ประกาศการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและประเทศเครือจักรภพจากการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในช่วงบ่ายของวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 (เวลาฤดูร้อนของอังกฤษ) การสืบราชสันตติวงศ์เกิดขึ้นทันที อดีตเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 น. (เวลาฤดูร้อนของอังกฤษ) ในวันนั้นสภาการขึ้นครองราชย์ได้รวมตัวกันที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในลอนดอน[1][2]
สหราชอาณาจักร
[แก้]การประกาศเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 น. (เวลาฤดูร้อนของอังกฤษ) หรือ 16.00 น. ตามเวลาในประเทศไทยที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในลอนดอน แม้ว่าสมาชิกของคณะองคมนตรีทั้งหมด 700 คนจะมีสิทธิ์เข้าร่วม แต่ก็มีสมาชิกเพียง 200 คนเท่านั้นที่ได้รับเชิญ[3]
ก่อนที่องค์กษัตริย์จะเสด็จมา เจ้าพนักงานได้อ่านคำประกาศการขึ้นครองราชย์ ซึ่งรวมถึงพระนามของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3[3] คำประกาศดังกล่าวลงนามโดยสมเด็จพระราชินีคามิลลา เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ประธานสภาขุนนาง อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก และนายกรัฐมนตรี[3] จากนั้นประธานองคมนตรีก็ประกาศต่อสาธารณะและมีการยิงสลุตที่ไฮด์พาร์คและหอคอยแห่งลอนดอน สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ได้เข้าร่วมในส่วนที่สอง โดยมีคณะองคมนตรีเข้าร่วมเท่านั้น และได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการสวรรคตของพระราชมารดา[3] พระองค์สาบานที่จะรักษาความเป็นอิสระของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ซึ่งได้รับการยืนยันโดยการลงพระนามในเอกสาร 2 ฉบับขณะที่สมเด็จพระราชินีและเจ้าชายแห่งเวลส์เป็นพยานในการลงพระนามของพระองค์[3] เมื่อสิ้นสุดพิธี องคมนตรีได้ลงนามในประกาศดังกล่าว[3]
สภาการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 เป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และสตรีมออนไลน์[4][5] เวลา 11.00 น. (เวลาฤดูร้อนของอังกฤษ) หรือ 17.00 น. ตามเวลาในไทย มีการยิงสลุตจำนวน 21 นัดที่หอคอยแห่งลอนดอน ปราสาทคาร์ดิฟฟ์ ปราสาทเอดินบะระ ปราสาทคอร์เนต ยิบรอลตาร์ และฐานทัพเรือ เพื่อแสดงถึงการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3[6][7][8] หลังพิธีประกาศ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ทรงออกต้อนรับฝูงชนนอกพระราชวังบักกิงแฮม[9]
รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรประชุมกันเป็นสมัยพิเศษ โดยสมาชิกรัฐสภาสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อกษัตริย์องค์ใหม่ และแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2[10] กิจกรรมของรัฐสภาส่วนใหญ่ถูกระงับเป็นเวลา 10 วัน เวลา 15.30 น. หรือ 21.30 น. ตามเวลาในไทย สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 มีพระบรมราชานุญาตให้ ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้า ฯ[11] ในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือออกประกาศการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3[11][12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Accession Council". Privy Council. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2016. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ Knight, Sam (16 March 2017). "Operation London Bridge: the secret plan for the days after the Queen's death". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Lee, Joseph (10 September 2022). "Charles III to be proclaimed king at historic ceremony". BBC News. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ Forrest, Adam (10 September 2022). "What is Accession Council? King Charles's proclamation ceremony to be televised live". The Independent.
- ↑ "Charles III is proclaimed king in TV first". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Colchester: Formal 21-gun salute marks Proclamation of the King". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Gun salute in Guernsey marks proclamation of King". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "King Charles III: Hillsborough gun salute marks King Charles's proclamation". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Charles III greets crowds after proclamation ceremony". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Senior MPs take oath of allegiance to King Charles". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ 11.0 11.1 Wickham, Alex (3 September 2021). "Britain's plan for when Queen Elizabeth II dies". Politico. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2021. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Accession Council and Principal Proclamation". Royal.uk. The Royal Household. สืบค้นเมื่อ 9 Sep 2022.