่วยกันตามหาและพบพระพุทธรูป อยู่บริเวณวังมะขามแฟบ จากนั้นเป็นต้นมา พอถึงวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็จะจัดงานซึ่งเรียกว่า “อุ้มพระดำน้ำ”[1] ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ฤทธิ์พงษ์ อำพัน/เอกสิทธิ์ ต่อวัฒนบุญ. ตื่นตา!ประเพณีหนึ่งเดียวในโลก อุ้มพระดำน้ำสืบสานวัฒนธรรมดีงาม. เดลินิวส์. ฉบับที่ 23,360. วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 ISSN 16860004. หน้า 16