บันไซชาร์จ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพพิมพ์แกะไม้แบบญี่ปุ่นที่แสดงภาพทหารราบในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

บันไซชาร์จ (อังกฤษ: Banzai charge) หรือ บันไซแอทแทก (Banzai attack; ญี่ปุ่น: バンザイ突撃 หรือ 万歳突撃, อักษรโรมัน: banzai totsugeki) เป็นคำศัพท์ที่ใช้กันในกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่กล่าวอ้างอิงถึงการโจมตีแบบตะลุมบอนของญี่ปุ่นที่ดำเนินโดยหน่วยทหาร[1][2] คำศัพท์นี้มาจากเสียงร้องตะโกนของญี่ปุ่นว่า "เท็นโนเฮกะบันไซ" (ญี่ปุ่น: 天皇陛下万歳โรมาจิtennōheika banzai, แปลว่า "องค์จักรพรรดิทรงพระเจริญหมื่นปี หมื่นปี หมื่น ๆ ปี") คำย่อว่า บันไซ หมายถึง ยุทธวิธีที่ใช้โดยทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามแปซิฟิก ซึ่งทหารญี่ปุ่นจะใช้ดาบปลายปืน ดาบ และอาวุธระยะประชิดต่างๆในการตะลุมบอน

การตะลุมบอนด้วย "บันไซ" สร้างความเสียหายทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ทหารญี่ปุ่นจะถูกยิงสกัดด้วยปืนที่มีประสิทธิภาพอย่างปืน BAR หรือ Colt1911 หรือปืนลูกซอง แต่ถ้าหากทหารญี่ปุ่นเข้าประชิดตัวได้ ทหารญี่ปุ่นจะใช้อาวุธระยะประชิดสังหารเป้าหมายอย่างรวดเร็ว โดยสามารถสังหารได้ 2-3 คนก่อนที่จะตายด้วยพิษบาดแผลจากการถูกยิง

จุดเริ่มต้น[แก้]

การคว้านทองของไซโก ทากาโมริ เป็นแรงบันดาลใจให้รัฐบาลญี่ปุ่น นำมาใช้ว่าเป็นการกระทำสุดท้ายที่มีเกียรติ

บันไซ ชาร์จ ถือเป็นวิธีหนึ่งของเกียวคุไซ (玉砕, "อัญมณีที่แตกเป็นเสี่ยงๆ"; การฆ่าตัวตายอย่างมีเกียรติ) เป็นการฆ่าตัวตายก่อนที่จะถูกศัตรูจับ เช่นเดียวกับการคว้านท้อง[3] ที่มาของคำนี้เป็นวลีภาษาจีนคลาสสิกในหนังสือของราชวงศ์ฉีเหนือในศตวรรษที่ 7 ว่า "丈夫玉碎恥甎全", "ชายชาติที่แท้จักยอมเป็นอัญมณีที่แตกเป็นเสี่ยงๆ ดีกว่าเป็นแผ่นกระเบื้องที่คงทน"[4] ซึ่งเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ข้อที่รัฐบาลทหารญี่ปุ่นยึดใช้เป็นจรรยาบรรณ

ด้วยการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในการฟื้นฟูเมจิและการทำสงครามกับจีนและรัสเซียบ่อยครั้ง รัฐบาลทหารของญี่ปุ่นได้นำแนวคิดของบูชิโดมาใช้ให้ประชากรของประเทศเชื่อฟังจักรพรรดิอย่างมีอุดมการณ์ ด้วยความประทับใจในวิถีซามูไรที่ถูกฝึกให้ฆ่าตัวตายก่อนความอัปยศอดสูครั้งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น รัฐบาลจึงสอนทหารว่าการยอมจำนนต่อศัตรูเป็นความอัปยศอดสูมากกว่าการตาย การฆ่าตัวตายของ ไซโก ทากาโมริ ผู้นำของซามูไรในยุคฟื้นฟูเมจิ ยังเป็นแรงบันดาลใจให้อุดมคติและจำลองความตายในสนามรบให้น่าชื่นชม และถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นการกระทำสุดท้ายที่มีเกียรติ[5]

ในระหว่างการปิดล้อมพอร์ตอาร์เทอร์ ญี่ปุ่นดำเนินการโจมตีด้วยคลื่นมนุษย์ต่อปืนใหญ่และปืนกลของรัสเซีย ซึ่งจบลงด้วยการฆ่าตัวตาย[6] เนื่องจากทหารญี่ปุ่นได้รับบาดเจ็บจำนวนมากในการโจมตีครั้งนั้น[7] คำอธิบายหนึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตามมาก็คือ "มีซากศพจำนวนมากปกคลุมปกคลุมพื้นดินที่หนาวเย็น เหมือนดังผ้าคลุม"[8]

ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ทหารญี่ปุ่นพบว่าการโจมตีประเภทนี้ได้ผลในประเทศจีน จนมันกลายเป็นยุทธวิธีทางทหารที่ได้รับการยอมรับ เพราะแม้กองกำลังญี่ปุ่นที่น้อยกว่า สามารถใช้การฝึกที่เหนือกว่าและดาบปลายปืน เอาชนะกองกำลังของจีนที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ และทหารญี่ปุ่นที่นี่ไม่ต้องเผชิญกับอาวุธปืนกล แต่ต้องเผชิญกับปืนไรเฟิลจู่โจมของจีน ซึ่งไม่สามารถยิงได้เร็วเท่าปืนกล[9]

สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

ทหารญี่ปุ่นถวายความเคารพจักรพรรดิด้วยการตะโกนว่า "บันไซ" ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (พ.ศ. 2481)

ในช่วงสงคราม รัฐบาลทหารของญี่ปุ่นได้เผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อที่ทำให้การโจมตีด้วยการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่น่าชื่ชม โดยใช้หนึ่งในคุณธรรมของบูชิโดเป็นพื้นฐานในการรณรงค์ รัฐบาลญี่ปุ่นถือว่าสงครามนี้เป็นสงครามแห่งการชำระล้าง โดยกำหนดให้ความตายเป็นหน้าที่[10] ปลายปี พ.ศ. 2487 รัฐบาลได้ประกาศพิธีสารฉบับสุดท้าย ซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า อิชิโอคุ เกียวคุไซ (一億玉砕 แปลตรงตัวว่า "อัญมณีที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ 100 ล้านเม็ด") มีนัยถึงเจตจำนงในการเสียสละประชากรญี่ปุ่นทั้งหมด 100 ล้านคน หากจำเป็นในการต่อต้านกองกำลังฝ่ายตรงข้าม

มีการใช้อย่างกว้างขวางโดยทหารญี่ปุ่นในจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทหารจีนที่ไม่มีปืนกลหรืออาวุธอัตโนมัติ เพราะวิธีนี้มักจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเมื่อปะทะกับผู้ที่มีปืนกล[11]

ระหว่างการจู่โจมของสหรัฐฯ บนเกาะมาคิน เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2485 หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่โจมตีเกาะในตอนแรกได้สังหารพลปืนกลญี่ปุ่น จากนั้นฝ่ายป้องกันของญี่ปุ่นได้เปิดฉากการจู่โจมแบบบันไซด้วยดาบปลายปืนและดาบ แต่ก็ถูกขัดขวางโดยอำนาจการยิงของอเมริกา รูปแบบนี้ถูกทำซ้ำในการโจมตีครั้งต่อ ๆ มา โดยมีผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันคือถูกสกัดไว้ได้[12]

ทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เสียชีวิตบนสันทรายของห้วยจระเข้ (Alligator Creek) ในกัวดาลคาแนล หลังจากถูกสังหารโดยนาวิกโยธินสหรัฐระหว่างการรบที่เทนารุ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485

ในระหว่างการทัพกัวดัลคะแนล เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 พันเอก กิยานาโอะ อิชิกิ นำทหาร 800 นายเข้าโจมตีแนวรบของอเมริกาที่ปกป้องแฮนเดอร์สันฟิลด์ในสมรภูมิเทนารุ หลังจากการสู้รบขนาดเล็กในป่า กองทัพของอิจิกิก็ตั้งท่าบันไซเข้าใส่ศัตรู อย่างไรก็ตาม ในการต่อต้านแนวป้องกันของอเมริกา ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถูกสังหาร และต่อมา อิชิกิก็ได้ฆ่าตัวตาย[13]

ในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ระหว่างการรบที่อาตตุ ทหารญี่ปุ่นที่ประสบความยากลำบากซึ่งนำโดยพันเอก ยาสุโยะ ยามาซากิ บนเกาะอาตตุ รัฐอะแลสกา ได้ทำการบุกโจมตีบันไซชาร์จครั้งใหญ่ผ่านแนวรบของอเมริกาใกล้กับอ่าวแมสซาเคร แม้จะมีการสู้รบที่รุนแรง แต่กองทัพญี่ปุ่นก็ถูกกวาดล้างอย่างรวดเร็ว ในตอนท้ายของการสู้รบ กองกำลังญี่ปุ่นเหลือเพียง 28 นายซึ่งแต่เดิมมีจำนวนประมาณ 2,600 นาย ในขณะที่ฝ่ายอเมริกันสูญเสียกำลังรบไป 549 นายจากทั้งหมด 15,000 นาย[14]

การบันไซชาร์จที่ใหญ่ที่สุดในสงครามครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างการรบที่ไซปัน นายพล โยชิสึกุ ซาโต้ รวบรวมทหารญี่ปุ่นเกือบ 4,300 นาย ที่ได้รับบาดเจ็บขณะเดินทาง และพลเรือนบางส่วนซึ่งไม่มีอาวุธจำนวนมาก และออกคำสั่งในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 ให้เข้าปะทะกับกองพันที่ 1 และ 2 ของกรมทหารราบที่ 105 ซึ่งสูญเสียกำลังพลไปเกือบ 2,000 นาย[15]ในการสู้รบระยะประชิด 15 ชั่วโมง ในที่สุดการโจมตีก็ถูกขับไล่ และทหารญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดที่เข้าร่วมปฏิบัติการก็ถูกสังหาร

ระหว่างการรุกรานแมนจูเรียของโซเวียต ขณะที่กองทัพธงแดงที่ 1 บุกมูตันเชียง กองทัพที่ 5 ของโซเวียตทางใต้ยังคงรุกคืบไปทางตะวันตก โอบล้อมและทำลายกรมทหารราบที่ 278 ของญี่ปุ่น ซึ่งผู้รอดชีวิตได้ตั้งกองกำลังบันไซชาร์จครั้งสุดท้ายดีกว่ายอมแพ้[16] ในตอนท้ายของวัน เมืองมูตันเชียงทั้งหมดได้ตกอยู่ในมือของโซเวียต และการต่อสู้ก็สิ้นสุดลง[17] หลังจากนั้นไม่นาน กองกำลังหลักของกองทัพกวางตุ้งก็วางอาวุธยอมจำนนตามคำสั่งของจักรพรรดิว่ายุทธการที่มูตันเชียงและสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงแล้ว

ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นบางคน เช่น นายพลทาดามิจิ คูริบายาชิ ได้สั่งห้ามไม่ให้คนของตนกระทำการบันไซชาร์จ อันที่จริง ชาวอเมริกันประหลาดใจที่ญี่ปุ่นไม่ได้ใช้บันไซชาร์จในสมรภูมิอิโวจิมา[18][19]

อ้างอิง[แก้]

  1. Godbey, Holly (2017-09-05). "Banzai Cliff, The Site of Hundreds of Suicides at the End of the Battle of Saipan". warhistoryonline (ภาษาอังกฤษ).
  2. "One final push – DW – 04/19/2016". dw.com (ภาษาอังกฤษ).
  3. "Gyokusai or "Shattering like a Jewel": Reflection on the Pacific War". The Asia-Pacific Journal: Japan Focus.
  4. "Chinese Notes". chinesenotes.com.
  5. Hoffman, Michael (2016-12-10). "Meiji Restoration leader's lessons of sincerity". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. Miller, John H. (2014-04-02). American Political and Cultural Perspectives on Japan: From Perry to Obama (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. ISBN 978-0-7391-8913-9.
  7. Edgerton, Robert B. (1997). Warriors of the rising sun : a history of the Japanese military. Internet Archive. New York : Norton. ISBN 978-0-393-04085-2.
  8. O'Connell, Robert L. (2002). Soul of the Sword: An Illustrated History of Weaponry and Warfare from Prehistory to the Present (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 978-0-684-84407-7.
  9. Carmichael, Cathie; Maguire, Richard C. (2015-05-01). The Routledge History of Genocide (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-317-51484-8.
  10. "BBC - History - World Wars: Japan: No Surrender in World War Two". www.bbc.co.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  11. Carmichael, Cathie; Maguire, Richard C. (2015-05-01). The Routledge History of Genocide (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-317-51484-8.
  12. Hard Corps: Legends of the Marine Corps (ภาษาอังกฤษ). S&b Publishing. 2004-11-10. ISBN 978-0-9745793-5-1.
  13. "The Battle of Guadalcanal". History Learning Site (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  14. "Battle of Attu: 60 Years Later (U.S. National Park Service)". www.nps.gov (ภาษาอังกฤษ).
  15. Harold Goldberg, D-Day in the Pacific: The Battle of Saipan, Indiana University Press, 2007. pp. 167–194
  16. "Banzai charge", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2023-07-07, สืบค้นเมื่อ 2023-07-10
  17. "Banzai charge", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2023-07-07, สืบค้นเมื่อ 2023-07-10
  18. "The History Press", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2023-06-23, สืบค้นเมื่อ 2023-07-10
  19. According to military historian Shigetoki Hosoki, "This writer was stunned to find the following comments in the 'Iwo Jima Report,' a collection of memoirs by Iwo Jima survivors. 'The men we saw weighed no more than thirty kilos and did not look human. Nonetheless, these emaciated soldiers who looked like they came from Mars faced the enemy with a force that could not be believed. I sensed a high morale.' Even under such circumstances, the underground shelters that the Japanese built proved advantageous for a while. Enemy mortar and bombing could not reach them ten meters underground. It was then that the Americans began to dig holes and poured yellow phosphorus gas into the ground. Their infantry was also burning its way through passages, slowly but surely, at the rate of ten meters per hour. A telegram has been preserved which says, 'This is like killing cockroaches.' American troops made daily advances to the north. On the evening of 16 March, they reported that they had completely occupied the island of Iwo Jima."Picture Letters from the Commander-in-Chief, p. 237.

ข้อมูล[แก้]

  • Glantz, David (June 1983). August Storm: Soviet Tactical and Operational Combat in Manchuria, 1945. Fort Leavenworth: Combat Studies Institute, US Army Command and General Staff College.