บีทีอาร์-3
หน้าตา
บีทีอาร์-3 (BTR-3) เป็นรถลำเลียงพลหุ้มเกราะแบบล้อยาง ขนาด 8×8 ล้อ ผลิตโดยบริษัท Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau (KMDB) จากประเทศยูเครน ได้รับการออกแบบโดยบริษัท ADCOM Manufacturing จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปัจจุบันมีประจำการอยู่ใน อาเซอร์ไบจาน ชาด คาซัคสถาน กองทัพพม่า[1] สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[2] กองทัพบกไทย[3] และไนจีเรีย[2]
ตัวรถมีน้ำหนัก 16.4 ตัน บรรทุกพลขับ 3 นาย และลำเลียงพลอีก 6 นาย ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Deutz AG ขนาด 326 แรงม้าของเยอรมนี สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาวุธหลักประกอบด้วยปืนใหญ่ขนาด 30 มม. และปืนกลขนาด 7.62 มม. รถลำเลียงพลบีทีอาร์-3 เป็นพาหนะสะเทินน้ำสะเทินบก สามารถลอยน้ำและขับเคลื่อนด้วยเครื่องพ่นน้ำที่ติดตั้งอยู่ด้านท้าย
คุณสมบัติของรถเกราะล้อยาง BTR-3E1
[แก้]- ยานเกราะล้อยาง (8x8) แบบ BTR-3E1
- 1.1 ระบบอาวุธ
- 1.1.1 ป.อัตโนมัติ ขนาด 30 มม. แบบ ZTM-1 จำนวน 1 กระบอก ติดตั้งที่ป้อมปืนด้านบนตัวรถ พร้อมกระสุนจำนวน 350 นัด ซึ่งมีอัตราการยิง 330 นัด/นาที โดยมีระยะยิงหวังผลทางภาคพื้น ที่ระยะ 4,000 ม. และทางอากาศ ที่ระยะ 2,000 ม.
- 1.1.2 ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง แบบ BARRIER (BARRIER ANTI- TANK MISSILE SYSTEM: BARRIER ATMS) นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ (LASER BEAM) พร้อมลูกจรวด จำนวน 4 ลูก ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ 5,500 ม.
- 1.1.3 ค.อัตโนมัติ ขนาด 30 ม. แบบ AG-17 หรือ AGS-17 (30 mm AUTOMATIC GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดยิง จำนวน 29 นัด (เพิ่มอีก 87ลูก ที่บรรทุกสำรอง) ซึ่งใช้หวังผล ที่ระยะ 1,700 ม.
- 1.1.4 ปก.ขนาด 7.62 มม. (7.62 mm MACHINE GUN) แบบ KT-7.62 (PKT) กระสุนพร้อมใช้ 350 นัด กระสุนทั้งหมดจำนวน 2,500 นัด ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ 1,500 ม.
- 1.1.5 เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด 81 มม. (81 mm SMOKE GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดควัน จำนวน 6 นัด
- 1.2 เครื่องยนต์ดีเซลแบบ UTD-20 ขนาด 300 แรงม้า
- 1.3 เครื่องเปลี่ยนความเร็วแบบ ทางกล (MACHANICAL)
- 1.4 ระบบพยุงตัวรถ แบบอิสระ (INDEPENDENT)
- 1.5 ยางล้อแบบ RUN FLAT สามารถควบคุมการเติมลมได้ในขณะขับเคลื่อน
- 1.6 น้ำหนักรถ 16.4 ตัน
- 1.7 กำลังขับเคลื่อน 18.8 แรงม้า/ตัน
- 1.8 ความเร็วสูงสุด บนถนน 85 กม./ชม.
ในน้ำ 8-10 กม./ชม.
- 1.9 ความเร็วต่ำสุด 5 กม./ชม.
- 1.10 ระบบปฏิบัติการ บนถนน 600 กม.
ในภูมิประเทศ 350 กม.
- 1.11 อุณหภูมิการใช้งาน ตั้งแต่ – 400C ถึง +55 0C
- 1.12 ข้ามเครื่องกีดขวาง ขนาดความสูง 0.5 ม.
- 1.13 ข้ามคูดักรถถัง ขนาดความกว้าง 2 ม.
- 1.14 ไต่ลาดชัน 300
- 1.15 การไต่ลาดเอียง 250
- 1.16 ระบบเครื่องควบคุมการยิง ประกอบด้วย
- 1.16.1 ระบบรักษาการทรงตัวของปืน (STABILIZER)
- 1.16.2 ระบบติดตามเป้าหมาย (TRACK SIGHTING SYSTEM) แบบกล้องทีวีกลางวัน/กลางคืน พร้อมกล้องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (TV DAY & NIGHT WITH INTEGRATED LASER RANGE FINDER)
- 1.16.3 ระบบกล้องตรวจการณ์ แบบมองรอบทิศทาง (PANORAMIC OBSERVATION SYSTEM)
- 1.17 อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ดังนี้
- 1.17.1 กว้าน ขนาดแรงดึง 6 ตัน
- 1.17.2 เครื่องดับเพลิงอัตโนมัติ
- 1.17.3 ระบบกรองอากาศ แบบ FULL FLOW FILTER
- 1.17.4 ระบบทำความเย็น (AIRCONDITION) ขนาด 10 กิโลวัตต์
- 1.17.5 ระบบให้ความร้อน (HEATER) ขนาด 18 กิโลวัตต์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.amnesty-eu.org/static/documents/Final_Germany_Burma_China.rtf
- ↑ 2.0 2.1 "UNITED NATIONS - Office for Disarmament Affairs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-04.
- ↑ Украина выиграла тендер на поставку 200 танков «Оплот» в Таиланд Segodnya.ua]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- BTR-3U Armoured Personnel Carrier เก็บถาวร 2011-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at KMDB
- UN register of conventional arms เก็บถาวร 2008-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน